ผวา“โอไมครอน” ทุบซ้ำเศรษฐกิจ

30 พ.ย. 2564 | 11:11 น.

คอลัมน์ฐานโซไซตี โดย...กาแฟขม

***หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3736 ระหว่างวันที่  2-4  ธันวาคม 2564...โดยกาแฟขม


*** ยอดผู้ติดเชื้อโควิดรายวันในประเทศไทยลดลงต่ำกว่า 5 พันราย โดยรายงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ศบค. รายงานยอดผู้ติดเชื้อของวันที่ 29 พ.ย. จำนวน  4,753 ราย สะสม ตั้งแต่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมาจำนวน  2,082,703 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย หายป่วยเพิ่ม 6,165 ราย กำลังรักษา 77,811 ราย หายป่วยสะสม1,985,595 ราย

*** ยอดผู้ติดเชื้อรายวันตามที่เก็บสถิติลดลง แต่ที่น่าเป็นกังวลและทั่วโลกวิตกกับสายพันธุ์ใหม่ของโควิด-19 โอไมครอน ที่จะเขย่าเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ ที่น่ากังวลเพราะสายพันธุ์นี้ ว่ากันว่าสามารถหลบหลีกการป้องกันของวัคซีนและแปรเปลี่ยนหลบหลีกได้ถึง 32 จุด นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกปวดหัวกับการหาทางสู้ไวรัสสายพันธุ์นี้  หลายประเทศในยุโรปออกประกาศห้ามการเดินทางจากต้นทางในภูมิภาคแอฟริกาทันที ล่าสุดอิสราเอล ญี่ปุ่น ก็ประกาศห้ามเดินทางเข้าประเทศเช่นเดียวกัน และหากมีคนที่เดินทางจากประเทศที่ตรวจพบเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 14 ประเทศ ต้องทำการกักตัวอย่างเข้มแข็งทันที


*** แสดงความกังวล ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรบอกในงานสัมมนา"Thailand Economic Outlook 2022 อนาคตเศรษฐกิจไทย"จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  ว่า ต้องติดตามความชัดเจนความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งพบ เพราะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย ถึงแม้จะมีวัคซีนและยารักษาออกมาก็ตาม ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังไม่กลับมาฟื้นตัวเต็มที่หลังจากเปิดประเทศไปเมื่อต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา และในประเทศฝั่งยุโรปกลับมาติดเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง อาจจะทำให้เกิดการชะลอเปิดประเทศหรือไม่

*** นี่ก็วิตกไม่ใช่น้อยและอาจถึงขั้นต้องประเมินตัวเลขนักท่องเที่ยวกันใหม่ ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 1.2 % และปีหน้าอยู่ในกรอบ 3.5-4.5% โดยนักท่องเที่ยวจะเข้ามาไทยมากขึ้น แต่ ประมาณการนี้ทำก่อนเกิด โอไมครอนมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง มีการติดเชื้อได้ง่าย การป้องกันการระบาดพยายามไม่ให้เชื้อกลายพันธุ์เข้ามาในประเทศได้ ไม่อยากให้เกิดการระบาดในวงกว้างขึ้นในประเทศเพราะหลายๆอย่างเริ่มไปได้ดีแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มกลับมา หากพบจริงต้องจำกัดการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงแคบที่สุด


*** มาด้านภาคธุรกิจ เมื่อเร็วๆ นี้ สุพันธุ์  มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมคณะกรรมการฯ เข้าร่วมสถาปนาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 76 ครบทั่วไทย บรรลุตามเป้าหมายปี 2564 เพื่อเปิดประตูสู่ตะวันตก มุ่งยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางผู้นำอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดย ปกรณ์ จีนาคำ ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน


*** การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) และ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ศึกษาความเป็นไปได้ในธุรกิจไฟฟ้าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร งานนี้ วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. บอกความร่วมมือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเสริมสร้างเสถียรภาพการให้บริการระบบไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบกิจการและนักลงทุนต่อการให้บริการสาธารณูปโภคของนิคมอุตสาหกรรม ผลศึกษาจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างเสถียรภาพการให้บริการระบบไฟฟ้าของนิคมอุตสาหกรรม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการและนักลงทุน ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศต่อไปในอนาคต


*** ขอแสดงความยินดีกับ นำชัย หล่อวัฒนตระกูล อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประธาน วพน.4 ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นประธานคณะกรรมการ ชมรมวิทยาการพลังงาน (ชวพน.) ปี 2565 และยังมีรองประธานคณะกรรมการ และกรรมการของชมรมวิทยาการพลังงาน 2565 ที่ได้รับเลือกซึ่งมีทั้งหมดรวม 45 คน ก็ประกอบไปด้วย โยธิน ดําเนินชาญวนิชย์, กําธร วังอุดม, ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์, รองประธานฯ ประกอบด้วย ศิริธัช โรจนพฤกษ์, สิทธิชัย โควสุรัตน์, ฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล, ไพศาล พิสุทธิ์วัชระกุล, พิเชษฐ สิทธิอํานวย, ปลิว ตรีวิศวเวทย์, คณพศ นิจสิริภัช, คณพินิจ จารุสมบัติ, วิวัฒน์ เลาหพูนรังสี, จรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ และ ชัยวัฒน์ ทองคําคุณ


*** ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์, วัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร, พล.อ.อ.พิธพร กลิ่นเฟื่อง, ประภา ปูรณโชติ, ณพาพร โอวสุวรรณกุล, ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย, ปิยพรรณ หันนาคินทร์, ผศ.ดร.วุฒิพงศ์ กิตติธเนศวร, ปารณีย์ อํานวยรักษ์สกล, เพชรรัตน์ เอกแสงกุล, อรวดี โพธิสาโร, อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์, รัชนีวิภา ปุ๋ยพันธวงศ์, พัชนี ธนาพรสิน, ภิมลภา สันติโชค, จักรพันธุ์ ยมจินดา, จรัญ พงษ์จีน, บวร วงศ์สินอุดม, วรพจน์ ยศะทัตต์, รังสรรค์ ตุลชีวี, สกล เหล่าสุวรรณ, สมบัติ แสงชาติ, ประภาส วิชากุล, ธนารักษ์ พงษ์เภตรา, สุวัฒน์ กมลพนัส, สุรงค์ บูลกุล เหรัญญิก, ภรณี เริงประเสริฐวิทย์, พล.อ.อ.สมชาย เกียรอนันท์, วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ และ ดร.จิตรลดา บุรพรัตน์