‘ITEL’ บริษัทเล็ก ที่ไม่ธรรมดา คว้าโปรเจ็กต์อินเตอร์เน็ต กสทช.

10 ก.พ. 2562 | 13:35 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ในบรรดาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้างระบบโทรคมนาคม หรือ SI (System Integrated) กลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่น และ บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AIT เป็นแบรนด์ที่ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ที่คว้าโปรเจ็กต์ของหน่วยงานภาครัฐ ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ,การไฟฟ้านครหลวง และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เป็นต้น

หากแต่ชั่วโมงนี้ชื่อชั้นของ ITEL หรือ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) กำลังถูกกล่าวขาน แม้จะเป็นบริษัทขนาดกลาง แตกหน่อมาจาก ILINK หรือ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี นายสมบัติ อนันตรัมพร ผู้ก่อตั้งและผู้ควํ่าหวอดในวงการเคเบิลใยแก้วนำแสง มอบหมายให้บุตรชายคนเดียวในจำนวน 4 คน คือ นายณัฐนัย อนันตรัมพร นั่งหัวโต๊ะเป็นกรรมการผู้จัดการจัดได้ว่าเป็นผู้บริหารที่อายุน้อยที่สุด ในการนำธุรกิจของตัวเอง เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

[caption id="attachment_386157" align="aligncenter" width="335"] ณัฐนัย อนันตรัมพร ณัฐนัย อนันตรัมพร[/caption]

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายณัฐนัย อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการ ของ ITEL เกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ธุรกิจ

นายณัฐนัย บอกกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เหตุผลที่ได้รับงานจาก กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ) เป็นเพราะประเทศ ไทยเน้นเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคม นาคม ปัจจุบันบริษัทได้ให้บริการประเภทนี้อยู่แล้ว (การติดตั้งโครงข่ายระบบสื่อสาร) อีกทั้ง กสทช. มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการเชื่อมต่อให้กับประชาชนพื้นที่ห่างไกลพอดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของบริษัท คือ “นำเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศ” ทำให้บริษัทผลักดันเรื่องนี้เป็นอย่างมากและยังมีโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศอยู่เป็นทุนเดิมทำให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านราคาและความพร้อมในโครงการดังกล่าวได้

TP10-3442-A
กับคำกล่าวจิ๋วแต่แจ๋ว

อาจจะใช้คำว่าถูกที่ถูกเวลามากกว่า จริงๆ แล้วแนวทางบริษัทคือเลือกที่จะพัฒนาสิ่งที่เรามีอยู่และต่อยอดให้ได้มากที่สุด ซึ่งกสทช.เป็นหนึ่งในโครง การที่บริษัทภูมิใจ และยังมีอีกหลายโครงการที่บริษัทภูมิใจ อาทิ เช่น การให้เช่าโครงข่าย กับผู้ให้บริการมือถือ และอินเตอร์เน็ตหลายๆ รายในประเทศไทย และให้บริการได้อย่างดี อาทิ ช่วงพายุปาบึกทางภาคใต้ บริษัทได้เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้ระบบเดินหน้าต่อได้
เน้นกลุ่มธนาคาร

สำหรับในปีนี้งานโครงการต่างๆ จะทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่ที่เน้นมากในปัจจุบัน คือกลุ่มธนาคารและรีเทล เพราะเป็น กลุ่มที่มีสาขาอยู่เยอะทำให้สามารถต่อยอดในบริการหลายๆ อย่างได้ เรียกได้ว่าเน้นเรื่องของการทำในลักษณะ “Pay per Use” (จ่ายเท่าที่ใช้จริง) มากขึ้น
เน้นบริการและผสานไฮเทค

ในส่วนของการวางตำแหน่ง ITEL ได้วางยุทธศาสตร์เป็นองค์กรที่นำเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศโดยเน้นหนักและให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนไปและมีความครอบคลุมทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีการให้บริการเชื่อมต่อกับลูกค้าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ปัจจุบันคงจะเห็นการให้บริการที่ต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานเดิมมากขึ้น โพสิชันที่วางไว้คงเน้นเรื่องการพัฒนาบริการและผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าด้วยกันโดยจะต้องเน้นการตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Disruption) และเน้นบริการที่เป็นลักษณะ Win Win ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ พัฒนาบริษัทสู่ความยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ

สัมภาษณ์

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3443 ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว