เปิดขุมพลัง "อาวุธนิวเคลียร์" ของประเทศมหาอำนาจ

22 เม.ย. 2567 | 22:00 น.

สำรวจศักยภาพทางนิวเคลียร์ของมหาอำนาจ ใครบ้างที่มีนิวเคลียร์ครอบครอง มีจำนวนเท่าไหร่ เเละมีความพยายามพัฒนาอย่างไร

สำนักข่าว CNBC รายงานว่า รัสเซียเตือนเมื่อวันจันทร์ (22 เม.ย 67) ว่า ความเสี่ยงของการปะทะกันทางทหารโดยตรงระหว่างรัสเซียกับมหาอำนาจนิวเคลียร์ในชาติตะวันตกกำลังเพิ่มสูงขึ้น เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวในข้อความวิดีโอถึงผู้เข้าร่วมการประชุมไม่แพร่ขยายอาวุธในกรุงมอสโก 

นอกจากนี้ยังระบุว่า การสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรสำหรับยูเครนทำให้เกิดความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์อย่างร้ายแรงสำหรับรัสเซีย

ความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัสเซียกำลังแสดงปฏิกิริต่อสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ที่ส่งแพ็คเกจช่วยเหลือต่างประเทศมูลค่า 61,000 ล้านดอลลาร์ให้กับยูเครนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

สภาผู้เเทนฯ สหรัฐ ไฟเขียวมาตรการอุ้ม ยูเครน-อิสราเอล-ไต้หวัน

ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเสมือนชีวิตของยูเครน เนื่องจากกองทัพกำลัง ขาดเเคลนอาวุธ ในขณะที่กองกำลังรัสเซียได้รับผลประโยชน์ในภูมิภาคดอนบาส ทำให้ที่ผ่านมายูเครนต้องร้องขอระบบป้องกันภัยทางอากาศ ปืนใหญ่ และกระสุนเพิ่มเติมเพื่อพลิกสถานการณ์ในสงคราม

เมื่อพูดถึงมหาอำนาจนิวเคลียร์ ตามข้อมูลพบว่าหลายชาตินั้นมีการครอบครองและพัฒนาอาวุธชนิดนี้ แม้จะมีความคืบหน้าใน "การลดคลังอาวุธนิวเคลียร์" นับตั้งแต่สงครามเย็น แต่ปริมาณหัวรบนิวเคลียร์รวมของโลกยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก โดย ณ ต้นปี พ.ศ. 2567 มีประเทศ 9 ประเทศครอบครองหัวรบประมาณ 12,100 หัวรบ

เปิดขุมพลัง \"อาวุธนิวเคลียร์\" ของประเทศมหาอำนาจ

เมื่อรวมกันแล้ว ขณะนี้ สหรัฐฯ และรัสเซียครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ประมาณร้อยละ 88 ของคลังอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดของโลก และร้อยละ 84 ของหัวรบที่สะสมไว้พร้อมสำหรับใช้งานโดยกองทัพ 

ทั้งนี้ คลังแสงทั่วโลกของอาวุธนิวเคลียร์กำลังลดลง แต่การลดลงนั้นช้าลงเมื่อเทียบกับ 30 ปีที่ผ่านมา เเละการลดลงเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงเพราะสหรัฐฯและรัสเซียรื้อหัวรบที่เลิกใช้แล้วก่อนหน้านี้ แนวโน้มก็คือคลังอาวุธ (อาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้งานได้) กำลังเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

จากหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 12,100 ลูก ทั่วโลก มีประมาณ 9,583 ลูกอยู่ในคลังทหารเพื่อใช้ขีปนาวุธ เครื่องบิน เรือ และเรือดำน้ำ หัวรบที่เหลือได้เลิกใช้แล้ว แต่ยังค่อนข้างสมบูรณ์และกำลังรอการรื้อถอน)

จากหัวรบ 9,583 ลูก ในคลังอาวุธ มีประมาณ 3,880 หัวรบ ที่ประจำการอยู่ในกองกำลังปฏิบัติการ (บนขีปนาวุธหรือฐานวางระเบิด) ในจำนวนดังกล่าว หัวรบของสหรัฐฯ รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ราว 2,000 ลูกอยู่ในภาวะตื่นตัวขั้นสูงและพร้อมใช้งานได้ในระยะเวลาอันสั้น 

การลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติ

สหประชาชาติพิจารณาการลดอาวุธในคณะกรรมการด้านลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ หรือคณะกรรมการ 1 นอกจากนั้น ยังมีเวทีพหุภาคีหารือเรื่องการลดอาวุธอีก 2 เวทีคือ Conference on Disarmament (CD) ที่นครเจนีวา และ UN Disarmament Commission (UNDC) ที่นครนิวยอร์ก

ประเด็นการลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติแบ่งออกเป็น อาวุธที่มีกำลังทำลายล้างสูง ได้แก่อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ อาวุธตามแบบ เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา และ  ระบบเครื่องส่งอาวุธ คือ ขีปนาวุธ

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty  NPT)

ห้ามรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน) ส่ง หรือช่วยให้ประเทศอื่น ๆ ผลิต หรือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และห้ามรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์รับ แสวงหา หรือขอความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และให้รัฐที่ไม่ได้ครอบครอบอาวุธนิวเคลียร์ยอมรับข้อตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยว่าจะไม่นำพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติไปดัดแปลงใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์
 
NPT มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2513 (ค.ศ. 1970) มีประเทศภาคี 184 ประเทศ (รวมทั้งประเทศที่ครอบครองนิวเคลียร์ 5 ประเทศ สหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน)  ปี 2538 (ค.ศ. 1995) สนธิสัญญาฯ ได้รับการต่ออายุแบบถาวร (indefinite extension) โดยจะมีการประชุมทบทวนสนธิสัญญาฯ ทุก 5 ปี

ที่มา

Federation of American Scientists

5 Russian Nuclear "Weapons" of War the West Should Fear

cnbc

กระทรวงการต่างประเทศ

Foreign Minister Sergey Lavrov’s video address to participants in the Moscow Nonproliferation Conference