ประธาน กสทช. ยื่นหนังสือต่อ "พรเพชร" ขอความเป็นธรรมแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช.

01 เม.ย. 2567 | 12:03 น.

ประธานกสทช. ร่อนหนังสือขอความเป็นธรรม พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ปม ตั้งเลขาธิการ กสทช. ล่าสุด สว.ปิดประชุมส่งเรื่องต่อให้ ป.ป.ช. พิจารณาผลการศึกษาของ กรรมาธิการฯ

วันนี้ (1 เมษายน 2567) ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา (สว.) มีการพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม ที่มีพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา แจ้งต้อที่ประชุมวุฒิสภาว่า เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ได้รับหนังสือขอความเป็นธรรม ลงชื่อ ศ.คลิกนิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มายังประธานวุฒิสภา และได้ส่งไปยังคณะกรรมาธิการฯ ต่อไปในวันนี้

ต่อมา นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร สว. ลุกขึ้นอภิปรายได้ ได้รับหนังสือดังกล่าวเช่นเดียวกัน ลงวันที่ 27 มีนาคม 2567  ซึ่งมีเพียง 2 แผ่นสั้น ๆ ดังนั้น จึงไม่อยากให้หลงทางผิด รายงานการศึกษาฯ ไม่ถูกต้อง ไม่มีพยานหลักฐาน เป็นเพียงข้อสรุปในรายงานผลการศึกษาฯเท่านั้น กำลังกล่าวหาว่า เป็นประธานแล้วปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นการสรุปกันลอย ๆ เวลากล่าวหาใครควรมีพยานหลักฐาน ผิดหรือถูก

“ไม่ยอมทำตามเสียงส่วนใหญ่ เอาสิทธิความเป็นประธานดำเนินการ ได้อ่านกฎหมายหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการตั้งคณะอนุฯเพื่อศึกษาว่า มีข้อกฎหมายที่ขัดกันอย่างไร เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานของกสทช.ล่าช้า เสียหาย แต่รายงานไปสรุปว่า ประธานกสทช.กระทำผิด ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ สรุปมา 6 ข้อ พร้อมกับส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ไปล้วงลูกหรือไม่ พูดลอย ๆ เขียนมาลอย แต่ไม่มีพยานหลักฐาน ผมไม่เคยรู้จักคนชื่อ สรณ ไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคยคุย แต่พอมารายงานฉบับนี้แล้ว ผมรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม”นายวิวรรธน์กล่าว

 

ประธาน กสทช.ร่อนหนังสือขอความเป็นธรรม พรเพชร ปม ตั้งเลขาธิการกสทช.

 

ประธาน กสทช.ร่อนหนังสือขอความเป็นธรรม พรเพชร ปม ตั้งเลขาธิการกสทช.

 

ประธาน กสทช.ร่อนหนังสือขอความเป็นธรรม พรเพชร ปม ตั้งเลขาธิการกสทช.

ประธาน กสทช.ร่อนหนังสือขอความเป็นธรรม พรเพชร ปม ตั้งเลขาธิการกสทช.

 

นายวิวรรธน์ อภิปรายสรุปว่า การที่กรรมการเสียงส่วนใหญ่และกรรมการเสียงส่วนน้อยไปใช้สิทธิทางศาลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง หรือ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นั้น ดำเนินการถูกต้องทุกอย่างแล้ว ในเมื่อกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้ใครตีความว่าถูกหรือผิด คนที่ตอบได้คือศาล คำพิพากษาถือว่าเป็นที่สุด ไม่ใช่ไปสรุปว่า ประธานกสทช. และ รักษาการเลขาธิการ กสทช.ผิด ไม่ถูกต้อง ขอให้รอคำสั่งศาลสรุปมาก่อน

พล.อ.อนันตพร ลุกขึ้นอภิปรายว่า นายวิวรรธน์ อภิปรายทำให้สับสน เพราะอภิปรายไม่ได้อยู่ในรายงานการศึกษาฯ แต่อ่านในหนังสือขอความเป็นธรรมที่ประธานกสทช.แนบมา ซึ่งไม่รู้ว่ามีนัยหรือไม่ ปัญหาคือความขัดแย้ง หรือ กฎหมายไม่ตรงกันการแต่งตั้งเลขาธิการกสทช. คือ ปฐมบทในการทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ ถ้าประธานกสทช.แต่งตั้งเลขาธิการ กสทช.ได้และทำงานได้ก็จบ ทำงานให้มีคุณภาพ บรรจุวาระ แก้ปัญหาบ้านเมืองที่รออยู่ ขอให้อภิปรายให้ตรงประเด็น

ล่าสุดที่ประชุม ส.ว.ได้ปิดประชุมรายงานในเวลาดังกล่าว โดยใช้เวลาประชุมกว่า 3 ชั่วโมง โดย นายสมชาย แสวงการ  และ นายวันชัย สอนศิริ เห็นด้วยกับการศึกษารายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม 

"กสทชไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่อิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ ทำไม สว.จะเข้ามาตรวจสอบไม่ได้"

นอกาจานี้ สว. สมชาย ยังบอกอีกว่า คณะอนุกรรมการ กสทช. มีเป็นร้อยคนอนุกรรมการฯประชุมแต่ละคร้งได้รับเบี้ยเลี้ยง 8,000 บาท ส่วน สว. ประชุมแต่ละครั้งได้เพียง 800 บาทบางคนอยู่หลายอนุฯ ได้เงินเป็นแสน ไม่รวมเบี้ยเดินทางเดินทางไปต่างประเทศได้นั่งเฟิร์สคลาส

ขณะที่ นายประพันธ์ คูณมี สว.ได้ตั้งข้อสังเกต และข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายร่วมกันขององค์กรกลุ่ม กสทซ.ถือเป็นองค์กรกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นตาบกฎหมายเฉพา โดยมีรูปแบบเป็นคณะกรรมการ ความสัมพันธ์ในการตัดสินใจ หรือการพิจารณาดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ในลักษณะของ "มติคณะกรรมการ" , ไม่ตัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่มีความเป็นอิสระของแต่ละบุคคล,หลักการสำคัญต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในกระบวนการคัดเลือกและเห็นชอบ คือโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ซัดเจน ชี้แจงได้อย่างมีเหตุผล ที่สำคัญต้องเกิดการมีส่วนร่วมของกรรมการเพื่อสร้างการยอมรับร่วมกัน