ดีป้า เดินหน้าขึ้นบัญชีบริการดิจิทัล ขับเคลื่อนพัฒนาสมาร์ทซิตี้

20 พ.ย. 2566 | 07:03 น.

ดีป้า พร้อมดันสิทธิประโยชน์ลงทุนเมืองอัจฉริยะเพิ่มเร่งผลักดันให้เกิดการขึ้นทะเบียนบริการบัญชีดิจิทัล หวังขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ในอนาคต

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa ) กล่าวถึงนโยบายผลักดัน Smart City ในงานสัมมนา “POSTTODAY SMART CITY THAILAND 2024” ว่า โครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในรูปแบบพิรามิด ประกอบด้วย  ล่างสุดเกษตรกร 8-12 ล้านคน สัดส่วนจีดีพี น้อยมาก ถ้าไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จีดีพีก็จะเพิ่มขึ้นยาก

ดีป้า เดินหน้าขึ้นบัญชีบริการดิจิทัล ขับเคลื่อนพัฒนาสมาร์ทซิตี้

ส่วนตรงกลาง SME มีประมาณ  3 ล้านราย   หรืออาจมีมากถึง 5-6 ล้านราย สร้างจีดีพี ประมาณ  35-40%  ส่วนบนสุดของพิรามิดคือบริษัทยักษ์ใหญ่   มีสัดส่วน 50% ของจีดีพี  คำถามของความเป็น “เมืองอัจฉริยะ” ก็ คือ คนระดับล่างๆ หรือ SME หรือ ประชาชนส่วนใหญ่ 10 กว่าล้านคนของพิรามิดจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร

โดยดีป้า  มีนโยบายในการขับเคลื่อน 3 ด้าน   ประกอบด้วย   1. การให้ความสำคัญคือทุนมนุษย์ ทั้งการ Reskill-Upskill คนไทยทั้งหมด สองคือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจดั้งเดิมสามารถ Transform หรือว่าปรับเปลี่ยนตัวเองได้ รวมทั้งกลุ่ม Startups ที่จะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยทั้งเกม ซอฟต์แวร์ แอนิเมชั่น หรือ AI ดังนั้นกลุ่มเหล่านี้จะกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญในกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจดั้งเดิมสู่เศรษฐกิจใหม่

2.การสร้างความเจริญให้กับฐานรากหรือประชาชนที่อยู่ด้านล่างของพิรามิดทั้งในระดับคอมมูนิตี้และระดับเกษตรกร และ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ 1. Blockchain as a Service 2. Big data as a service  และ 3.AI as a service ซึ่งตอนนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

ผศ.ดร.ณัฐพล   กล่าวต่อไปอีกว่า ไทยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ คณะทำงานชุดที่ 2 มีรัฐมนตรีดีอีเป็นประธาน และ ดีป้า เป็นคณะทำงานย่อย  กระบวนการทำงาน คือมีเมืองเดิมและมีเมืองใหม่ที่เริ่มจากศูนย์ เมืองเดิมคือเมืองที่หน้าอยู่มากขึ้นทั้งในรูปแบบของจังหวัด เทศบาล และ อบต. ส่วนเมืองใหม่ที่เป็น กรีนฟีลด์และก็ต้องการยกระดับเมืองนั้นขึ้นมา

โดยกล่าวถึงการนำเสนอพื้นที่หรือจังหวัดเข้าสู่โครงการเมืองอัจฉริยะตามมาตรฐานในภาคพื้นอาเซียนจะต้องมีคุณสมบัติหลัก 5 ประการในการเป็นเมืองอัจฉริยะ ว่าจะต้องทำตามหลักการต่อไปนี้: 1.ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า หนึ่งปีสองปีสามปีสี่ปีจะทำอะไร เช่น เมืองคยองจี ของเกาหลีตั้งเป้าหมายอยากเป็นเมืองอัจฉริยะด้าน สตาร์ทอัพ ภายในระยะเวลา 10 ปีแต่มีการวัดผลทุก 3-4 ปี    

2.ออกแบบเมืองในงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา และเรื่องของดิจิทัล ถ้าไม่มีก็ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของการเป็นเมืองอัจฉริยะในการขอรับสิทธิ ไม่ว่าจะระดับจังหวัด เทศบาล อบต จะต้องมีเรื่องของการลงทุนในเชิงกายภาพ (Physical) และ Non-Physical ด้วย

3.ต้องมีการวางแผนมีการจัดการให้เมืองนั้นๆ ที่สำคัญมาก    โดยต้องมีข้อมูล  หรือ ดาต้า ทั้งสถิติ หรือ ดาต้าจากเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองบางเมืองเริ่มเก็บภาพแต่ไม่มีการเชื่อมโยงกัน บางเมืองเริ่มใช้เซ็นเซอร์ แต่ไม่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นแผนงานในการพัฒนาดาต้า   ต้องมาเป็นเชื่อมโยงข้อมูลกัน  ถ้าไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรก็มีแนวทางคือ บริษัทเอกชนที่ลงไปพัฒนาเรื่องดาต้าในพื้นที่จะได้สิทธิภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมมีการกำหนดวงเงินทุนจดทะเบียน หรือการลงทุน  แต่ล่าสุดไม่จำกัดการลงทุน  ซึ่งได้รับการสิทธิประโยชน์ทางภาษี

4. ทุกเมืองจะต้องทำตามมาตรฐาน 7 ประการ คือ 7 Smart แต่ 7 ข้อนี้ แต่บางเมืองอาจจะมีแค่สองสามสี่ หรือ หนี่งหรือสอง แต่ความจริงสิ่งที่ต้องมีเรื่องสิ่งแวดล้อม บวกหนึ่งเป็นสอง แต่ละเมืองต้องเลือก ความสำคัญเป็นอันดับแรกของการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ เพราะแต่ละเมืองไม่ เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 7 ด้าน    และ 5. เน้นเอกชนลงทุนมากกว่ารัฐ นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นในเมือง

ผศ.ดร.ณัฐพล   กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับบริการขึ้นบัญชีบริการดิจิทัลที่มีมาตรฐาน หรือ การขึ้นทะเบียนมาตรฐานเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยได้แสดงความสามารถผ่านการพัฒนาสินค้าหรือบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากล มีราคาที่สมเหตุสมผล และถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาคประชาชน โดยมีตลาดภาครัฐเป็นแก่นสำคัญ ที่สำคัญที่สุดคือ "บัญชีบริการดิจิทัล" จะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย