ผู้บริโภคอีอีซีปรับตัวสั่งซื้อผลไม้ออนไลน์

20 ต.ค. 2561 | 01:00 น.
สศก.เปิดผลศึกษาทุเรียน มังคุดอินทรีย์ เผยพฤติกรรมผู้บริโภคพื้นที่ตลาดอีอีซี ภาคตะวันออก มีทิศทางปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ชอบความสะดวกสบายในการจัดส่งถึงบ้าน

**ADVANCE FOR STORY THAILAND KILLING THE ECONOMY BY RUNGRAWEE C. PINYORAT**A worker stands atop a pile of durian fruit at a wholesale market in the Southern province of Yala Thursday, Aug. 18, 2005. The price of fruit in southern Thailand has plunged as merchants are afraid to come buy products in the Muslim-dominated restive provinces where violence has erupted since last year and claimed more than 900 lives.(AP Photo/Sakchai Lalit)

 

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก.ได้ศึกษาเรื่องการผลิต การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคทุเรียนและมังคุดอินทรีย์ในตลาดระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยผลการศึกษา พบว่า ด้านการผลิตทุเรียนอินทรีย์ ในระยะปรับเปลี่ยน (18 เดือนแรก) จังหวัดจันทบุรี มีต้นทุนรวมเฉลี่ยไร่ละ 20,807 บาท ให้ผลตอบแทนสุทธิ(กำไร) ไร่ละ 63,513 บาท จังหวัดตราด ต้นทุนรวมเฉลี่ยไร่ละ 20,237 บาท มีผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 22,055 บาท และจังหวัดระยอง ต้นทุนรวมเฉลี่ยไร่ละ 17,590 บาท ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 41,950 บาท มังคุดอินทรีย์ ในระยะปรับเปลี่ยน (18 เดือนแรก) จังหวัดตราด มีต้นทุนรวมเฉลี่ยไร่ละ 25,017 บาท ให้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ไร่ละ 33,752 บาท จังหวัดจันทบุรี ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 19,178 บาท ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 22,648 บาท และ จังหวัดระยอง ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 15,348 บาท ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 4,757 บาท ทั้งนี้ ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลผลิตต่อไร่ในแต่ละพื้นที่

ด้านการตลาด เกษตรกรที่ผลิตทุเรียนอินทรีย์ ส่วนใหญ่ขายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลางคิดเป็น 38% ของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทุเรียนอินทรีย์ สำหรับเกษตรกรผลิตมังคุดอินทรีย์ ส่วนใหญ่ขายผู้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปมังคุดอินทรีย์ คิดเป็น 29% ของผลผลิตและผลิตภัณฑ์มังคุดอินทรีย์

ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค มีแนวโน้มการตัดสินใจเลือกบริโภคผลไม้อินทรีย์มากถึง 97% และแนะนำให้ผู้อื่นซื้อผลไม้อินทรีย์ถึง 94% และต้องการให้มีการจำหน่ายผลไม้อินทรีย์ในตลาดเขต EEC ในรูปแบบสั่งจองล่วงหน้า (Pre order) และขายออนไลน์ส่งถึงผู้บริโภค

จากผลการศึกษา จะเห็นได้ว่าเกษตรกรที่ผลิตทุเรียนและมังคุดอินทรีย์ มีผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด EEC มีทิศทางปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ชอบความสะดวกสบายในการจัดส่งถึงบ้าน และมีความต้องการสนับสนุนการจัดมหกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยแนะนำให้จัดงานหมุนเวียนไปในแต่ละจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สู่ผู้บริโภค

หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,410 วันที่ 18-20 ตุลาคม 2561 090861-1927-9-335x503-3