พาณิชย์ปรับเป้าเงินเฟ้อใหม่โต 0.7-1.7%

01 ก.พ. 2561 | 09:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

พาณิชย์ปรับเป้าเงินเฟ้อใหม่โต 0.7-1.7% จากค่าปรับเพิ่มค่าแรง-ศก.ดีขึ้น พร้อมทบทวนข้อมูลมาคำนวณใหม่ ส่วนเดือนม.ค. เงินเฟ้อ.พุ่ง 0.68% เหตุน้ำมัน-อาหารแพง

[caption id="attachment_255535" align="aligncenter" width="503"] น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร[/caption]

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า กระทรวงได้ปรับคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (อัตราเงินเฟ้อ) ปี 61 ใหม่จากเดิมขยายตัว 0.6-1.6% เป็น 0.7-1.7% มาจากการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศวันละ 5-22 บาทต่อวัน รวมถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยและโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น, ราคาน้ำมันและราคาสินค้าบางประเภทปรับเพิ่มความต้องการของผู้บริโภค

“อัตราค่ากลางเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.2% ภายใต้สมมุติฐานจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย 3.6-4.6% น้ำมันเชื้อเพลิง 55-65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนที่ 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และได้เพิ่มผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเข้าไปแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง”

สำหรับเงินเฟ้อ เดือน ม.ค.61 เท่ากับ 101.44 เพิ่มขึ้น 0.68% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงขึ้น 0.07% เทียบกับธ.ค. 60 มาจากสินค้าที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อ 422 รายการ พบว่า มีสินค้าราคาสูงขึ้น 129 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 37.39% ของน้ำหนักรวม เช่น มะนาว เพิ่ม 6.10% ซีอิ้ว เพิ่ม 1.05% กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม เพิ่ม 2.84% ข้าวผัดเพิ่ม 0.32% บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพิ่ม 0.19% อาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง เพิ่ม 0.16% อาหารตามสั่ง เพิ่ม 0.04% น้ำอัดลม เพิ่ม 0.40% น้ำยาล้างห้องน้ำ เพิ่ม 1.09% เบียร์ เพิ่ม 0.34% และสุรา เพิ่ม 0.08% เป็นต้น

728x90-03-3-503x62-3-503x62 ส่วนสินค้าราคาไม่เปลี่ยนแปลง 206 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 50.50% ของน้ำหนักรวม และสินค้าราคาลดลง 87 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 12.11% ของน้ำหนักรวม นอกจากนี้ สนค.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนการจัดทำเงินเฟ้อใหม่ โดยจะเน้นการปรับข้อมูลเงินเฟ้อใน 4 ประเด็น เช่น การทบทวนแหล่งข้อมูลจัดเก็บราคาสินค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยแหล่งจัดเก็บจะเพิ่มพื้นที่ในเมืองหลวง และหัวเมืองใหญ่มากขึ้น รวมทั้งตลาดใหม่ๆที่มีการจัดเก็บข้อมูลราคาสินค้า, ทบทวนจังหวัดตัวแทนจัดเก็บ ซึ่งปกติการจัดเก็บข้อมูลสินค้าดำเนินการทั้งประเทศ แต่นำมาใช้คำนวณในบางจังหวัดเท่านั้น

นอกจากนี้ยังปรับปรุงรายการสินค้าและบริการที่จะใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อ โดยเน้นชนิดสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น สินค้าเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และการเพิ่มน้ำหนักของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เข้ามาคำนวณในตะกร้าเงินเฟ้อด้วย เพราะปัจจุบันคนเริ่มให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าทางออนไลน์ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว