ไซเบอร์ อีลีท ชิงเค้ก ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล.

15 ส.ค. 2565 | 05:08 น.

ไซเบอร์ อีลีท ไล่ชิงเค้กตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล้าน ชูบริการบริหารจัดการภัยคุก คามทางไซเบอร์ครบวงจร ปั้มรายได้ปีนี้ 400 ล้านบาท ล่าสุดผนึกไอบีเอ็ม ยกระดับศูนย์ CSOC เฝ้าระวังภัยไซเบอร์ ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น

นายศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา เปิดเผยว่า ตลาดระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปีนี้จะมีมูลค่ารวมประมาณ 12,000 ล้านบาท เติบโตในอัตรา 10% ในขณะที่ตลาดงานบริการ Managed Security Service มีการเติบโตในอัตราประมาณ 10-15%

ไซเบอร์ อีลีท ชิงเค้ก ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล.

ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายมีรายได้ปีนี้จากบริการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์แบบครบวงจร หรือ Cyber Security Operations Center (CSOC) ไว้ที่ 150 ล้านบาท และคาดว่าภายในปีนี้บริษัทจะมีรายได้รวมจากบริการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งหมด 350-400 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งภาคการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม ภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรภายใต้กำกับของหน่วยงานกำกับต่างๆ และเอสเอ็มอี

“ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทฯ มีอัตราการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยมีอัตราการเติบโต 434% เทียบกับปีที่ผ่านมา มีโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว 47 โครงการ เฉลี่ยเดือนละ 7 โครงการ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการดีลกับลูกค้า 250 โครง การ มูลค่าโครงการในพอร์ท มูลค่า 900 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการให้บริการด้านโซลูชันไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และ Security Advisory ในขณะที่มีดำเนินการยกระดับบริการ Managed Security Services ให้สอดคล้องกับบริบทในการดำเนินธุรกิจ”

ไซเบอร์ อีลีท ชิงเค้ก ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล.

สำหรับทิศทางในครึ่งปีหลังของปี 2565 ของไซเบอร์ อีลีท จะมุ่งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองขึ้นมา ภายใต้งบประมาณราว 30-50 ล้านบาท พร้อมทั้งดำเนินการสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มการให้บริการป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่องค์กรระดับ SMB ถึงองค์กรระดับ Enterprise ครอบคลุมธุรกิจภาคการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม ภาครัฐ รวมทั้งองค์กรที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

กลยุทธ์หลักของไซเบอร์ อีลีท สำหรับการสร้างธุรกิจด้าน Managed Security Services คือ “Managed everything with forward-looking cyber risk awareness” โดยที่มุ่งเป้าไปที่การสร้างบริการที่หลากหลายและแตกต่างที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเห็นความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ภายในองค์กรได้ก่อนที่เหตุจะเกิด เพื่อที่จะสามารถวางแผนป้องกันได้ล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์นี้คือ ข้อมูลที่มีคุณภาพ บุคลากรที่มีความสามารถ และที่ขาดไม่ได้คือ เทคโนโลยีชั้นนำที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคาม รวมทั้งช่วยลดเวลาในการเผชิญเหตุทางไซเบอร์ได้

ไซเบอร์ อีลีท ชิงเค้ก ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล.

โดยล่าสุดไซเบอร์ อีลีท ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตร พร้อมนำเทคโนโลยีระดับโลกของไอบีเอ็มเข้ายกระดับการให้บริการศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคาม เป็นศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์แบบครบวงจร เพื่อช่วยองค์กรเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ตรวจจับการโจมตีได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่องค์กรด้วยเทคโนโลยีชั้นนำจากไอบีเอ็ม

 

ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างไซเบอร์ อีลีท และ ไอบีเอ็ม ในครั้งนี้จะผสานความแข็งแกร่งระหว่างกันให้ดูแลป้องกันภัยคุกคามให้กับลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยจุดเด่น ของไซเบอร์ อีลีท มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจบริบทด้านการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ขององค์กร รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัยเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กร ขณะที่ไอบีเอ็มเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก

ไซเบอร์ อีลีท ชิงเค้ก ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.2 หมื่นล.

 “ความร่วมมือระหว่าง ไซเบอร์ อีลีท กับไอบีเอ็มในครั้งนี้เป็นการยกระดับเทคโนโลยี Threat Intelligence จากภายนอกเข้าไปเพื่อเสริมความสามารถในการรับรู้เทรนด์ของภัยคุกคามล่าสุด เพื่อให้ระบบตรวจจับและตอบสนอง ต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น และใช้คนลดลง กว่าเดิม 50% โดยขณะนี้ในธุรกิจบริการไซเบอร์ซิเคียวริตี้นั้นประสบปัญหาการขาดบุคลากร”

 

นายศุภกร กล่าวต่อไปอีกว่า ความท้าทายของตลาดบริการ SOC คือเรื่องคน นอกจากคนคือการมีผู้ให้บริการต่างประเทศเข้ามามากขึ้น แต่บริษัทต่างชาติจะให้บริการต่างจากบริษัทคนไทย โดยเฉพาะการขอรายงานเพิ่มจากมาตรฐานโลก ที่ไม่ต้องตามความต้องการธุรกิจไทย หากมีการปรับให้ตรงตามธุรกิจไทยอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือมีบางกรณีที่บริการของบริษัทต่างชาติไม่เข้า กับองค์กรไทย”