กสทช. เตรียมนำคลื่น 1800 ประมูลปี 62 หลัง 'ดีแทค' คว้าคลื่น 900

28 ต.ค. 2561 | 07:18 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กสทช
พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้ให้มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz ปรากฏว่า มีโอเปอเรเตอร์เข้าร่วมเพียงรายเดียว คือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ซึ่งการประมูลรอบแรกนั้นเริ่มต้นในเวลา 09.45 น. และสิ้นสุดในเวลา 10.40 น. โดยมีรอบการประมูลจำนวน 3 รอบ ใช้เวลาทั้งสิ้น 55 นาที ผลปรากฎว่า ดีแทค ไตรเน็ต เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยจำนวนเงิน 38,064 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ คณะกรรมการ กสทช. จะมีการประชุมเพื่อรับรองผลการประมูลภายใน 7 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดการประมูล

ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ทั้งนี้ ชุดคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเป็นคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (890-895/ 935-940 MHz) จำนวน 1 ชุด ขนาด 2x5 MHz อายุใบอนุญาต 15 ปี ด้วยราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท เคาะราคาขั้นละ 76 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 38,064 ล้านบาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อีก 2,664.48 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 40,728.48 ล้านบาท โดย ดีแทค ไตรเน็ต ต้องนำเงินมาชำระค่าประมูลคลื่นงวดที่ 1 ภายในเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุม กสทช. มีมติรับรองผลการประมูล เป็นจำนวนเงิน 4,020 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็น 281.4 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นที่ต้องชำระในงวดที่ 1 คือ 4,301.4 ล้านบาท ภายในเวลา 90 วัน สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในครั้งนี้ แบ่งการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ออกเป็น 4 งวด โดยงวดที่ 1 ชำระ 4,020 ล้านบาท งวดที่ 2-3 ชำระ 2,010 ล้านบาท และงวดที่ 4 ชำระเงินในส่วนที่เหลือทั้งหมด

ทั้งนี้ คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่เหลืออยู่ 7 ใบอนุญาต จำนวน 35 MHz นั้น จะนำมาจัดการประมูลอีกครั้งในปี 2562 โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์การขยายงวดการชำระเงิน จากการชำระ 3 งวด เป็นระยะเวลา 4 ปี ปรับเป็น 8-10 ปี เพื่อจูงใจให้ผู้ให้บริการร่วมเข้าประมูลในครั้งต่อไป ซึ่งยังคงยืนยันราคาตั้งต้นเดิม และไม่สามารถปรับลดราคาลงได้ ขณะที่ คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz นั้น อยู่ในกระบวนการเรียกคืนคลื่นความถี่


กสทช2

นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า จากการที่ดีแทคได้คลื่น 900 MHz ในการประมูลล่าสุด ทำให้ดีแทคมีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม ทั้งย่านคลื่นความถี่ต่ำ (Low-Band Spectrum) และคลื่นย่านความถี่สูง (High-Band Spectrum) จากการถือครองใบอนุญาต 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz และให้บริการโรมมิ่งบนคลื่น 2300 MHz ของทีโอทีที่ดีแทคเป็นพันธมิตร ทำให้ดีแทคมีคลื่นความถี่ที่ให้บริการทั้งหมด 110 MHz

อย่างไรก็ตาม การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดระยะเวลาคำสั่งของศาลปกครองกลางที่คุ้มครองการใช้งานของลูกค้าดีแทคบนคลื่นความถี่ 850 MHz จากที่กำหนดให้ใช้งานหลังสิ้นสุดสัมปทานได้ถึง 15 ธ.ค. นี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ของ กสทช. ที่ให้ผู้ชนะประมูลสามารถใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz แทนคลื่น 900 MHz ต่อไปได้ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก