อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

18 พ.ค. 2565 | 07:57 น.

อว.-สวทช. ดันนักวิทยาศาสตร์ทีมเยาวชนไทย กวาด 10 รางวัล โครงงานวิทย์ฯ ‘ISEF2022’ ในสหรัฐฯ ตอกย้ำความสำเร็จพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สำหรับความสำเร็จนักวิทยาศาสตร์ทีมเยาวชนประเทศไทย กวาด 10 รางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ”Regeneron International Science and Engineering Fair (Regeneron ISEF) 2022ซึ่งเยาวชนไทยกวาดรางวัลระดับโลกมาถึง 10 รางวัล มูลค่ารวม66,000 เหรียญสหรัฐ จากการแข่งขันในรายการRegeneron ISEF2022จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา โดยปีนี้มีโครงงานเข้าร่วมประกวด 1,410 ผลงานจากนักเรียน 1,750 คน จาก 63 ประเทศและมลรัฐต่างๆ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

 

 ที่ผ่านมาสวทช. ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมและกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจและเพิ่มพูนทักษะทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ในระดับนักเรียนเพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามนโยบายของกระทรวง อว. โดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ผ่านการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition, YSC) ที่ สวทช. สนับสนุนตั้งแต่ปี 2542โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย6 มหาวิทยาลัยเครือข่ายที่ร่วมเป็นศูนย์ประสานงานภูมิภาคของโครงการฯ จัดประกวดโครงงานในสาขาวิชาต่างๆทั่วประเทศรวม 9 สาขา ให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 6 ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมให้สังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในครั้งล่าสุดโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC ครั้งที่ 24มีจำนวนข้อเสนอโครงงาน 1,269 โครงงาน นักเรียน 3,094 คน จาก 160 โรงเรียน และผ่านการเฟ้นหาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนภูมิภาค จนได้ผลงานรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคและผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 67 โครงงาน นักเรียน 164 คน จาก 47 โรงเรียน

 

 

“ในปีนี้ สวทช. และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์คัดเลือก16 ทีม 35 คน จากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 24 (Young Scientist Competition, YSC 2022) ดำเนินการโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และพันธมิตร ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และจากค่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ประจำปี 2564 (Thai Young Scientist Festival, TYSF 2022)ดำเนินการโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ร่วมกันส่งคณะเยาวชนไทยเข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ หรือRegeneron ISEF 2022ซึ่งถือเป็นเวทีที่มีความสำคัญด้านการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก เพื่อส่งเสริมความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีการจัดแข่งขันต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีมาถึง 72 ครั้ง”

 

 

ทั้งนี้ผลปรากฏว่าทีมเยาวชนไทยคว้ารางวัลใหญ่ คือGrand Awards อันดับ 1สาขาเวชศาสตร์ปริวรรต (Translational Medical Science)จากโครงงาน “เครื่องมือช่วยวินิจฉัยความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีจากการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับจากภาพถ่ายอุจาระและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินความเสี่ยงด้วยเทคโนโลยี AI” (BiDEx - A Bile Duct Cancer Analyzing Tool) จากทีม BiDEx จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ผู้พัฒนา นางสาวนภัสสร หลิดชิววงศ์ นายกฤษ ฐิติจำเริญพร และนายวัฒนพงษ์ อุทธโยธา โดยมี นายกัมพล กันทะแก้ว และ นางรุ่งกานต์ วังบุญ อาจารย์ที่ปรึกษาอีกทั้งยังได้รับรางวัลสำคัญอีก1รางวัลที่ยกย่องให้กับโครงงานสร้างสรรค์ที่มีผลกระทบสูงในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อไป รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1.7 ล้านบาท (The Gordon E. Moore Award for Positive Outcomes for Future Generations of $50,000) โดยผลงานดังกล่าวเป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศจากค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 17 ประจำปี 2564”

ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีรางวัล Grand Awards อันดับที่ 1 อีกหนึ่งผลงาน ในสาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศศาสตร์(Computational Biology and Bioinformatics)ได้แก่ โครงงาน “การทำนายความไวต่อยาด้วยเทคนิคผสมผสาน Graph Attention Networks เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาโรคมะเร็งด้วยการแพทย์แบบแม่นยำ โดยใช้โครงสร้างโมเลกุลยาร่วมกับข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์” ผู้พัฒนาได้แก่ นายภาวิต แก้วนุรัชดาสร นายณัฐวินทร์ แย้มประเสริฐ นายวุฒิพงศ์ จงเจริญสันติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จ.นครปฐม ซึ่งมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และนายบัณฑิต บุญยฤทธิ์ จากสถาบันวิทยสิริเมธี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และยังมีทีมเยาวชนไทยคว้ารางวัลGrand Awards อันดับต่างๆ อีก 5 รางวัล ประกอบด้วย อันดับที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth and Environmental Sciences) จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ โครงงานการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมแนวป่าชายเลนด้านในด้วยวัสดุปลูกลอยน้ำเลียนแบบลักษณะโครงสร้างของผลจิกทะเล ผู้พัฒนาได้แก่ นายจิรพนธ์ เส็งหนองเเบน และนายฐิติพงศ์ หลานเดช จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี โดยมีนายขุนทอง คล้ายทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

 

 

