การีน่า นำ “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลก

29 เม.ย. 2562 | 09:11 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

การีน่าร่วมประยุกต์ดิจิตัลคอนเทนต์สู่ทางสายใหม่นำ “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลก ผ่านชุดตัวละคร ‘Sacred Sentinel Arum’ ผู้ชนะจากโครงการแข่งขัน ‘amazing RoV Design Contest’  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ททท.

การีน่า นำ “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลก

นายกฤตย์ พัฒนเตชะ หัวหน้าผู้บริหาร บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์รายใหญ่  เปิดเผยว่าการีน่า  ประยุกต์ดิจิทัลคอนเทนต์สู่ทางสายใหม่เพื่อการสื่อสาร “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลกผ่านชุดตัวละคร หรือ สกิน (skin)  ‘Sacred Sentinel Arum’ ผู้ชนะจากการแข่งขัน ‘amazing RoV Design Contest’ ในหัวข้อ ‘RoV ท่องเที่ยวไทย’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  โดยสกิน ‘Sacred Sentinel Arum’ เปิดให้เกมเมอร์ในประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าบนเกม ‘RoV’ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา 

 

“สกิน Sacred Sentinel Arum ผู้ชนะจากการแข่งขัน amazing RoV Design Contest สะท้อนให้เห็นถึงความเติบโตและความซับซ้อนของอุตสาหกรรมเกมที่ก้าวมาไกลเกินกว่าแค่ “เกม” แต่กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดเติบโตสูง สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและอาชีพใหม่ๆ ที่น่าสนใจในยุคดิจิทัล เช่น นักออกแบบชุดและตัวละครในเกม ที่สำคัญยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเกมในการเป็นดิจิทัลคอนเทนต์ที่สามารถสื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทย ความน่าสนใจของประเทศไทย  ออกไปยังคอมมูลนิตี้เกมเมอร์อื่นๆ จากทั่วโลก การีนามุ่งมั่นผลักดันให้เกมกลายเป็นสื่อที่ช่วยประชาสัมพันธ์ความเป็นไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะผ่านโครงการแข่งขัน amazing RoV Design Contest ผ่านกิจกรรมจากบูท ททท.ภายในงาน Garena World 2019 ที่ผ่านมา ไปจนถึงการหยิบเอาเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยมาใช้บนเกมจากการีนา เช่น เกม Free Fire นำ

 

 

การีน่า นำ “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลก

 

โครงการแข่งขัน ‘amazing RoV Design Contest’ จัดขึ้นเพื่อเป็นการประยุกต์นำเอาดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)  หรือ สื่อสารสนเทศที่มีรูปแบบเป็นดิจิทัล อาทิ คอนเทนต์บนเกม  ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เข้าถึงคนได้ง่ายและทั่วถึง มาประชาสัมพันธ์ด้าน   อัตลักษณ์ความเป็นไทย รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ผ่านมุมมองและรูปแบบ “สื่อ” ใหม่ จากตัวละครในเกม ‘RoV’  ที่ได้รับความนิยมจากเกมเมอร์ทั่วโลก สำหรับสกิน ‘Sacred Sentinel Arum’ นอกจากจะได้รับตำแหน่งผู้ชนะแล้ว  ผลงานการออกแบบสกินยังได้ถูกนำไปพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในตัวเกมจริงและเปิดให้ผู้เล่นเกม ‘RoV’ ทั่วโลกมีโอกาสได้เลือกใช้ชุดของตัวละคร    โดยสกิน ‘Sacred Sentinel Arum’ เปิดให้เกมเมอร์ในประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าบนเกม ‘RoV’ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา 

  การีน่า นำ “ความเป็นไทย” สู่เกมเมอร์ทั่วโลก

การประยุกต์ใช้สกินบนเกม ‘RoV’ เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในเชิงท่องเที่ยวในโครงการ ‘amazing RoV Design Contest’ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของดิจิทัลคอนเทนต์อย่างเกมที่มีบทบาทในฐานะสื่อของคนยุคใหม่มากขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ที่มีต่อประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยผลสำรวจมูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์ของปี 2560 ในประเทศไทย ครอบคลุมสามสาขาหลักได้แก่ อุตสาหกรรมแอนิเมชัน อุตสาหกรรมเกม และอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ โดยผลสำรวจระบุทั้งสามอุตสาหกรรมมีมูลค่ารวมกันประมาณ 25,040ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่ารวมของอุตสาหกรรมแอนิเมชัน จำนวน 3,799 ล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์มีมูลค่ารวม 1,960  ล้านบาท และอุตสาหกรรมเกมมีมูลค่ารวมที่ 19,281 ล้านบาท

 

อุตสาหกรรมเกมของประเทศไทยในปี 2562 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Newzoo ประเมินว่าประเทศไทยมีรายได้มากที่สุดเป็นอันดับ 19 ของโลก ที่ 667 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 21,344ล้านบาท พร้อมจำนวนเกมเมอร์และแฟนเกมมากถึง 18.3 ล้านคน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ยังคาดว่า อุตสาหกรรมเกมจะโตขึ้นราว 12% ต่อปี  ปัจจัยเติบโตส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัลและด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมดิจิททัลคอนเทนต์  อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ขับเคลื่อนโครงการเศรษฐกิจ สู่การสร้างมูลค่าทางการค้าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ตามแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) โดย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า ‘โภคภัณฑ์’ ไปสู่สินค้าเชิง ‘นวัตกรรม’และ เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม

รถตุ๊กตุ๊กของไทยอยู่ภายในตัวเกม ดิจิทัลคอนเทนต์บนตัวเกมเหล่านี้ นอกจากจะสร้างสีสันและความบันเทิงแล้ว ยังกลายเป็นอีกช่องทางในการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ไปจนถึงเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่คนรุ่นใหม่ทั่วโลก เราอาจจะได้เห็นบทบาทเกมในฐานะ “สื่อ” ของคนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เชิงการท่องเที่ยว ในอนาคตต่อไป” นายกฤตย์กล่าวสรุป