ชาวบ้านอ่วม! เวนคืน5,390แปลง บ้าน1,536 หลัง ลุย7 บิ๊กโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้า -ถนน

15 มิ.ย. 2565 | 05:03 น.

ชาวบ้านอ่วม !เวนคืนที่ดิน   5,390แปลง บ้าน1,536 หลัง พลิกโฉม ทำเลทองใหม่ ราคาที่ดินพุ่ง คนกรุง -ปริมณฑล อ่วม ปูพรม 7 บิ๊กโปรเจ็กต์ 2รถไฟฟ้า  ม่วงใต้-ส้มตะวันตก ถนน -สะพาน

 

ราคาที่ดินทั่วกรุงขยับขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลกดปุ่มเดินหน้าก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ทั้งรถไฟฟ้าโครงข่ายถนนสะพานแก้ปัญหาจราจรเชื่อมโยงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้เกิดการพัฒนา ความเจริญเข้าสู่พื้นที่ การเดินทางลื่นไหลพลิกโฉมเมืองเปิดหน้าดินจากที่ไม่มีราคาสู่ตึกสูง

 

เกิดย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่สร้างรายได้มหาศาลให้กับพื้นที่และนักลงทุน แต่ในทางกลับกัน ชาวบ้านที่อยู่บนแนวเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้า แนวถนนใหม่  ต้องถูกออกจากพื้นที่ มองหาที่อยู่ใหม่ จากค่าชดเชยที่หลายคนอาจมองว่าได้ไม่คุ้มเสียหากเทียบกับคุณภาพชีวิตทำเลในเมืองใกล้แหล่งงานรวมทั้งคุณค่าทางใจของสถาปัตยกรรมเก่าแก่

 

 

 

ขณะโครงการที่เริ่มดำเนินการ ตามที่รัฐบาลอนุมัติ มี 7 โครงการ รวมมูลค่ากว่า2แสนล้านบาท  พบว่ามีการเวนคืนที่ดินรวม 5,390แปลง สิ่งปลูกสร้าง1,536 หลังคาเรือนเริ่มจาก โครงการแรก ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

 

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วิ่งจากจุดเชื่อมต่อสถานีเตาปูน  ผ่านใจกลางชุมชน ย่านการค้าเก่าแก่ระยะ ทาง 23.6 กิโลเมตร  มูลค่า 1แสนล้านบาท เป้าหมายเปิดให้บริการปลายปี 2570 ล่าสุดผู้รับเหมาบางส่วนได้เข้าพื้นที่สำรวจชั้นดิน เพื่อขุดเจาะเป็นอุโมงค์ แล้ว

  ชาวบ้านอ่วม! เวนคืน5,390แปลง บ้าน1,536 หลัง ลุย7 บิ๊กโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้า -ถนน

ด้านชุมชนมองว่า อาจเกิดผลกระทบต่ออาคารอนุรักษ์กลางเกาะรัตนโกสินทร์ วัดวาอาราม กระทั่งมีเสียงเรียกร้องให้นายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมาปกป้อง

 

ขณะ รฟม.แก้ปัญหาด้วยการเข้าพื้นที่ เวนคืนหน่วยงานราชการ และทำเลปลายสายทาง (ราษฎร์บูรณะ)ก่อนเพื่อลดดผลกระทบ ต่อจากนั้นจึงจะเข้าเวนคืนเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน

 

 

 

 

ตามด้วยโครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ระยะทาง13.4กิโลเมตร มูลค่า1.2 แสนล้านบาท แยกเป็นงานโยธา 96,000 ล้านบาทที่ประกาศประมูลรอบสอง และปิดหีบขายซองลงไม่นาน

 

ล่าสุดชาวบ้านเกือบ200หลังคาเรือน บริเวณ ประชาสงเคราะห์เขตดินแดงเริ่มเคลื่อนไหว ยื่นหนังสือถึง นายชัชชาติ ผู้ว่าฯกทม. ให้ช่วยเหลือประชาชนโดยให้เหตุผลว่า เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกทม.  

