3 พระเอกตัวจริง จับโจรหุ้น MORE และปฏิบัติการต่อไป

22 พ.ย. 2565 | 20:00 น.

คอลัมน์เมาธ์ทุกอำเภอ โดย...เจ๊เมาธ์

*** ลุ้นตัวโก่งกว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย (ตลท.) นำโดย “พี่ปุย” “คุณภากร ปีตธวัชชัย” พร้อมกับ พี่โบ้ “คุณพิเชษฐ สิทธิอำนวย” นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย หรือ “ASCO” จะแถลงว่าอายัติเงินต้องสงสัยกว่า 5 พันล้านบาท รวม 34 รายการ พัวพันกลุ่มผู้ต้องสงสัยกว่า 27 ราย โดยมีบริษัทลูกบริษัท listed ใน ต.ล.ท เข้าไปเกี่ยวพันด้วย


ธรรมะสอนใจ
 

มงคล 38 คือหนึ่งในหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง “มูลเหตุแห่งความสุข” และแนวทางการดำรงชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรือง โดย 2 ข้อแรก ระบุว่า

1. การไม่คบคนพาล
 

ความหมาย คือ ไม่คบผู้ที่ชักจูงไปในทางที่ผิด และโง่เขลาเบาปัญญา เพราะมีแต่จะทำให้ชีวิตเสื่อม


2. การคบบัญฑิต
 

ความหมาย คือ คบผู้มีความรู้ ความคิดที่ดี การปฏิบัติตนที่ดี เพื่อจะได้รับการชี้แนะแต่เรื่องอันเป็นมงคล

แน่นอนว่ากรณีปฏิบัติการ “ปล้นกลางแดด” ครั้งนี้ของหุ้น “ม๊อ” หรือ “More” ซึ่งมีผู้ถือใหญ่และผู้บริหาร ชื่อ เฮียม๊อ หรือ “อมฤทธิ์  กล่อมจิตเจริญ” และมีน้องคนสนิทชื่อ “อภิมุข บำรุงวงศ์” หรือ “ปิงปอง” (ผู้เบี้ยวหนี้ Broker กว่า 4.4 พันล้าน)… ถือเป็นตัวอย่างให้เห็นชัดว่า เราทั้งหลายควรเลือกคบคนแบบไหน ....

 

พระเอกตัวจริง
 

หากย้อนหลัง ไปเมื่อวันพฤหัสที่ 10 พ.ย. 2565 หรือวันยุทธการ “จันอัป” ได้บังเกิด… เชื่อได้ว่าสังคมนักลงทุน และพี่น้องประชาชนวงกว้างคงกงวลอย่างสูงว่า Regulator และผู้เกี่ยวข้อง จะจับผู้ต้องสงสัย พร้อมอายัติทรัพย์ไว้ก่อนได้หรือไม่?! เพราะเรื่องนี้มีเวลาเพียง ไม่กี่วันในการดำเนินการ
 

สุดท้าย เมื่อวันจันทร์ที่ 21 พ.ย. 2565 พระเอกสองท่าน พี่ปุย “ภากร ปีตธวัชชัย” ผู้จัดการต.ล.ท. พร้อมกับ พี่โบ้ “พิเชษฐ สิทธิอำนวย” นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย หรือ “ASCO”  ผู้ทำงานอย่างหนัก ด้วยความทุ่มเท ก็สามารถประสานงานและส่งข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอให้กับทาง “สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” หรือ “ปปง.” ที่นำโดย ท่านรองเลขาและกรรมการ ใหม่ถอดด้าม อย่าง “พลตำรวจตรีเอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ”
 

ส่วนอีกหน่วยงานหนึ่งที่ลืมไม่ได้ และต้องรับไม้ต่อ คือ “กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง” ที่นำโดย “พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช”… ต้องขอบอกเลยว่า หากไม่มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ แวดวงโบรกเกอร์และสังคมนักลงทุนไทยและเทศ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของชาติ คงประสบกับ “วิกฤตศรัทธา” ซึ่งแน่นอนจะส่งผลต่อกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน
 

“ภากร ปีตธวัชชัย” ผู้จัดการ ต.ล.ท.กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนล่าสุด 
 

จบการศึกษาปริญญาเอกบริหารธุรกิจ (Finance and Economics) จาก Boston University (USA) 
 

ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (ด้านการเงิน) จาก University of Wisconsin, Whitewater (USA) 
 

ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (อิเล็กทรอนิกส์) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
 

ร่วมทำงานกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ปี 2553 จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 13
 

สอนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เริ่มจากภาพรวมของระบบนิเวศการทำธุรกิจ  
 

“พิเชษฐ สิทธิอำนวย” บุตรชายของ ปิติ สิทธิอำนวย ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ ชื่นชอบ กีฬาฟันดาบ และกีฬาอเมริกันฟุตบอลมาเปิดกิจการร้านอาหาร “โหว์โหว์ คิทเช่น (HoHo Kitchen)” ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ร้านอาหารจีนสไตล์ฮ่องกงสำหรับคนทำงานย่านสีลม
 

ซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจเด็ก “จิมโบรี” (Gymboree) มาในปี 2543 เป็นธุรกิจที่สอนการเล่นกับลูกอย่างไรให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ซึ่งทำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มีเปิดแล้ว 13 สาขา
 

ปริญญาโท ครุศาสตร์ (การศึกษาปฐมวัย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Texas at Austin, USA
 

ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) สถาบันกรรมการบริษัทไทย
 

หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สถาบันกรรมการบริษัทไทย
 

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่น 11
 

ส่วน ท่านรองเลขาฯ และกรรมการ ปปง: อย่าง “พลตำรวจตรีเอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ” (รองเอก) ผู้ซึ่งเพิ่งย้ายข้ามห้วยจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้ามมา “ปปง.” ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า “เสือข้ามห้วย” ไม่ได้เป็นแมว อย่างที่เค้าว่ากัน… เพราะเสือที่มีเขี้ยวเล็บ ยังไงก็คือ เสือที่พร้อมจับโจรเสมอ 
 

พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ  จบนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 41 (นรต.41)
• เคยดำรงตำแหน่ง ผกก.สส.บก.น.6 
• ผกก.สส.บก.น.9 
• ผกก.สน.มักกะสัน
• รอง ผบก.อก.บช.น.
• ผบก.ภ.จว.อ่างทอง
• ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่ง รอง ผบช.ภ.6 
• รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 

 

“บล. ไอร่า” และ “บล. อาร์เอชบี” มีหนาว!!
 

ส่วนปฏิบัติการต่อไปของ ปปง. ในการจัดการผู้ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายและจัดการเครือข่ายผู้ต้องสงสัยปล้น Broker ก็คือ การเตรียมบุกตรวจ 2 บริษัทหลักทรัพย์ที่ปล่อยเงินให้ผู้ต้องสงสัย โดยดำเนินตามกฏกระทรวงว่าด้วยการทำ “STR” หรือ Suspicious Transaction Report และพร้อมตรวจสอบว่า มีการเอื้อประโยชน์กับเครือข่าว “อภิมุช หุ้นม๊อ” หรือไม่อย่างไร?? 


หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,838 วันที่ 24 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565