กนง.มีมติ4ต่อ3คงดอกเบี้ย1.5%ต่อปี

14 พ.ย. 2561 | 10:47 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กนง.มีมติ4ต่อ3คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%.ต่อปี ประเมินเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง จับตาปัจจัยชั่วคราว-มาตรการกีดกันทางการค้า-อัตราแลกเปลี่ยนใกล้ชิด

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมว่า มีมติ4ต่อ3เสียงคงดอกเบี้ยนโยบายที่1.5% ต่อปี โดยกรรมการส่วนใหญ่ 4 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ส่วนกรรมการ 3 เสียงเห็นว่าความต่อเนื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนเพียงพอและภาวะการเงินที่ผ่อนคลายมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการประเมินเศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าการส่งออกจะมีสัญญาณชะลอลงบ้างตามอุปสงค์ต่างประเทศทั้งผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และปัจจัยชั่วคราวโดยที่การท่องเที่ยวชะลอลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน
tit สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นตามความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ด้านอัตราแลกเปลี่ยนนับจากการประชุมครั้งก่อนเงินบาทเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับเงินสกุลภูมิภาค จากความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งคณะกรรมการเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

ขณะที่ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น(Search for Yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

สำหรับภาวะการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้รับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในระดับหนึ่งเมื่อมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลง นอกจากนี้คณะกรรมการติดตามพฤติกรรมก่อหนี้ของภาคครัวเรือนและความสามารถในการชำระหนี้ลดลงในภาคธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเชิงโครงสร้างและรูปแบบการทำธุรกิจ

595959859