พาณิชย์เผยจดทะเบียนธุรกิจเพิ่ม16% ชี้ญี่ปุ่นยังครองแชมป์ลงทุนในไทย

22 พ.ค. 2562 | 07:56 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยยอดจดทะเบียนธุรกิจ ประจำเดือน เม.ย. 2562 ว่า เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ทั่วประเทศ รวม 5,944 ราย เพิ่มขึ้น 824 ราย หรือเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา สำหรับมูลค่าลงทุนเดือนเม.ย. มียอดรวมทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท ลดลง 2,840    ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.62 ที่มียอดรวม 17,840 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 16 % และลดลง 59% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.ปี 61 ที่มียอดรวม 21,362 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 59%   ประเภทธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจภัตตาคารร้านอาหาร

ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสม ในช่วง 4 เดือนแรกปี 62 (ม.ค.ถึงเม.ย.) มีจำนวน 26,694 ราย เพิ่มขึ้น 1,525 ราย หรือเพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสมรวม 25,169 รายด้านมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสม 4 เดือนแรกปีนี้ มียอดรวม 67,391 ล้านบาท ลดลง 29,802 ล้านบาท ลดลงคิดเป็น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดรวม 97,193 ล้านบาท    ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนเม.ย.62 มีจำนวน 985 ราย ลดลง 90 รายหรือลดลง 8% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.62 ที่มียอดเลิกกิจการรวม 1,075 ราย และเมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.61 การเลิกประกอบการเพิ่มขึ้น 109 ราย หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น24% สำหรับธุรกิจเลิกประกอบการสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าสลาก

ด้านมูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบการ เดือนเม.ย.62 มีจำนวน 3,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 828 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 28% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.61 ที่มีมูลค่าเลิกประกอบการรวม 3,002 ล้านบาท แต่ลดลงลดลงคิดเป็น51% หรือลดลงจำนวน 4,063 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. 61 ที่มียอดเลิกประกอบการรวมมูลค่ารวม 7,893 ล้านบาท  ทั้งนี้ยอดเลิกธุรกิจสะสมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.ถึงเม.ย.) มีจำนวน 4,273 ราย เพิ่มขึ้น 390 ราย เพิ่มขึ้นคิดเป็น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดเลิกกิจการสะสม 3,883 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมรวม13,825 ล้านบาท ลดลง 12,585 ล้านบาท คิดเป็น 48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดรวม 26,410 ล้านบาท  ขณะที่ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (เม.ย.62) มีจำนวน 734,983 ราย มูลค่าทุน 16.63 ล้านล้านบาท

สำหรับแนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจจากการประเมินอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ ทิศทางการประกอบธุรกิจรวมถึงแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามฤดูกาล คาดว่า ในเดือนพ.ค.62 จะมีการจัดตั้งธุรกิจเพิ่มจากเดือนเม.ย.62 และจะมียอดสะสมในช่วง ม.ค.ถึง พ.ค.ไม่น้อยกว่า 32,000 ราย  ในเดือนเม.ย.62 มีการอนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจรวม 38 ราย ลดลงจากเดือนมี.ค.62 จำนวน 17 ราย หรือลดลงคิดเป็น 31% เม็ดเงินลงทุน เม.ย. 62 มียอดรวม 9,891 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมี.ค.62 จำนวน 907 ล้านบาท นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนมากที่สุด 12 ราย เงินลงทุนกว่า 2,197 ล้านบาท รองลงมาคือ สิงคโปร์ 5 ราย เงินลงทุน 825 ล้านบาท และจีน 4 ราย เงินลงทุน 342 ล้านบาท

“ การขยายตัวของธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ธุรกิจดังกล่าวมีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 - 2561 และในปี 2562 (ม.ค.-เม.ย.) มีการขยายตัวของจานวนและทุนจดทะเบียน 1.32 เท่า และ 1.16 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2561 ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้รวมของกลุ่มธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของในปี 2558-25560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 29.10% ต่อปี โดยธุรกิจขนาดกลาง (M) มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก ปี 2558 ถึง 2.37 เท่า โดยมีผลมาจากโอกาสขยายตลาดทางธุรกิจและสภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดและ พฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคเลือกซื้อและเข้าถึงสินค้าบริการที่ผลิตขึ้น ผ่านรูปแบบการขายไปยังผู้บริโภคโดยตรง หรือ Business to Customer (B2C) รวมทั้งสนองต่อการเติบโตของ ธุรกิจอีคอมเมิสร์ หรือค้าออนไลน์ ของประเทศในปี 2561 จะเติบโต อย่างต่อเนื่อง14.04%”

ทั้งนี้ การจัดตั้งธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของในปี 2561 มีจานวน 70 ราย เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับปี 2560 และในปี 2562 (ม.ค.- เม.ย.) มีจานวน 44 ราย เพิ่มขึ้น 1.32 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561