 

แนวเส้นทางเริ่มจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯของสายสีส้มตะวันออก  ลอดใต้ห้างเอสพลานาดรัชดาฯ มุ่งหน้าผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์กวาด บ้านเรือนเกือบ 200 หลังคาเรือน ออกจากพื้นที่ ตามด้วย ซากโรงเรียนดรุณพาณิชยการเก่า เพื่อก่อสร้างเป็นตัวสถานี

 

จากนั้นวิ่งผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (กทม.2) ออกสู่ถนนวิภาวดีบริเวณทหารผ่านศึก ทะลุราชปรารภ ประตูนํ้า ลอดใต้เจ้าพระยา เชื่อมสายสีแดงบริเวณโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดสถานีปลายทางบางขุนเทียนที่ประเมินว่าแม้จะเกิดย่านธุรกิจสำคัญในอนาคต แต่การคัดค้านของชุมชนได้เริ่มขึ้นแล้ว

 

นอกจากรถไฟฟ้ายังมีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกายและแนวถนนเชื่อมต่อ มูลค่า 1.2หมื่นล้านบาท ของกทม. ที่ คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน

 

ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจตุจักร แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ….  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

 

 

การเวนคืนที่ดินตลอดแนว มีสิ่งปลูกสร้างของเอกชนถูกกระทบ ซึ่งมีการสำรวจไว้เดิม   อนุมัติอย่างไรก็ตามชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบยังคงคัดค้านโดยเฉพาะ5ชุมชน ย่านจรัญสนิทวงศ์  

 

เช่นเดียวกับ โครงการก่อสร้าง อีกโครงการของกทม. "สุขาภิบาล5 (รัตนโกสินทร์สมโภช)-นิมิตใหม่ " ขนาด6-8ช่องจราจร ซึ่งเป็นโครงการเชื่อมต่อจากช่วง สุขาภิบาล 5 -พหลโยธิน50ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว รวมระยะทาง ทั้งสองช่วงเกือบ20กิโลเมตร

 

 

 

 ส่วนฝั่งปริมณฑล จังหวัดนนทบุรี และ ปทุมธานี อีก3โครงการ ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ซึ่งเป็น โครงการขนาดใหญ่ที่น่าจับตาและมีการเวนคืนรวมกันจำนวนมาก ได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานสามโคก จังวัดปทุมธานี

 

 

มีจุดเริ่มต้นจากถนนวงแหวนกทม.ด้านตะวันตกบริเวณแยกต่างระดับบางเตยบรรจบกับถนนสาย3111 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมเข้ากับทางหลวงสาย347  วิ่งเข้าถนนสาย3214 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตและไปสิ้นสุดบริเวณทางต่างระดับคลองหลวงเชื่อเข้ากับถนนหน้าวัดธรรมกาย วิ่งทะลุไปยังถนนวงแหวนกทม.ด้านตะวันออก-ตะวันตก

 

 

โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายาขนาด6ช่องจราจร  มีที่ดินถูกเวนคืน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเข้าพื้นที่เวนคืนในปีนี้และก่อสร้างในปี 2566 แล้วเสร็จในปี 2568 แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ

 

ได้แก่ อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ ของ จังหวัดนนทบุรี และ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระยะทาง 12 เมตร เช่นเดียวกับ โครงการถนนเชื่อมต่อสะพานนนทบุรี1  

 

เวนคืนที่ดิน 160 ไร่ ผ่านอำเภอบางกร่าง เมืองนนท์ และอำเภอ บางใหญ่ สร้างถนนใหม่ 6-8 เลน เชื่อมสะพานนนทบุรี 1 หรือ สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ทะลุถนนกาญจนาภิเษก วงเงิน 4 พันล้าน แก้รถติด แล้วเสร็จปี2567

 

ประเมินว่า เมื่อโครงการแล้วเสร็จ นอกจากเกิดความคล่องตัวในการเดินทาง ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจพลังงานแล้ว ยังช่วยกระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ เปิดทำเลทองที่อยู่อาศัยใหม่ ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงสร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของที่ดินอย่างน่าจับตา