เอสเอพีประกาศกลยุทธ์‘คลาวด์ยืนหนึ่ง’หนุนทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

07 พ.ค. 2565 | 07:27 น.

เอสเอพี ประกาศแผนธุรกิจครั้งสำคัญ กับกลยุทธ์ ‘คลาวด์ยืนหนึ่ง’ ตอกยํ้าสถานะผู้นำบริการโซลูชั่นคลาวด์ เร่งหนุนองค์กรธุรกิจภาครัฐ ปรับกระบวนการทำงาน ยกเครื่องทางดิจิทัลบนระบบคลาวด์ ชี้แนวคิด ‘Intelligent, Sustainable Enterprise’ คือ วิถีใหม่ของการดำเนินธุรกิจ

นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า เปิดเผยว่า ผลพวงจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา เอสเอพี ประเทศไทย มองว่า มี 3 บทเรียนสำคัญที่ภาคธุรกิจควรนำเอามาเป็นหลักยึดในการทบทวนกลยุทธ์ รวมถึงเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงาน เมื่อต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงัก(Disruption) ทางธุรกิจ อันได้แก่ ความยืดหยุ่นในการทำงาน, ความต่อเนื่องทางธุรกิจและความยั่งยืน

 

โดยหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ประเทศไทยจะอยู่ในยุคทองของการทำ Digital Transformation และโซลูชั่นคลาวด์ คือ คำตอบของการพลิกโฉมธุรกิจ ซึ่งข้อมูลจาก  Gartner ได้คาดการณ์การใช้จ่ายด้านโซลูชั่นคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้งาน End-user ทั่วโลก ปี 2565 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20.4% คิดเป็น 494.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์ของไทยปีนี้ จะ เติบโตเพิ่มขึ้น 36.6% คิดเป็นมูลค่า 40.8 พันล้านบาท

เอสเอพีประกาศกลยุทธ์‘คลาวด์ยืนหนึ่ง’หนุนทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

“โควิดเป็นตัวเร่งให้ภาคธุรกิจ ตลอดจนภาครัฐ หันมาให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation และการใช้งานโซลูชั่นบนระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อปูทางสู่ความยั่งยืน รวมถึงยกระดับการทำงานท่ามกลางความไม่แน่นอน องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องมองหาระบบ ERP บนคลาวด์ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจแบบ end-to-end สามารถวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ และวางแผนรับมือได้ทันท่วงที”

 

ปัจจุบัน ธุรกิจยังสามารถย้ายการใช้งานไปยังระบบคลาวด์ได้ง่าย พร้อมความสามารถในการปรับขนาดตามการใช้งาน เพื่อลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) สำหรับก้าวต่อไปในการเดินหน้ากลยุทธ์ ‘คลาวด์ยืนหนึ่ง’ (Cloud Only Strategy) นี้ จะผลักดันให้อัตราการเติบโตบริการโซลูชั่นบนระบบคลาวด์เฉลี่ยต่อปีแบบทบต้นของเอสเอพี ประเทศไทย สู่ 51% ภายในปี 2568”

 

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประเทศในการ เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น พร้อมกันนี้ บริษัทต่างๆ ในประเทศ ไทยควรปรับกระบวนทัศน์การทำธุรกิจจากเศรษฐกิจแบบเส้นตรง(Linear Economy) ซึ่งผลิตของเสียมากกว่า 91% ผ่านการผลิตแบบดั้งเดิม มาเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยวิธีการที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และลดของเสียให้น้อยที่สุด

