ผู้ว่าททท. ชูท่องเที่ยวยั่งยืนเคลื่อนไทยสู่ preferred destination

05 ก.ย. 2566 | 10:22 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ก.ย. 2566 | 15:01 น.

ผู้ว่าททท.ป้ายแดง “ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” สปีดเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขึ้นแท่น “Preferred destination” สมบูรณ์ เน้นสร้าง meaning full relationship เจาะนักท่องเที่ยวรักษ์โลกควบคุมเซ็ทมาตรฐาน STGs คุมธุรกิจท่องเที่ยว

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บนเวทีสัมมนา Road To NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ Session : Tourism Sustainable ว่า ปัจจุบันสปอร์ตไลท์กำลังฉายมาที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวหลังจากนี้จะโฟกัสใน 4 ประเด็นคือ

1. การสร้างพันธมิตรทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว 

2 โลกดิจิตอลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ผู้ว่าททท. ชูท่องเที่ยวยั่งยืนเคลื่อนไทยสู่ preferred destination

3. Sup Culture movement แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันทั่วโลกต่างช่วงชิงนักท่องเที่ยว ดังนั้นหลังจากนี้ภาคการท่องเที่ยวต้องลงลึกไปถึง Sup Culture ชูความแตกต่างของประเทศไทยในการเป็น preferred destination อย่างสมบูรณ์

4. Sustainable Now หลังจากนี้การท่องเที่ยวต้องเดินไปหาสิ่งแวดล้อม ไทยมีทรัพยากรของประเทศเป็นต้นทุนที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆเป็นสิ่งดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว แต่ต้องยอมรับว่า Climate Change จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ททท.วางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน โดยเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   บรรลุเป้าหมายจัดการอย่างยั่งยืน (SDGs)  ปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอยางรวดเร็ว

การสานต่อแนวคิด Bio-Circular -Green Economy (BCG) ให้ความสําคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และกลุ่มผู้คน นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิด รวมทั้งสร้างการเพิ่มมูลค่า

ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนเราเริ่มตั้งแต่ปี 2021 ในไตรมาสที่ 3 ทั้งมี Phuket  sandbox ,การ Balance Health and Economics Facter 

ในปี 2021-2023 มีการ Re opening Thailand เพื่อสร้าง Value over volume โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และในแผนปี 2024 เน้นไปที่การเปลี่ยนมายด์เซ็ทของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยให้เป็น New-Tourism Ecosystem

โควิดทำให้หลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงดังนั้น Amazing new -chapter ในปี 2022 เรามองว่าการปักหมุดใหม่ต้องนำความยั่งยืนเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆมิติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  ในปี 2024 เรามองถึงการสร้าง MEANINGFUL Trip & RELATIONSHIP  เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยและมองว่าการท่องเที่ยวของเขาดีต่อใจของเขา

ผู้ว่าททท. ชูท่องเที่ยวยั่งยืนเคลื่อนไทยสู่ preferred destination

เขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกและสิ่งที่เรามองต่อเพื่อ connect คือการสื่อสารไปถึงนักท่องเที่ยวถึงสิ่งที่จะได้กลับไป และสร้างความประทับใจจาก Behind The Scene และท้ายที่สุด Meaning full relationship จะกลายเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวหาที่ไหนไม่ได้ มันเป็น Soft power ที่ดีที่สุดที่ทำให้ประเทศไทยขายได้ วันนี้เราจะต้องดึงตัวนี้ดึงรากเหง้าที่แท้จริงของคนไทยขึ้นมาและเสริมในเรื่องของความยั่งยืนเพราะฉะนั้นการท่องเที่ยวที่มีความหมายจะต้องไม่ทำร้ายโลกและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ภายใต้การนำของผู้ว่าการท่องเที่ยวป้ายแดงยังมีการยกระดับมาตราฐานการท่องเที่ยวใหม่ภายใต้ Sustainable Tourism Goals หรือ STGs star เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว เกิดพัฒนา และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุลทุกมิติ เพื่อรับการประเมิน และก้าวสู่การเป็น High Value and Sustainable Tourism และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และความยั่งยืนต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย

โดยผู้ประกอบการที่จะได้รับมาตราฐานนี้จะต้องผ่านเกณฑ์มาตราฐานSTGs ข้อ 13 นั่นคือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อ 16 ความปลอดภัยและสุดท้ายคือข้อ 17 พันธมิตรที่เชื่อมเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจที่ต้องเป็น SDG

ผู้ว่าททท. ชูท่องเที่ยวยั่งยืนเคลื่อนไทยสู่ preferred destination

“ตอนนี้มีผู้ประกอบการตอบรับเข้ามามากกว่า 300 รายเราตั้งเป้าหมายในส่วนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปี 2568 จะต้องมีผู้ประกอบการเข้าร่วมและได้รับสตาร์ไม่ต่ำกว่า 85% การที่ผู้ประกอบการได้รับมาตราฐานรับรองจะทำให้เราได้การนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพกลับเข้ามาสู่ในประเทศ เพราะเราต้องการขายของดี ขายของคุณภาพที่อยู่ในเชลฟ์ที่จับต้องได้  

แต่ถ้าผู้ประกอบการรายไหนไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง STGs และไม่ได้ดำเนินการด้านความยั่งยืน ททท.อาจจะไม่สนุบสนุนด้านการตลาดและการสร้างการรับรู้ไปสู่นักท่องเที่ยวและผู้ค้าใหม่ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยแข่งขันกับต่างประเทศได้ และสามารถที่จะยืนหนึ่งบนโลกแห่งความเป็นจริงคือโลกที่เน้นในเรื่องของความยั่งยืน

ตัวอย่างของการโครงการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน เริ่มต้นจากการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อให้บริการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำร่องภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่และกรุงเทพโดยเสริมความยั่งยืนเข้าไปในมิติต่างๆ และให้ผอ.การท่องเที่ยวทั้ง 5 สาขาเสนอขายเส้นทางท่องเที่ยวยั่งยืนให้เดนมาร์กและสวีเดน ทำให้เราได้พันธมิตรใหม่ที่จะกลายมาเป็นนักท่องเที่ยวใหม่ในอนาคต