เลือกตั้ง 2566 สรุปครบทุกเรื่อง "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" ต้องรู้ไว้ให้ที่นี่

11 มี.ค. 2566 | 02:00 น.

เลือกตั้ง 2566 สรุปทุกเรื่องต้องรู้ คุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม-ระบบบัตรเลือกตั้ง-ช่องทางและขั้นตอนแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ พร้อมเช็คไทม์ไลน์วันเลือกตั้ง มัดรวมไว้ให้ครบที่นี่

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งใหม่ในประเทศไทย หรือ เลือกตั้ง 2566 ที่คาดว่าจะจัดขึ้นวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะมีประกาศยุบสภา ก่อนที่อายุผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566

การเลือกตั้งในปี 2566 เป็นการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต 400 คน และ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

เพื่อความชัดเจน เกี่ยวกับกาารเลือกตั้ง ในปี 2566 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ฐานเศรษฐกิจ จึงได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเด็นที่น่าสนใจเป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อเตรียมความพร้อม

ระบบเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

การเลือกตั้ง ในปี 2566 ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะใช้ระบบที่ต่างออกไปจากที่เคยใช้ในการเลือกตั้งในปี 2562 จากที่ครั้งก่อนมีเพียงใบเดียว

การเลือกตั้งในปี 2566 ครั้งนี้ประชาชนจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบโดยทั่วไปจะมีสีที่ต่างกันโดยทั่วไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศสีของบัตรแต่ละใบเมื่อใกล้วันเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องทำเครื่องหมายกากบาทเท่านั้น หากพบเครื่องหมายอื่นจะถือว่า เป็นบัตรเสีย

  1. บัตรเลือก ส.ส.เขต ให้ประชาชนลงคะแนนเลือกบุคคลตามการแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 ใบต่อ ส.ส.
  2. บัตรเลือกพรรค ให้ประชาชนได้ลงคะแนนเลือกนโยบายของพรรคการเมืองที่ตัวเองชอบโดย กกต.จะนำเอาบัตรเลือกตั้งในส่วนนี้มาคิดหาสัดส่วนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 ใบต่อ  1 พรรคการเมือง

 

ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง

  • สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
  • สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  • เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
  • ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

ทั้งนี้ จะถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี เพื่อไม่เสียสิทธิดังกล่าวข้างต้น กฎหมายกำหนดให้แจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ 

วิธีการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 1

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้แจ้งเหตุจำเป็น ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ดังนี้

1. ให้ผู้แจ้งเหตุเข้าที่เว็บไซต์

ระบบแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ 

2. เว็บไซต์ www.ect.go.th 

3. แอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อ "การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ "

ขั้นตอนที่ 2

กรอกข้อความในแบบแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วน และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด เมื่อยืนยันข้อความที่ได้กรอกแล้ว ระบบจะแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้โดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 3

พิมพ์แบบการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือจัดเก็บสำเนาข้อมูลไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐาน

เลือกตั้ง 2566 สรุปครบทุกเรื่อง \"ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง\" ต้องรู้ไว้ให้ที่นี่

จำนวน ส.ส.500 คน แบ่งเป็น 

  • ส.ส.เขต เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เดิม 350 คน เป็น 400 คนทั่วประเทศ 
  • ส.ส.บัญชีรายชื่อลดลงจากในปี 2562 เดิม 150 คน เหลือ 100 คน

จำนวน ส.ส.ในแต่ละจังหวัด

ไล่เรียงจาก "มากที่สุด" ไปถึง "น้อยที่สุด" 

มี ส.ส. 33 คน

  • กรุงเทพมหานคร 

มี ส.ส. 16 คน 

  • นครราชสีมา 

มี ส.ส. 11 คน

  • ขอนแก่น และอุบลราชธานี

มี ส.ส. 10 คน

  • นครศรีธรรมราช ชลบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี และบุรีรัมย์  

มี ส.ส. 9 คน 

  • ศรีสะเกษ และสงขลา 

มี ส.ส. 8 คน

  • นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ และสุรินทร์   

มี ส.ส. 7 คน

  • เชียงราย ชัยภูมิ ปทุมธานี สกลนคร และสุราษฎร์ธานี 

มี ส.ส. 6 คน 

  • กาฬสินธุ์ นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม 

มี ส.ส. 5 คน

  • ปัตตานี ลพบุรี กาญจนบุรี นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ระยอง ราชบุรี และสุพรรณบุรี 

มี ส.ส. 4 คน 

  • กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ตรัง นครพนม ลำปาง เลย สระบุรี และสุโขทัย

มี ส.ส. 3 คน

  • ตาก กระบี่ จันทบุรี ชุมพร น่าน บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี แพร่ ภูเก็ต ยโสธร ยะลา สระแก้ว หนองคาย หนองบัวลำภู สมุทรสาคร และอุตรดิตถ์

มี ส.ส. 2 คน 

  • ชัยนาท นครนายก พังงา มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ลำพูน สตูล อ่างทองอำนาจเจริญ และอุทัยธานี 

มี ส.ส.1 คน

  • ตราด ระนอง สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

9.จังหวัดที่มี ส.ส.เพิ่มขึ้น

  • อุดรธานี มี ส.ส. 10 คน
  • ลพบุรี มี ส.ส. 5 คน
  • นครศรีธรรมราช มี ส.ส. 10 คน
  • ปัตตานี มี ส.ส. 5 คน

10.จังหวัดที่มี ส.ส.ลดลง 

  • เชียงราย มี ส.ส. 7 คน
  • เชียงใหม่ มี ส.ส. 10 คน
  • ตาก มี ส.ส. 3 คน
  • สมุทรสาคร มี ส.ส. 3 คน

11.ไทม์ไลน์เลือกตั้ง 2566 หลังประกาศยุบสภา

กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งภายใน  5  วันนับตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

3-7 เม.ย. 2566

  • วันรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

11  เม.ย. 2566

  • วันสุดท้ายประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

14  เม.ย. 2566

  • ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

16  เม.ย. 2566

  • วันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน สรรหา/ แต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 

26  เม.ย. 2566

  • วันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายเพิ่มชื่อ -ถอนชื่อ (ม.37, ม.38) 

30  เม.ย. 2566

  • วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง/นอกเขตเลือกตั้ง และแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 

1-6 พ.ค. 2566

  • แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 พ.ค. 2566

  • วันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

3 พ.ค. 2566

  • วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัคร กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร

6 พ.ค. 2566

  • วันสุดท้ายผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม

7 พ.ค. 2566

  • วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการเลือกตั้งทั่วไป

8-14 พ.ค. 2566

  • วันสุดท้ายแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2566 สรุปครบทุกเรื่อง \"ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง\" ต้องรู้ไว้ให้ที่นี่