“ปลัดแรงงาน”เผยคุณภาพชีวิตแรงงานประมงดีขึ้น

07 มี.ค. 2561 | 11:38 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กระทรวงแรงงาน จับมือ ILO และ EU เผยผลสำรวจแรงงานประมงและอาหารทะเล 434 ตัวอย่างใน 11 จังหวัดชายทะเล พบแรงงานได้รับค่าจ้างสูงขึ้น มีสัญญาจ้างชัดเจน การจ้างแรงงานอายุน้อยกว่า 18 ปีลดลงน้อยกว่าร้อยละ 1 เชื่อเป็นผลดีต่อแรงงาน พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานภาคประมงและอาหารทะเลสอดคล้องมาตรฐานสากล ตามนโยบายรัฐบาล

[caption id="attachment_266081" align="aligncenter" width="503"] นายจรินทร์ จักกะพาก นายจรินทร์ จักกะพาก[/caption]

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ‘งานเปิดตัวข้อค้นพบจากการศึกษาเส้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย’ ในการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามโครงการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล ครั้งที่ 6/2561 และ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น 1 โรงแรมสุโกศล โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยฉบับแรกที่ทำขึ้นในประเทศไทยครอบคลุมทั้งภาคประมง และอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ภายใต้กิจกรรม“โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง”(Ship to Shore Rights Project) เกิดจากความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทย โดยกระทรวงแรงงาน สหภาพยุโรป และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่จะป้องกันและลดรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปสัตว์น้ำของประเทศไทย โดยได้ดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม - เมษายน 2560 จากการสัมภาษณ์แรงงานประมงและเกี่ยวเนื่อง จำนวน 434 คน ใน 11 จังหวัดชายทะเล โดยการสำรวจครอบคลุมประเด็น การจัดหางาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ บริการสนับสนุน กลไกร้องทุกข์ และสภาพความเป็นอยู่ เป็นต้น สาระสำคัญการศึกษาพบว่า แรงงานประมงได้รับค่าจ้างสูงขึ้น มีสัญญาจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษร การจ้างงานแรงงานอายุน้อยกว่า 18 ปีมีน้อยกว่าร้อยละ 1

008 ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ข้อค้นพบจากการศึกษาเส้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย ที่ได้จัดทำขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกภาคส่วนที่จะเป็นข้อมูลสำคัญในการนำมาเป็นโจทย์วิเคราะห์แก้ไขปัญหา และเป็นข้อมูลสำหรับการวัดความก้าวหน้าในการดำเนินการได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานประมงและอาหารทะเลของประเทศไทย และการทำงานที่มีคุณค่า นำไปสู่การบรรลุการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบของสหประชาชาติ หรือ SDGs โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

009 “งานวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเล เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของทุกหุ้นส่วนภาคีในสังคม ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานในภาคประมงและอาหารทะเลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายสุด ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว