‘สมคิด’ขนทัพบุกจีน บูมการค้า1.4แสนล.

02 พ.ย. 2561 | 05:38 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

พาณิชย์เสนอครม.รับทราบกรอบ JC ไทย-จีน ระดับรองนายกฯ ดันเป้าค้า 2 ฝ่าย 1.4 แสนล้านดอลล์ในปี 2564 ให้เป็นจริง พร้อมถกทบทวนความตกลงด้านการค้า ติดตามคืบหน้าดึงลงทุนลงอีอีซี ดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่-ท่องเที่ยวมาไทย 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบและเห็นชอบแล้วกับการยกระดับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีนที่จะมีการลงนามในระหว่างที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนจีน ระหว่างวันที่ 1-8 พฤศจิกายนนี้ โดยการไปครั้งนี้จะเป็นกรอบเจรจาระดับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งจะมีการหารือกับนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐของจีน ซึ่งจะมีการหยิบยกประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ระหว่างกันมาหารือ มีเป้าหมายจะขยายมูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนจากระดับ 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวภายในปี 2564

[caption id="attachment_339627" align="aligncenter" width="402"] สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์[/caption]

ทั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการมาเยือนของนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐของจีน ที่มาประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 6 ที่กรุงเทพฯ ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงที่จะเพิ่มเป้าหมายการค้า 2 ฝ่ายที่มูลค่าดังกล่าว ขณะที่การไปจีนครั้งนี้จะมีการทบทวนกรอบความตกลง JC ไทย-จีนในหลายเรื่อง เช่น การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมใหม่, การเงิน, การท่องเที่ยวว่าจะทำอย่างไรให้ได้ตามเป้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งไว้

[caption id="attachment_339638" align="aligncenter" width="413"] สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์[/caption]

“ในครั้งนี้จะมีเอ็มโอยูเพื่อยกระดับการลงนามขึ้นจากเดิมจะเป็นแค่ระดับรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ครั้งนี้จะเป็นระดับรองนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ฝ่ายซึ่งยังไม่เคยมีการลงนามในระดับนี้มาก่อน ดังนั้นในครั้งนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้จะมีการหารือและติดตามความคืบหน้าและอาจจะมีประเด็นอื่นๆ เสริมมาด้วย เช่น จะเน้นลงไปยังอุตสาหกรรมใดที่ทั้ง 2 ฝ่ายทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ ท่องเที่ยว อาหารเพื่ออนาคต การบินและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นการสานต่อจากที่จีนนำคณะกว่า 500 คนมาดูลู่ทางการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ทั้งนี้จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย และเป็นนักลงทุนอันดับ 3 ของไทย การยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตและกระจายสินค้าของจีนในอาเซียน”

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,414 วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2561 e-book-1-503x62-7