“คดีแอชตันอโศก” รฟม.แจง อุบไต๋ คำวินิจฉัย “กฤษฎีกา”  ใช้ที่ดินเป็นทางผ่าน

05 ส.ค. 2566 | 04:19 น.

ปมร้อน "คดีแอชตันอโศก" รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีไม่มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปี 2563 อนุญาตอนันดาใช้ที่ดินเป็นทางเข้า-ออกโครงการ

 

"คดีแอชตันอโศก"ส่งผลกระทบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ซื้อโครงการแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เป็นอย่างมากหลังจาก นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมสภาวะโลกร้อน(ในสมัยนั้น) ร่วมกับชาวบ้านในซอยสุขุมวิท 19แยก2 ฟ้องร้องดำเนินคดี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้อนุมัติการก่อสร้างโครงการและผู้อนุญาตให้ใช้ที่ดินเป็นทางเข้า-ออกกระทั่งนำไปสู่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ ว่าการใช้ที่ดินรฟม.มิชอบด้วยกฎหมาย

ขณะที่ผ่านมารฟม.ได้หารือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าในทางปฏิบัติที่ดินรฟม.สามารถให้เอกชนเช่า เพื่อใช้เป็นทางผ่านเข้า-ออกโครงการของลูกบ้านได้หรือไม่ และล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือชี้แจงออกมาถึงปมรฟม.เคยหารือและได้รับคำตอบ ว่า"ขัดต่อกฎหมาย"

การเผยแพร่ คำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อปี 2563 เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ชื่อเดิม) ใช้ที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่าน โดยที่ รฟม. ไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เมื่อไม่นานมานี้นั้น

มีรายข่าวจากรฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง สืบเนื่องจากในปี 2557 รฟม. ได้อนุญาตให้ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ชื่อเดิม) ผ่านที่ดินของ รฟม. บริเวณลานจอดรถสถานีสุขุมวิท โครงการรถไฟฟ้ามหานครเป็นทางผ่านสู่ถนนอโศกมนตรี

 

 

 

ในเวลาต่อมาในปี 2559 และ 2560 ได้มีการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองเกี่ยวกับทางผ่านบริเวณดังกล่าวรวม 2 คดี ซึ่งขณะที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองนั้น รฟม. ได้รับการประสานงานจากองค์กรอิสระ ให้ รฟม. หารือเรื่องการอนุญาตให้บริษัท อนันดาฯ ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่านต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

กฤษฎีกา โดยความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อเรื่องดังกล่าวได้มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมทั้งแจ้งผลการหารือให้ รฟม. ทราบและ รฟม. ได้นำผลการหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวแจ้งกลับไปยังองค์กรอิสระแล้ว

 แสดงให้เห็นว่า รฟม. มิได้มีเจตนาปกปิด หรือเพิกเฉยต่อความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่อย่างใด ประกอบกับคดีความทั้ง 2 คดีข้างต้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง ซึ่งศาลฯ ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ รฟม. ต้องปฏิบัติตามเป็นอย่างไร ดังนั้น รฟม. จึงจำเป็นต้องรอคำพิพากษาของศาลฯ ที่ถึงที่สุดเสียก่อน

 

 

ที่ดินรฟม.

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคดีเกี่ยวกับทางผ่านดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 1 คดี โดยให้เพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างฯ ของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ฉบับ

โดยศาลฯ มิได้เพิกถอนประกาศกำหนดประเภทการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. และใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่านดังกล่าวแต่อย่างใด

 

ที่ดินรฟม ทางเข้า-ออกโครงการแอชตันอโศก.