นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยว่า ในปี 2567 WHA มีภารกิจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายที่จะเป็น Technology Company เต็มตัว ด้วยกลยุทธ์ AI Transformation ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ยกระดับการดำเนินงานด้วยข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ โดยนำ 4 กลยุทธ์สำคัญมาใช้
ประกอบด้วย Extend Leadership เร่งขยายธุรกิจต่อเนื่องทั้งในประเทศและตลาดภูมิภาค, Embrace Innovation and Technology นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็น New S-curve ให้กับองค์กร, Enhance the Prominence on Green and Sustainability เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในปี 2593 (Net-Zero 2050) และ Build High-Performance Organization ด้วยการพัฒนายกระดับด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง เพื่อนำมาใช้ในการขับเคลื่อนทั้ง 4 ธุรกิจหลักของ WHA ที่ประกอบด้วย Logistics< Industrial Development, Utilities&Power และ Digital
ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปี ( 2567-2571) WHA ได้จัดสรรงบลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 78,700 ล้านบาท เพื่อผลักดันรายได้รวมสู่ระดับ 1 แสนล้านบาท ซึ่งการจะเดินไปสู่ทิศทางดังกล่าวได้ นอกจากนำเทคโนโลยี ดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาผนวกกันแล้ว ยังเดินหน้าภายใต้กลไกความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2593 (100% Circularity by 2050) ผ่านการดำเนินงานภายใต้ 3 หลักการ ได้แก่ Design & Resource, Green Products และ Operation Excellence ตั้งแต่กระบวนการ ทั้งการหาวัตถุดิบ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การปรับรูปแบบและสร้างโซลูชั่น ที่มาพร้อมกับแนวคิดที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ใช้ได้อย่างคุ้มค่า เต็มศักยภาพมากขึ้น รวมถึงสามารถนำมารีไซเคิลหรือปรับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลับมาใช้ได้อีก
ขณะเดียวกัน WHA ได้จัดทำ Circular Economy ภายใต้ Mission to the Sun 3 โครงการ ได้แก่ 1.WHA Circular Innovation เป็นการวางมาสเตอร์แพลนและแลนด์สเคป ไปสู่เรื่องของการ Circular Initiatives ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด โปรดักส์ใช้ได้นานขึ้นใช้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำย้อนกลับไปผลิตออกมาใหม่ได้อีก โดยในปีที่ผ่านมา มีมากกว่า 40 Initiatives เช่น การลดขยะ การำวัตถุดิบที่เหลือใช้มาสร้างใหม่ รถยนต์บางส่วนปรับไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า มีการใช้นํ้า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจที่เป็นสีเขียวมากขึ้น
2.Waste Management มุ่งลดขยะไปหลุมฝังกลบ จากนิคมอุตสาหกรรมที่ในปีหนึ่ง ๆ มีมากถึงกว่า 4.7 แสนตัน และเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี และในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามา เช่น รถอีวี ไฮเทค ขยะรูปแบบใหม่ก็เกิดขึ้นอีก WHA จึงพันาแพลทฟอร์มขึ้นเพื่อแมทช์ผู้ใช้ขยะ เข้ากับขยะแต่ละประเภท แพลทฟอร์มนี้จะเชื่อมต่อตั้งแต่การเกิดขยะ ผู้ใช้ขยะ ช่วยให้พวกเขาสามารถแลกเปลี่ยนขยะกันได้ ซึ่งจะนำแพลทฟอร์มดังกล่าวมาใช้เร็ว ๆ นี้
3.WHA Emission Trading ทำเรื่อง carbon credit trading platform ที่ขณะนี้รอภาครัฐตรวจสอบอนุมัติการใช้งาน แพลทฟอร์มนี้จะมีทั้งการลงทะเบียนและการยืนยัน การจับคู่ การโอน การซื้อขาย การเรียกเก็บเงินและการชำระบัญชี การไถ่ถอน
โครงการเหล่านี้จะขยายผลและทำต่อยอดได้เรื่อย ๆ ซึ่งขณะนี้ WHA ได้ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) แล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.2021 และก่อนที่จะเดินหน้าสู่เป้าหมาน Net Zero 2050 บริษัทฯ มีเป้าหมายกับการลดกาซเรือนกระจก ในสโคป 1 และ 2 ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2030 ในเรื่องของการใช้พลังงานทั้งนํ้ามัน และไฟฟ้าของกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีโครงการ Green Logistics เพื่อเร่งการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี ในภาคขนส่งของประเทศ ซึ่งกลุ่ม WHA จะให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จ และพัฒนาแอพพลิเคชั่น ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการยานยนต์ไฟฟ้ารวมถึงแบตเตอรี่ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีลูกค้าเซ็นสัญญาเช่าซื้อยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว 25 คัน และตั้งเป้าเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 1,000 คันในปี 2567 ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 14,400 ตันคาร์บอนต่อปี โดยมีแผนจะขยายสถานีชาร์จรถ EV 100 สถานี
นอกจากนี้ ยังติดตั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งใช้เทคโนโลยี เอไอ เข้ามช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้ลดต้นทุน และเกิดประสิทธิผลตามเป้า
ทั้งนี้ WHA ตั้งเป้าในปี ค.ศ.2040 พยายามจะลดความเข้มในการปล่อยคาร์บอน( Intensity reduction) ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงลง จากการลงทุนโรงไฟฟ้า ที่ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าสะสมที่ลงนามแล้วเป็น 1,000 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นในส่วนของพลังงานหมุนเวียน 453 เมกะวัตต์ โดยเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 283 เมกะวัตต์
“ในปี 2566 ที่ผ่านมาบริษัทเซ็นสัญญาโครงการโซลาร์รูฟท็อปเพิ่ม 42 สัญญา หรือปริมาณรวม 50 เมกะวัตต์ และยังได้สิทธิเป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 จำนวน 5โครงการ มีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นรวม 125.4 เมกะวัตต์
อีกทั้ง จะพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันพลังงาน ได้แก่ สถานีชาร์จรถ EV แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (Peer-to-Peer Energy Trading) และการซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (I-REC) รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจ New S-Curve เช่น ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ และเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utlization and Storage :CCUS) เป็นต้น
ส่วนของการใช้นํ้าการรีไซเคิลนํ้า ลดการใช้นํ้าจากระบบ ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าลด 8.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เท่ากับประหยัดค่านํ้าได้ 96 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นจำนวนผู้ใช้นํ้า 2.2 แสนคน