'สุภิญญา' ค้านออก ม.44 ยืดค่างวดคลื่น 900 ชี้! เป็นตราบาป

26 ก.พ. 2562 | 09:42 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

'สุภิญญา' ออกโรงค้าน คสช. ออก ม.44 ยืดค่างวดคลื่น 900 ชี้! เป็นตราบาป ด้าน ประธานทีดีอาร์ไอเตรียมเขียนบทความคัดค้าน

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. แสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์ (@supinya) ต่อกรณีที่มีกระแสข่าว ว่า ครม. เตรียมใช้ ม.44 เพื่อยืดชำระค่างวดคลื่น 900 ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู และบริษัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่า ถ้าแน่จริงก็ใช้กฎหมายปรกติค่ะ แล้วรับผิดชอบกับการใช้อำนาจนี้เหมือนคนอื่น ๆ ด้วย ถ้าเคยวิจารณ์คนอื่นเรื่องการเอื้อประโยชน์เชิงนโยบายต่อกลุ่มทุนมั่งคั่งก็ขอให้ตั้งสติครั้งนี้ให้มากที่สุด ก่อนจะตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษช่วงโค้งสุดท้าย


090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503

เรื่องที่น่าผิดหวังของ กสทช. มีมาก แต่เรื่องที่จะเป็นตราบาป คือ การช่วยเอกชนด้านโทรคมนาคมจนเกินงามแบบนี้ ทำให้สังคมคิดว่า แล้วในระบบใบอนุญาตที่แข่งขันเสรีจะต่างอะไรกับระบบสัมปทานแบบอำนาจนิยมอุปถัมภ์ทุนนิยมอภิสิทธิ์แบบเดิม จะเป็นภาพจำ กสทช. ไปนานว่า คุณคงไม่ใช่ Regulator แล้ว ถ้าค่ายมือถือ 3 เจ้าเดิม ไม่มีเงินประมูลคลื่น แนวทางสากล คือ เปิดให้รายใหม่ ๆ มาประมูลตามหลักแข่งขันเสรีเป็นธรรมใช่ไหม ทำไมจะต้องผูกขาดเป็น 3 เจ้าชั่วฟ้าดินสลาย หน้าที่ Regulator ถ้าแก้โจทย์นี้ไม่ได้ ก็ไม่ใช่ต้องไปเอื้อเอกชนมากขนาดนี้ คสช. ก็ต้องตั้งหลักให้ดี ว่า คุณจะใช้อำนาจเพื่อใคร การจะใช้ ม.44 ช่วยยืดเวลาจ่ายค่าประมูลคลื่นมือถือที่เคาะชนะกันมาแล้วตามกติกา ซึ่งเอกชนรับร่วมกัน ก็ไม่ต่างจากการออกกฎหมายแปลงสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมในอดีต แต่การใช้อำนาจพิเศษเอื้อเอกชนจะยิ่งกว่าระบบ 'อุปถัมภ์และอภิสิทธิ์' เพราะตรวจสอบไม่ได้ตามหลัก Rule of Law

สำหรับค่างวดประมูลคลื่น 900 งวดสุดท้ายที่ต้องชำระในเดือน มี.ค. 2563 โดยเอไอเอสต้องจ่าย 59,574 ล้านบาท และทรู จำนวน 60,218 ล้านบาท โดยทั้ง 2 ราย ยื่นหนังสือขอขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตออกไป 7 งวด (7 ปี) สำหรับดีแทค งวดสุดท้ายที่ต้องชำระ 30,024 ล้านบาท ขอขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตออกไป 15 งวด (15 ปี)

ขณะที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า คืนนี้หรืออย่างช้าพรุ่งนี้จะเขียนบทความสั้น ๆ ลงเฟซบุ๊ก

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว