ผงะ! Asia Scam Report 2023 โชว์ชัดคนไทยโดนมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์มากสุด

13 ธ.ค. 2566 | 09:06 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ธ.ค. 2566 | 09:38 น.

Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เผยรายงานระบุชัดคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย รวมถึงถูกหลอกผ่านเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล์ มากที่สุด

Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) จัดงานประชุมต่อต้านการภัยหลอกลวงออนไลน์ครั้งแรก ของเอเชีย Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เผยแพร่รายงานที่น่าเป็นห่วงว่าคนเอเชียส่วนใหญ่ มีความมั่นใจเกินไป ว่ารู้ทันกลโกงออนไลน์ สวนทางกับแนวทางที่มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การหลอกลวงมีความแยบยลและ ยากต่อการสังเกต

ผงะ! Asia Scam Report 2023 โชว์ชัดคนไทยโดนมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์มากสุด

โดยคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย ผ่านทางเฟสบุ๊ค ไลน์ และอีเมล มากที่สุด

รายงาน Asia Scam Report 2023 จัดทำโดย GASA และ Gogolook เผยว่าเอเชียกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากร ที่มีแนวโน้มใช้เทคโนโลยี AI สร้างเครือข่ายหลอกลวงได้ง่าย รวดเร็ว และดำเนินการในต่างประเทศเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และจับกุม การประชุม ASAS จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการระบุและปราบปรามการกระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว โดยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย องค์กรความ ปลอดภัย แบรนด์เอเจนซี่ สถาบันการเงินและธุรกิจ ทั่วเอเชีย

ผงะ! Asia Scam Report 2023 โชว์ชัดคนไทยโดนมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์มากสุด

กว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถาม 20,000 คน ใน 11 ประเทศในเอเชีย เผยว่าพวกเขาต้องเผชิญกับมิจฉาชีพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย โทรศัพท์และ SMS เป็นช่องทางหลักที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงตัวเหยื่อ โดยประเทศไทยถูกหลอกทางโทรศัพท์ มากที่สุด ในเอเชีย 88% มาเลเซีย 82.7% ฮ่องกง 81/.3% และเวียดนาม 80.2% คนไทยถูกหลอกผ่านเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล์ มากที่สุด การหลอกลวงในรูปแบบช้อปปิ้งออนไลน์ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และการหลอกให้ลงทุน

 

ผลการสำรวจเผยถึงตัวเลขที่สวนทางกันและควรให้ความสนใจว่า เกิน 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชีย มั่นใจว่ารู้จักกลโกง การหลอกลวง ขณะที่แนวโน้มการหลอกลวงมิจฉาชีพพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง อาทิ chat GPT, deep fake, การปลอมแปลง รูป เสียง ข้อความ URL และฟิชชิ่ง

นอกจากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยแล้ว เหตุผล 3 อันดับแรก ที่คนส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อ คือถูกล่อลวง โดยสิ่งจูงใจที่ดีเกินจริง ยอมเสี่ยงในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจ และรีบทำตามคำขอของมิจฉาชีพ ในขณะที่เหตุผลหลัก ของผู้ตกเป็นเหยื่อชาวไทย คือการไม่รู้ว่าถูกหลอก (22.2%) ถูกล่อลวงโดยสิ่งจูงใจที่ดีเกินจริง (19.6%) ยอมเสี่ยงในสถานการณ์ ที่ไม่น่าไว้ใจ (17.7%) ดังนั้น ความมั่นใจที่มากเกินไปนั้นอาจเกินความชะล่าใจและอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อในที่สุด

พล.ต.ท. ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ Private Public Collaboration : The Possibilities & the Roadblocks ให้สัมภาษณ์ว่า “ประเทศไทย มีการหลอกซื้อขายออนไลน์มากที่สุด แต่การหลอกให้ลงทุน มีมูลค่าความสูญเสียมากที่สุด ปัจจุบัน มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงเหยื่อได้ทุกกลุ่ม คนมีการศึกษา เจ้าของธุรกิจ คนรู้เท่าทัน แต่ยังถูกหลอก รัฐบาลให้ความสำคัญจัดตั้ง จัดตั้งศูนย์ AOC ที่เป็นการวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการช่วยเหลือแก้ปัญหาควบคู่กับกับการให้ความรู้ โครงการวัคซีนไซเบอร์ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และควรมีแพลตฟอร์มที่เชื่อมประเทศต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและช่วยติดตามจับกุมคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว”

นายจอริจ อับบราฮัม (Jorij Abraham) ผู้จัดการทั่วไปของ GASA กล่าวว่า“GASA ต้องการช่วยผู้คนทั่วโลกไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ งานประชุม Anti-Scam Summit นี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ เราบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การประชุมครั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการหลอกลวงในเอเชียที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เราหวังว่าในอนาคตจะมี ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมมากขึ้น รวมถึงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน มากขึ้นด้วยเช่นกัน”

นายเจฟฟ์ กัว (Jeff Kuo) ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง Gogolook กล่าวว่า “Gogolook ในฐานะผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น ชั้นนำในเอเชียและสมาชิกผู้ก่อตั้ง GASA รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับ GASA จัดประชุม Anti-Scam Asia Summit (ASAS) เป็นครั้งแรกที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทั้งภูมิภาคมาแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ จำเป็นต้องสร้าง 3 สิ่ง คือ การสร้างความรู้ให้กับประชาชน (Awareness) สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน (Collaborate) และ สร้างเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (Technology) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”