โทรศัพท์ตกน้ำทำอย่างไร อย่าตกใจ 5 ข้อ ควรปฏิบัติเบื้องต้นที่ต้องรีบทำทันที

21 ก.พ. 2567 | 06:16 น.

โทรศัพท์ตกน้ำทำอย่างไร อย่าตกใจ 5 ข้อ ควรปฏิบัติเบื้องต้นที่เจ้าของเครื่องต้องรีบดำเนินการทำทันที มือถือ อาจกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

โทรศัพท์ตกน้ำทำอย่างไร ไม่ต้องรอเทศกาลสงกรานต์ 2567 หากมือถือที่ใช้เป็นประจำเกิดเปียก หรือ เกิดอุบัติเหตุมือถือตกน้ำ เข้าห้องน้ำหรือล้างมือในห้องน้ำ

โทรศัพท์ตกน้ำ อย่าตกใจ 5 ข้อ ควรปฏิบัติเบื้องต้นที่ต้องรีบทำทันที

1. รีบนำขึ้นจากน้ำทันที

  • อย่ามัวแต่ตกใจอ้าปากค้าง เพราะยิ่งแช่น้ำนานเท่าไหร่ ความเสียหายก็ยิ่งมากขึ้นตาม เมื่อโทรศัพท์ตกน้ำ คว้าขึ้นมาได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดีที่สุด

 

2. อย่ากดปุ่มเปิด-ปิดเด็ดขาด

  • รวมถึงปุ่มต่าง ๆ ที่อยู่บนตัวเครื่องด้วย เพราะความชื้นจากการตกน้ำหรือแช่น้ำอาจทำให้เกิดการลัดวงจรและเสียหายหนักกว่าเดิมหรือถาวรได้

3. ถอดส่วนประกอบให้ไว

  • ส่วนประกอบที่ว่านี้หมายถึงซิมการ์ด เมมโมรี่การ์ด แบตเตอรี่ หน้ากาก ฝาหลัง ฯลฯ ที่สามารถถอดเองได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ จากนั้นให้นำผ้าหรือทิชชู่ชนิดที่ไม่มีขนมาซับน้ำออกให้แห้งและไวที่สุด

โทรศัพท์ตกน้ำต้องทำอย่างไร

4. ข้าวสารช่วยชีวิต

  •  เมื่อมือถือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มแห้งพอสมควรแล้ว ให้นำไปวางทิ้งไว้ในถังข้าวสารหรือในถุงพลาสติกที่บรรจุซิลิก้าเจลหรือสารกันความชื้นที่เราแอบเก็บสะสมมาจากถุงขนมต่าง ๆ เพื่อช่วยดูดความชื้นที่อาจจะยังหลงเหลืออยู่ในส่วนของอุปกรณ์ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าความชื้นได้หายไปหมดแล้วจริง ๆ

5. เปิดเครื่องเช็คชีพจร

  • หลังจากนำไปไว้ในถังข้าวสารจนแน่ใจว่าแห้งดีแล้ว ลองเปิดเครื่องดู หากเปิดได้ก็เช็คอาการพื้นฐานต่าง ๆ เช่น หน้าจอติดปกติไหม โทรเข้า-ออกได้หรือเปล่า ลำโพงดังหรือไม่ ปุ่มกดใช้งานได้ปกติทุกปุ่มไหม ใช้งานกล้องได้หรือเปล่า ตรวจเจอการ์ดหน่วยความจำหรือไม่ รวมถึงลองใช้เมนูฟังก์ชั่นและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ว่ายังใช้งานได้ปกติดีใช่ไหม หากไม่พบปัญหาอะไรก็อย่าเพิ่งนอนใจ หาเวลาไปเข้าศูนย์ฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คอาการภายในเครื่องด้วยก็ดี

สิ่งที่ห้ามทำเมื่อโทรศัพท์มือถือตกน้ำ

1. หากโทรศัพท์ตกน้ำ ห้ามนำมาเสียบสายชาร์จแบตฯ เด็ดขาด อาจทำให้ไฟช็อต ระเบิด และไฟลุกไหม้ได้
2. ถ้าโทรศัพท์มีปุ่มต่าง ๆ ก็อย่าไปเผลอกด เช่น ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง เป็นต้น
3. อย่าเขย่าโทรศัพท์ อาจจะทำให้น้ำในเครื่องแพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้น
4. ห้ามเป่าลม เพราะอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าลึกไปอีกได้
5. ห้ามใช้ความร้อนกับโทรศัพท์ เช่น ใช้ไดร์ป่าผม เอาเข้าไมโครเวฟ วางตากแดด ฯลฯ.

ที่มา:DTAC