อิหร่าน-อิสราเอล : ความลับการจัดการขีปนาวุธและโดรนของอิสราเอล

14 เม.ย. 2567 | 13:08 น.

ความขัดแย้งระหว่าง อิหร่าน-อิสราเอล ยังคงลุกลามอย่างต่อเนื่อง อิหร่านปล่อยขีปนาวุธกว่า 300 ลูก โจมตีเป้าหมายในอิสราเอล เเต่อิสราเอล ระบุว่า จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 99% และยังได้โจมตีพื้นที่การยิงของอิหร่านด้วยการใช้โดรนที่ล้ำเทคโนโลยี

การโจมตีที่เข้ามาโดยโดรนและขีปนาวุธของ "อิหร่าน" มากกว่า 300 ลำถือเป็นความท้าทายต่อระบบป้องกันภัยทางอากาศของ "อิสราเอล" ซึ่งทำงานเพื่อรับมือกับการโจมตีด้วยจรวด โดรน และขีปนาวุธที่เข้ามาตลอดการทำสงคราม 6 เดือนกับกลุ่มฮามาส

อิสราเอล ระบุว่า ภัยคุกคามประเภทต่างๆจากโดรนเเละขีปานาวุธ 300 ลำ อิสราเอลได้กำจัดไป 99% ตามการอัปเดตจาก โฆษกกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี เขากล่าวว่า เด็กหญิงวัย 10 ขวบคนหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเศษกระสุน แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม และเสริมว่ามีการยิงหลายครั้งไปยังอิสราเอลจากอิรัก เยเมน และเลบานอนด้วย ตามรายงานของ CNBC 

 

ระบบป้องกันประเทศของอิสราเอลด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และอังกฤษได้รับการยกย่องว่าสามารถป้องกันความเสียหายร้ายแรงหรือการบาดเจ็บล้มตายได้ ไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นของอิสราเอล 

The Arrow

ระบบนี้พัฒนาขึ้นร่วมกับสหรัฐฯ ได้รับการออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยไกล รวมถึงขีปนาวุธประเภทต่างๆ 

แอร์โรว์ทู (Arrow 2) เเละ แอร์โรว์ทรี (Arrow 3) ที่อิสราเอลพัฒนาร่วมกับสหรัฐฯ ระบบแอร์โรว์ทู ใช้หัวรบแบบกระจายเพื่อทำลายขีปนาวุธในชั้นบรรยากาศ มีระยะทำการ 90 กิโลเมตร และยิงขึ้นไปในแนวดิ่งทำระดับความสูงสูงสุดถึง 50 กิโลเมตร

แอร์โรว์ทรี ใช้เทคโนโลยีการโจมตีเพื่อสังหาร (Hit-to-Kill) ในการสกัดกั้นขีปนาวุธที่เข้ามาในอวกาศ ก่อนที่พวกมันจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศระหว่างเดินทางไปยังเป้าหมาย

David's Sling

เป็นโครงการร่วมระหว่าง Rafael Advanced Defense System ของอิสราเอลและ Raytheon บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เครื่องสกัดกั้นแบบจลนศาสตร์แบบโจมตีเพื่อกำจัดเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 186 ไมล์ ตามรายงานของโครงการ Missile Threat ที่ศูนย์การศึกษาระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์ (CSIS)

แพทริออต

 

ระบบนี้ถูกพัฒนาเรื่อยมา โดยบริษัทเรย์ธีออน เทคโนโลยี ซึ่งแพทริออต เป็นกลุ่มอาวุธที่ประกอบด้วยเครื่องยิงขีปนาวุธ, ศูนย์บัญชาการ และสถานีเรดาร์ที่คอยติดตามอาวุธของฝ่ายข้าศึกที่ถูกยิงมาโจมตี ในขณะที่ ระบบต่อต้านขีปนาวุธแพทริออตของสหรัฐฯ มีพิสัยโจมตีเป้าหมายในระยะ 20-100 ไมล์ (หรือราว 32-160 กิโลเมตร)

โดมเหล็ก (Iron Dome) 

ระบบที่มีความสามารถในการสกัดกั้นการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮามาสมาได้ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2011 ระบบนี้พัฒนาโดยอิสราเอล ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ โดยเชี่ยวชาญด้านการยิงจรวดพิสัยใกล้  สามารถสกัดกั้นจรวดได้หลายพันลูกนับตั้งแต่เปิดใช้งานเมื่อต้นทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการสกัดกั้นหลายพันครั้งระหว่างสงครามกับกลุ่มฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ในปัจจุบัน อิสราเอล กล่าวว่า มีอัตราความสำเร็จมากกว่า 90%

Iron Beam 

ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Megan (เมแกน) หรือโล่แสง (Light Shield) คือ ระบบเลเซอร์ป้องกันภัยทางอากาศโฉมใหม่ของอิสราเอล เป็นเลเซอร์กำลังไฟ 100 กิโลวัตต์ ได้รับการออกแบบมาให้สกัดกั้นขีปนาวุธทางอากาศพิสัยใกล้เกินกว่าที่ระบบของ Iron Dome (ไอรอนโดม) จะสกัดกั้นได้ สามารถทำลายอาวุธได้หลาบชนิด ทั้งกระสุนปืนใหญ่ จรวด กระสุนปืนครก และโดรน

อิสราเอลกำลังพัฒนาระบบใหม่เพื่อสกัดกั้นภัยคุกคามที่เข้ามาด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ อิสราเอล กล่าวว่า ระบบนี้จะเป็นผู้เปลี่ยนเกมเนื่องจากมีราคาถูกกว่าระบบที่มีอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ดำเนินการ

ที่มา