ด้านนางสาวกุลวิภา ประดิษฐผลเลิศ ผู้อำนวยการธุรกิจทั่วไป เอสเอพี อินโดไชน่ากล่าวว่า “เอสเอพี มีความเชี่ยวชาญในการใช้ประโยชน์จากเรียลไทม์ดาต้า ผสานเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้องค์กรมองไปข้างหน้าและสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาความยั่งยืน ที่ผ่านมาเอสเอพีสนับสนุนลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจสุขภาพ, เคมีภัณฑ์ และ อี-คอมเมิร์ซ ผนวกโซลูชั่นครอบคลุมตั้งแต่งานด้านซัพพลายเชน, ระบบ จัดซื้อ, บริหารทรัพยากรบุคคล ไปจนถึง โซลูชั่นบริหารประสบการณ์ลูกค้า ล่าสุด เอสเอพี ประเทศไทย ยังได้ร่วมมือกับ South City Group เริ่มใช้งานโซลูชั่น RISE with  SAP ที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน”

 

เอสเอพี มุ่งมั่นช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับ ปรุงชีวิตของผู้คน จึงดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้วยแนวทาง “Chasing Zero” ได้แก่ การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์, การสร้างของเสียเป็นศูนย์ และ ผลักดันความไม่เท่าเทียมกันเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ยังได้เดินหน้าเสริมศักยภาพเยาวชนผ่านโครงการมากมาย ทั้งการร่วมกับมูลนิธิอาเซียน จัดการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers ติดอาวุธทางดิจิทัลและทักษะที่จำเป็น ให้แก่เยาวชนในอาเซียนมากกว่า 32,000 คน รวมถึง โครงการ SAP University Alliances นำโซลูชั่นของเอสเอพี ไปใช้ในหลักสูตรผ่านเครือข่ายสถาบันการศึกษามากกว่า 80 แห่งทั่วอาเซียน

 

การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านคลาวด์เทคโนโลยีนั้น ถือเป็นพันธกิจสำคัญของเอสเอพีในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนทางธุรกิจตลอดจนความต้องการของลูกค้า ก่อนหน้านี้ กลุ่มธุรกิจ Mid Market และ SMEs อาจมีข้อเสียเปรียบในการเข้าถึงระบบเทคโนโลยีได้น้อยกว่าองค์กรขนาดใหญ่ และเผชิญความท้าทายด้านความผันผวนของแรงงานอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโซลูชั่นคลาวด์ของเอสเอพี มีส่วนเปิดกว้างให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียมองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยทางเลือกบริการแบบ Subscription และการลงทุนที่น้อยกว่า

 

จากผลการศึกษาล่าสุดของเอสเอพี ในหัวข้อ “Transforma  tional Talent: The impact of the Great Resignation on Digital Transformation in APJ’s SMEs” เจาะลึก SMEs ไทยพบ 68% มองว่า พาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีที่สามารถช่วยในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดย 66% ของ SMEs ไทย ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นดำเนินงานกับพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีได้อย่างไร

 

การศึกษานี้เผยให้เห็นว่า กลุ่มพนักงาน และเทคโนโลยี จะกลายเป็นหัวใจหลักขับเคลื่อน SMEs นอกเหนือไปจากความยืดหยุ่นในการทำงานการปรับตัวทางดิจิทัลจะทำให้ SMEs สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ดำเนินงานได้ฉับไว เมื่อวางกลยุทธ์ที่ใช่ ผสาน Mindset ที่เปิดกว้าง และเลือกพันธมิตรทางธุรกิจรวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะช่วยให้ SMEs ไทยเดินหน้าต่อไปได้

 

ด้านนายนพดล เจริญทอง ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจตลาดขนาดกลาง(Mid Market) เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “เอสเอพีมีพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีมากกว่า 70 รายที่คอยให้คำแนะนำและช่วยในการดำเนินงานตลอดจนติดตั้งระบบของ เอสเอพี ที่สำคัญลูกค้ากว่า 80% ของเอสเอพีทั่วโลกเป็นกลุ่ม SMEs แน่นอนว่า ในประเทศไทยเราได้ดำเนินงานช่วยเหลือลูกค้ากลุ่ม SMEs ให้เริ่มต้นเส้นทาง การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสู่การเป็น Intelligent, Sustai nable Enterprise อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต”