กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

14 เม.ย. 2565 | 06:23 น.

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ เมืองบุรีรัมย์ ผลิตและแปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แบรนด์ “ข้าวหอมนกกระเรียน” จำหน่ายสร้างรายได้ที่มั่นคง

นางปรารถนา อุ่นจิตต์ ผู้ประสานงานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 7 บ้านสวายสอ ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคืออาชีพการทำนา ซึ่งในแต่ละปีจะได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิปีละกว่า 200 ตัน ซึ่งเป็นพื้นที่

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

 

ปลูกข้าวบนดินจากภูเขาไฟอีกพื้นที่หนึ่ง ปัญหาของประชาชนที่ประกอบอาชีพทำนาจะมีลักษณะเหมือนกันคือ ผลผลิตได้ราคาตกต่ำ ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา อีกทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตสูง และมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ด้วย

 

สภาพปัญหาดังกล่าวประชาชนและภาครัฐได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการร่วมกลุ่มกัน เป็นกลุ่มผู้ปลูกข้าว หมู่ที่ 7 บ้านสวายสอ ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2557 สมาชิกแรกเริ่มก่อตั้ง 20 ราย เป็นการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำและต้นทุนสูง

โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายทองพูน อุ่นจิตต์ เป็นประธานกลุ่ม ในปี พ.ศ. 2559 ได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านสวายสอ” ต่อมา ปี พ.ศ.2560 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่

 

ข้าว หมู่ที่ 7 บ้านสวายสอ ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปัจจุบันมีสมาชิก 100 ราย พื้นที่ปลูกข้าว 1,900.50 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และสมาชิกจำนวน 40 ราย ได้รับมาตรฐานข้าวอินทรีย์ Organic Thailand พื้นที่ผลิตข้าว เนื้อที่รวม 419 ไร่

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 7 บ้านสวายสอ ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการลดต้นทุนการผลิต โดยการปลูกพืชบำรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การไถกลบต่อซัง หว่านปอเทือง ปุ๋ยคอก การทำปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวภัณฑ์ การผลิต

 

เมล็ดพันธุ์ใช้เอง และมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต ใช้เครื่องหยอดข้าวนาแห้ง อัตราประมาณ 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตพบว่า ต้นทุนเฉลี่ย 3,440 บาท และต้นทุนลดลงเฉลี่ยเหลือ 2,680 บาท และมีการเพิ่มผลผลิต

โดยมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร ด้านการบริหารจัดการศัตรูข้าว โรคข้าว การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้คุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้พบว่า จากเดิมผลผลิตเฉลี่ย 400 กก./ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 420 กก./ไร่

 

นอกจากนี้ การพัฒนาสินค้าของกลุ่มฯ มุ่งเน้นสร้างเกษตรที่ปลอดภัย นำนวัตกรรมมาช่วยสร้างมูลค่า ทำการค้าเชื่อมโยงกับผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความสุขและความยั่งยืน คือพื้นฐานที่ทุกคนต้องการ ต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัว ทำในเรื่องที่ถนัดที่สุด ใช้หลักการ

 

“ตลาดนำการผลิต” คือ การผลิตให้มีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีการวางแผนการผลิต มีการทำงานเป็นทีม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความสามัคคีในกลุ่ม อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

 

ข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมมะลินิล ข้าวสามสี ข้าวมะลิแดง นำนมข้าวชนิดผงพร้อมชง แป้งข้าวจ้าวอินทรีย์ ข้าวฮางงอก และเครื่องดื่มสำเร็จรูป ข้าวฮางงอกผสมธัญพืช จำหน่ายสร้างรายได้ที่มั่นคงสู่กลุ่มฯเกษตรกร

 

ด้านนายชาติชาย ศรีษะนอก หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง

 

บุรีรัมย์ เกษตรตำบลสะแกโพรง ได้เข้ามาให้ความรู้ มีการศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างๆ จึงได้แนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่น่าสนใจและน่าจดจำ โดยดึงจุดเด่นของชุมชนบ้านสวายสอ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวชี้วัดของความอุดมสมบูรณ์อยู่ในชุมชนเข้ามา และได้

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

 

ตกลงกันที่จะใช้ชื่อสินค้าข้าวแปรรูปว่า “ข้าวหอมนกกระเรียน” โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยที่ให้ความรู้ในการอนุรักษ์นกชนิดนี้ด้วย กล่าวถึงนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว แต่พบอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์แห่งเดียวในประเทศ

 

ไทย และพบนกชนิดนี้บริเวณนี้ด้วย นกชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แปลงนาของชาวบ้านสวายสอ ตั้งอยู่ในรัศมีของรอบอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง มีสัตว์เล็กใหญ่จำนวนมาก

 

และถิ่นนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่ชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน ซึ่งเป็นนกที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ปลอดสารเคมี ดังคำพูดที่ว่า “นกกระเรียนเคียงฟ้า นาอินทรีย์เคียงดิน มีกินยั่งยืน”และชาวบ้านที่นี่ยึดหลักการใช้ชีวิตตามต้น

 

แบบการทำเกษตรพอเพียงตามแนว พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันระหว่างสัตว์ป่า เกษตรกร และทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำไปสู่การต่อยอดเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ “นกอยู่รอด คนอยู่ได้ ชุมชนมีสุข”

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวบ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ผลิต-แปรรูปข้าว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น