จุรินทร์ โชว์ 4 วิชั่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ไทยต้องพร้อมรับกติกาโลก

21 ธ.ค. 2565 | 10:22 น.

“จุรินทร์”โชว์ 4 วิชั่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดิจิทัลไทย หรือ Thai Digital Economy สู่อนาคต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ชี้ไทยต้องเตรียมความพร้อมรองรับกติกาโลก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ด้าน Next Trend Digital Economy ในงานสัมมนา "NEXT STEP THAILAND 2023: ทิศทางแห่งอนาคต "จัดโดย สื่อในเครือเนชั่นกรุ๊ป   ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กทม.

 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า Digital Economy มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน ทั้งสำหรับประเทศไทยของเราและโลกของเรา เพราะ เป็นประเด็นในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของทุกประเทศ เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศและโลก

 

สถานการณ์ปัจจุบัน Digital Economy ที่เป็นรูปธรรมสำคัญกำลังมีบทบาททั้งภาคการผลิต ภาคการตลาด ทั้งสินค้าบริการ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ที่เป็นรูปธรรมคืออีคอมเมิร์ซ การค้าออนไลน์แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ต่างๆ การจองที่พัก ฟินเทค โซเชียลมีเดีย บิ๊กดาต้า 5G บล็อกเชน เมตาเวิร์ส และอื่นๆที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีเป็นลำดับสิ่งที่เราจะต้องก้าวต่อไป จะเป็นนโยบายรัฐบาลหรือนโยบายประชาธิปัตย์ก็ตามเราหนีไม่พ้นสิ่งที่เราจะต้องเดินต่อไป
 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์

 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องขับเคลื่อนสู่ Digital Economy ประกอบด้วย

 

1.เราต้องเพิ่มสัดส่วน จีดีพีของ Digital Economy ให้เพิ่มมากขึ้น ตัวเลขที่ผ่านมาปี 60 Digital Economy คิดเป็น 9% ของจีดีพีประเทศ ปี 64 เป็น 13% มูลค่า 2.1 ล้านล้านบาท สำหรับขับเคลื่อนจีดีพีประเทศไทย  แต่สัดส่วนของประเทศสำคัญในโลกนี้มากกว่าเรา เช่นจีน 40% มาเลเซีย 22% เรายังตามหลังอีกหลายประเทศคือการบ้านข้อที่หนึ่ง ต้องเพิ่มสัดส่วนจีดีพีเฉพาะ Digital Economy ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 

 

2.สำหรับประเทศไทยปี 64 จีดีพี ปกติ +1.5% ปี 65 แนวโน้ม+3% ปีหน้าอาจ 3%นิดๆ  แต่ Digital Economy ของเราบวกมากกว่านั้น +14% แต่ไม่พอ การบ้านข้อสองต้องเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต Digital Economy นอกจากเพิ่มสัดส่วนในจีดีพีรวมของประเทศ

 


 

 

 

จุรินทร์ โชว์ 4 วิชั่น  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ไทยต้องพร้อมรับกติกาโลก

 

3 .ต้องเพิ่มอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้มากขึ้น IMD หรือสถาบันจัดอันดับการแข่งขันด้าน Digital Economy ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดอันดับโดยดูจาก 3 ด้าน คือ

 

1.ด้านความรู้  2.ด้านเทคโนโลยี และ 3.ด้านความพร้อมในอนาคต ประเมินแล้วพบว่าปีนี้จาก 63 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 40 ของโลก สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 4 มาเลเซียอันดับที่ 31 อินโดนีเซีย อันดับที่ 51 เรายังตามหลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย

 

ดังนั้นจึงเป็นการบ้านข้อที่สาม ในการขับเคลื่อน Digital Economy และมาดูลึกใน 3 ด้านนี้ ประเทศไทย ด้าน เทคโนโลยีเราอยู่ที่ลำดับที่ 20  ด้านความรู้อันดับที่สี่ 45 ด้านความพร้อมสำหรับอนาคต เราอยู่ลำดับที่ 49  สิ่งที่ต้องเตรียมคือ  1.e-Government 2.ในเรื่องของระบบ PPP ความร่วมมือของภาครัฐเอกชนจะต้องพัฒนาตนเองโดยใช้ Digital Economy เป็นตัวขับเคลื่อน และความมั่นคงความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์

 

รวมทั้งการป้องกันปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ผ่าน Digital Economy  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับไทยเดินหน้าต่อไปในอนาคตไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลหรือประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเที่ยวหน้าต้องขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไป มีความชัดเจนในแนวคิดและทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า
 

4.ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับกติกาโลก ปัจจุบัน Digital Economy โลกยังไม่มีกติกาโลก มีแค่กติกาของ 3 ประเทศที่ตกลงกันในปัจจุบันนี้ ที่เรียกว่า กติกาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วยสิงคโปร์ นิวซีแลนด์และชิลี ที่เรียกว่า DEPA ซึ่งจีนและแคนาดากำลังจะเข้ามาร่วม รวมถึงเกาหลีใต้กำลังขอร่วมแต่กติกาโลกโดยรวมทั้งหมดยังไม่เกิด

 

"แต่ไม่เร็วก็ช้ากติกาโลกต้องเกิด  ซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาผ่านกลไกที่เรียกว่า IPEF หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ที่สหรัฐฯเป็นแม่งาน ที่เรียกว่าอินโด-แปซิฟิก 13 ประเทศ 1 ในหัวข้อสำคัญคือ กติกา Digital Economy ประเทศไทยจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะเราเป็นหนึ่งในสมาชิกอินโด-แปซิฟิก เป็นทิศทางที่เราต้องเดินต่อไปในอนาคต" นายจุรินทร์ กล่าว