 อันดับที่ 3 สาขาสัตวศาสตร์ (Animal Sciences) จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ โครงงานการเพิ่มศักยภาพในการเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยแสงสีเพื่อลดอัตราการตายจากพฤติกรรมการสลัดขาทิ้ง ผู้พัฒนาได้แก่ นางสาวจรัสณัฐ วงษ์กำปั่น และนางสาวมาริสา อรรจนานนท์ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี โดยมีนายขุนทอง คล้ายทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

 

 อันดับที่ 4 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.โครงงานการพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบเชิงสีชนิดใหม่สำหรับไวรัสทั้งชนิด DNA และ RNA เพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคตอย่างครอบคลุม (Sawasdee-AMP) สาขาชีวการแพทย์และสุขภาพ (Biomedical and Health Sciences)ผู้พัฒนาได้แก่ นายกุลพัชร ชนานำ นางสาวปกิตตา เกรียงเกษม และนายคุณัชญ์ คงทอง จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ ดร.วันเสด็จ เจริญรัมย์ นักวิจัยไบโอเทค สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

 

อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

 2.โครงงานการแกว่งของลูกตุ้มที่มีกระแสลมรบกวน สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์(Physics and Astronomy)ผู้พัฒนาได้แก่ นายวิชยุตม์ นาคะศูนย์ จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช โดยมี นางซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ และรศ. ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3.โครงงานการพัฒนาเข็มระดับไมโครเพื่อการตรวจวัดแบบ non-invasive ของสารครีเอตินินในของเหลวระหว่างเซลล์สู่นวัตกรรมการประเมินโรคไตแบบพกพา” สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์(Biomedical Engineering)ผู้พัฒนาได้แก่ นายพีรทัตต์ ลาภณรงค์ชัย และ นายธนพัฒน์ รีชีวะ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ ดร.ธิติกร บุญคุ้ม นักวิจัยนาโนเทค สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ‘จิกทะเล’ ซิวสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากสมาคมวิทย์ฯเก่าแก่ที่สุดในโลก

อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

 

 นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษ (Special Award) 2 รางวัลประกอบด้วยโครงงานการพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบเชิงสีชนิดใหม่สำหรับไวรัสทั้งชนิด DNA และ RNA เพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคตอย่างครอบคลุม (Sawasdee-AMP)ผู้พัฒนาได้แก่ นายกุลพัชร ชนานำ นางสาวปกิตตา เกรียงเกษม และนายคุณัชญ์ คงทอง โดยมี ดุร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม และ ดร.วันเสด็จ เจริญรัมย์ จากไบโอเทค สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานดังกล่าวได้รับรางวัลที่ 1 สาขาการพัฒนาสุขภาพระดับโลก จาก USAID หรือ องค์การพัฒนาเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและ โครงงานการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมแนวป่าชายเลนด้านในด้วยวัสดุปลูกลอยน้ำเลียนแบบลักษณะโครงสร้างของผลจิกทะเล” ได้รางวัลจาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society สมาคมการวิจัยวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ผู้พัฒนาได้แก่ นายจิรพนธ์ เส็งหนองเเบน และนายฐิติพงศ์ หลานเดช จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี โดยมีนายขุนทอง คล้ายทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเป็นผลงานการวิจัยที่มีการบูรณาการวิทยาการจากหลากหลายสาขายอดเยี่ยม AI นับไข่พยาธิใบไม้ในตับ เพิ่มโอกาสพบมะเร็งระยะแรก

 

อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

รศ. ดร.บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการเครื่องมือช่วยวินิจฉัยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีจากการหาตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ในตับด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (BiDEx - A Bile Duct Cancer Analyzing Tool) ซึ่งได้รางวัลใหญ่ 1รางวัลมอบให้กับโครงงานสร้างสรรค์ที่มีผลกระทบสูงในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อไป จากทีม BiDEx เยาวชนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่นั้น ผลงานดังกล่าวใช้เว็บแอปพลิเคชัน BiDEx และเทคโนโลยี AI ในการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับแทนการใช้สายตามนุษย์ในภาพถ่ายอุจจาระจากกล้องจุลทรรศน์ และวิเคราะห์ความเสี่ยงการมีพยาธิใบไม้ตับซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ทำให้สามารถรู้ผลการตรวจได้เร็วขึ้น 83.33% ช่วยให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิเข้ารับการรักษาในระบบได้รวดเร็วและทันเวลา นำไปสู่การป้องกันและลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี

อว.-สวทช. ปลื้มทีมเยาวชนไทย คว้า 10 รางวัล พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์

 

 

 “ทั้งนี้ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนไทยทั้ง 16 ทีม ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในการแข่งขันโครงงานวิทย์ฯ ระดับโลกในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่หาไม่ได้ง่าย ๆ ในการแข่งขันในเวทีระดับโลก และขอแสดงความยินดีกับเยาวชนไทยทุกทีมที่ได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ หวังว่าเยาวชนทุกคนจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้จากการประกวดในครั้งนี้ ซึ่งหวังว่าโครงงานที่เยาวชนได้พัฒนาขึ้นจะถูกต่อยอดและถูกนำมาใช้งานจริงเพื่อพัฒนาประเทศของเราต่อไปในอนาคตซึ่งการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชนระดับโลก Regeneron ISEF 2022 ถือเป็นเวทีการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก การผนึกกำลังของสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวง อว. โดย สวทช. วช. และ อพวช. และภาคเอกชนโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ร่วมกันสนับสนุนผลงานของเด็กไทยให้ออกไปสู่สายตาระดับโลก และยังสามารถได้รับรางวัลมากกว่า 10 รางวัลในครั้งนี้