จี้ "ฉัตรชัย" เปลี่ยนตัว "ธีธัช" และบอร์ดล้มเหลวแก้ราคายางตกต่ำ

13 พ.ย. 2560 | 04:23 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ผู้สื่อข่าวรายงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันนี้ (13 พ.ย.60) นายมนัส บุญพัฒน์ ผู้ประสานงาน 15 เครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าวันนี้ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วหลังจากนั้นจะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เรื่อง ขอให้พิจารณาผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)และคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) พ้นจากหน้าที่ เนื่องจากตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางในนามกลุ่ม 15 ผู้แทนชาวสวนยางภาคใต้ มีข้อเคลือบแคลงสงสัยในการปฎิบัติหน้าที่ ว่า

chatti พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยปราศจากความรับผิดชอบรอบคอบด้วยจิตสำนึก ในการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางและรัฐวิสาหกิจการยางโดยแท้จริง ทั้งยังใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเสถียรภาพราคายาง ความเสียหายต่อสภาพคล่องในการซื้อขายยางพาราจริง การจัดการสต็อกยางพาราในโครงการ การสร้างแรงจูงใจเพื่อลดความเชื่อถือในตลาดยางพาราทั้งในและต่างประเทศ และการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มโดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้

1.การประกาศให้มีการประมูลยางในสต็อกรัฐบาล วันที่ 16 ธันวาคม 2559 และครั้งต่อๆมา โดยปล่อยให้เอกสารในการประกาศที่มีชื่อผู้ว่าการฯ ท้ายเอกสาร (ไม่ได้ลงนาม) เผยแพร่ในวันที่ 16 ธ.ค.2559 แต่มีผลตามคำประกาศในวันทำการถัดมา คือวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ซึ่งทำให้ราคายางประมูลในตลาด 6 ตลาดกลาง มีปัญหาราคาลดลงทันที เพราะทำให้ผู้ประกอบการที่ซื้อสามารถกดราคายางจากเกษตรกรชาวสวนยางได้

rubberlogo
2.การบริหารจัดการยางในโครงการหน่วยธุรกิจ หรือบียู กยท.และบริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด หลังรับซื้อมาแล้ว กลับปล่อยให้ยางคุณภาพชั้นดีกองเต็มพื้นในตลาดกลางเกือบทุกตลาด ทำให้ยางเสื่อมสภาพและราคายางต่ำลงซึ่งเป็นความเสียหายต่อการจัดการด้วยเงินจากภาษี และยังส่งผลทำให้ตลาดกลางหลายแห่งขาดสภาพคล่องจนต้องปิดทำการตลาด ซึ่งไม่เคยปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ตลาดกลางของรัฐ

3.ออกระเบียบขึ้นภาษีส่งออกจากระบบขั้นบันได เป็นเก็บอัตราคงที่ 2 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งที่สภาวะราคายางมีแนวโน้มที่ต่ำลง รวมทั้งการให้ข่าวของผู้ว่าการยางฯ ไม่เคยเป็นผลสัมฤทธิ์ และไม่ได้สร้างเครดิตให้กับราคายาง ดังเห็นได้จากการซื้อขายยางผ่านตลาดเอกชนและบริษัทต่างๆไม่ได้ผล ในการชี้นำราคาและการดูดซับปริมาณยางเพื่อเพิ่มมูลค่าตามนโยบายเลย แต่กลับทำให้เกิดราคาผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง มีการเอื้อประโยชน์ ทำให้เกิดเสียเปรียบได้เปรียบเป็นจำนวนมากระหว่างตลาดต่อตลาด จนเป็นที่มาของวิกฤติราคาและราคาไร้เสถียรภาพ และ

นายมนัส บุญพัฒน์ manus

นายมนัส บุญพัฒน์

4.จับมือกับบริษัทผู้ส่งออกเป็นบริษัทร่วมทุน เข้าประมูลยางในตลาดกลางโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร จนทำให้เกิดความเสียหายและล้มเหลว

e-book