เมื่อภาคการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการส่งต่อองค์ความรู้ที่จะสนับสนุนความแข็งแรงของ Digital Ecosystem ในโลกใหม่ ดังนั้นเมื่อ USC Annenberg School for Communication and Journalism สถาบันการศึกษาภายใต้ University of Southern California (USC) มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้นำด้านความคิดสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงลึกในอุตสาหกรรมสื่อ โดยศาสตราจารย์เดวิด เครค นักวิชาการด้านโซเชียลระดับโลก ซึ่งได้รับทุนวิจัยด้านวิชาการระดับโลกจากมูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright scholar) ได้พัฒนาโครงการวิจัย “Thai Creator Culture” ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย“วัฒนธรรมครีเอเตอร์ท้องถิ่น” ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง เพื่อศึกษาวิธีที่เหล่าครีเอเตอร์ในโซนนี้ รับมือการแข่งขันกับครีเอเตอร์ในซีกโลกอีกด้าน อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา ศาลาทอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล นักศึกษาปริญญาเอก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ประเทศไทย (AIT)
โดยโครงการวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และรองประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ซึ่งยังดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ USC Annenberg Board of Councilors นายสารัชถ์ ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายในอุตสาหกรรมและการผลักดันนวัตกรรมด้านการศึกษา เพื่อให้การศึกษาด้านการสื่อสารและสื่อมีความทันสมัย สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การร่วมมือในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการที่วัฒนธรรมครีเอเตอร์จะกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมโลกในอนาคตได้อย่างไร
เมื่อครีเอเตอร์มีบทบาทสำคัญมากขึ้น การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจลักษณะของครีเอเตอร์จะช่วยให้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถสนับสนุนพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับระบบนิเวศอื่นๆ อย่างมุ่งมั่นเพื่อยกระดับการทำงานและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมสื่อและครีเอเตอร์ จึงเป็นที่มาของการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเวทีเสวนา Global Creator Culture Summit ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่องานวิจัย
ศาสตราจารย์เดวิด เครค กล่าวว่า “สิ่งที่เราพบคือ ครีเอเตอร์ในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก พวกเขามีศักยภาพเป็นได้ทั้ง 'แบรนด์' ด้วยตัวเอง เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์ สร้างรายได้แบบ O2O (Online-to-Offline) จากพื้นที่ของตนเอง แพลตฟอร์ม และช่องทางอื่นๆ และยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมโดยรอบ เช่น การผลักดันการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ จนกลายเป็นศูนย์กลางการสร้างรายได้ของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการทำงานวิจัยในครั้งนี้จึงช่วยให้เราสามารถกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมโลกในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”
จนได้ผลการศึกษา “Thai Creator Culture” ที่พบว่า วันนี้ วงการครีเอเตอร์ของไทยได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้
นอกเหนือจากผลการศึกษาที่สร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และ Creator ของประเทศแล้ว การทำงานร่วมกันครั้งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับโลกที่จะนำมาสู่การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในสร้างประโยชน์ที่มีดิจิทัลเป็นรากฐานแก่ประเทศ อันจะนำมาซึ่งการเป็นฟันเฟืองสำคัญต่อการสร้างแรงส่งให้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศสามารถแข่งขันได้ในตลาดระดับโลกด้วยเช่นกัน