อสส.สั่งฟ้อง“ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ”ผิด ม.116 ไม่ฟ้องอาญา“ธนาธร”ปมถือหุ้นสื่อ

30 พ.ย. 2565 | 06:58 น.

อสส.ชี้ขาดสั่งฟ้อง "ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ" ผิดคดี ม.116 ปทอดีต "พุทธอิสระ" เเจ้งความอภิปรายจาบจ้วงสถาบัน ยุยง ขณะเดียวกันสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาปมขาดคุณสมบัติสมัครส.ส. จากกรณี “ถือหุ้นสื่อ”

วันนี้(30 พ.ย.65)  นายธรัมพ์ ชาลีจันทร์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกันแถลงข่าวว่าตามที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญา ได้รับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 1702/2563 ของ สน.พญาไท ซึ่งมีนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพุทธอิสระ เป็นผู้กล่าวหา


คดีนี้ อัยการสูงสุด (อสส.) มีคําสั่งชี้ขาดคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และคดีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 151 ประกอบ มาตรา 42 (3) ดังนี้

 

1. คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ตามที่พนักงานอัยการ สํานักงานคดีอาญา ได้รับสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 1702/2563 ของสถานีตํารวจนครบาลพญาไท ระหว่าง นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ โดยนายธีรยุทธ สุวรรณเกสร ผู้รับมอบอานาจ ผู้กล่าวหากับ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหาที่ 1 นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ต้องหาที่ 2 นางสาวพรรณิการ์ วานิช ผู้ต้องหาที่ 3 

 

ในข้อหาร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทํา ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน นั้น


ต่อมาพนักงานอัยการ สํานักงานคดีอาญา ได้พิจารณาแล้วมีคําสั่งทางคดี ดังนี้ สั่งไม่ฟ้อง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหาที่ 1, นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ต้องหาที่ 2, นางสาวพรรณิการ์ วานิช ผู้ต้องหาที่ 3 ฐานร่วมกันกระทําให้ปรากฏด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใด อันมิใช่ เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 116 (3) แล้ว


จึงส่งสํานวนไปยังสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ซึ่งภายหลัง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้มีความเห็นแย้งว่า ยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยกับคําสั่ง ไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 - 3 ในความผิดตามข้อกล่าวหา แล้วส่งสํานวนมายังอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาชี้ขาด ความเห็นแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 วรรคสอง 


คดีนี้ อัยการสูงสุด ได้พิจารณาคดีดังกล่าวแล้วได้มีคําสั่งชี้ขาด ดังนี้ 


- ชี้ขาดให้ฟ้อง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหาที่ 1 นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ต้องหาที่ 2 และนางสาวพรรณิการ์ วานิช ผู้ต้องหาที่ 3 ฐานร่วมกันล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทําภายใน ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรหรือเพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 2, 6, 34, 49 และ 50 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 116 (2), (3) 


- ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาและสอบคําให้การผู้ต้องหาทั้งสามให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามฐานความผิดที่อัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องและปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก่อนยื่นฟ้องคดีต่อไปด้วย 


2. คดีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 151 ประกอบ มาตรา 42 (3)
ตามที่พนักงานอัยการ สํานักงานคดีอาญา ได้รับสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 467/2563 ของสถานีตํารวจนครบาลทุ่งสองห้อง ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนายผดุงวิทย์ ผดุงสรรพ์ ผู้รับมอบอานาจ ผู้กล่าวหา กับ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหา 


ในข้อหารู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทําหนังสือยินยอมให้พรรคการเมือง เสนอรายชื่อของตนเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 


ต่อมาพนักงานอัยการ สํานักงานคดีอาญา ได้พิจารณาแล้วมีคําสั่งทางคดี ดังนี้ สั่งไม่ฟ้องนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหา ในความผิดฐานรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทําหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อของตนเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 (3), 151 วรรคหนึ่ง แล้ว


จึงส่งสํานวนไปยังสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ซึ่งภายหลังสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้มีความเห็นแย้ง แล้วส่งสํานวนมายังอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 วรรคสอง 


คดีนี้ อัยการสูงสุด ได้พิจารณาคดีดังกล่าวแล้ว มีความเห็นว่าการดําเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในความผิด ฐานรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทําหนังสือยินยอมให้พรรคการเมือง เสนอรายชื่อของตนเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42(3), มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิด ที่มีโทษทางอาญาจําต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งปวงว่าผู้ต้องหากระทําความผิดตามข้อกล่าวหาจริงหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 


คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ต้องหาได้ทําการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อที่ตนได้ถือหุ้นไว้ให้แก่ผู้เป็นมารดา และเป็นกรรมการผู้มีอํานาจจัดการแทน บริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด ไปเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 โดยมีบุคคล 3 คน เป็นพยานบุคคลและมีเอกสาร ตราสารโอนหุ้น, ทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด เป็นพยานเอกสารมาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัท และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129

 

กล่าวคือ ต้องทําหลักฐานการโอนหุ้นเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน และมีการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งตามกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141  แม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการไต่สวนพยานของ ผู้ถูกร้อง (ผู้ต้องหา) ดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่ามีข้อพิรุธ ก็เป็นเรื่องพิรุธในข้อเท็จจริงของ คําให้การพยานฝ่ายผู้ถูกร้อง (ผู้ต้องหา) เพียงฝ่ายเดียว 

 

แต่การดําเนินคดีอาญา โจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานอื่น มาแสดงหรือใช้นําสืบพิสูจน์ให้ศาลรับฟังเชื่อได้โดยปราศจากข้อระวังสงสัยว่า ผู้ต้องหากระทําความผิด ตามข้อกล่าวหาหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ทั้งข้อพิรุธ ของผู้ถูกร้อง (ผู้ต้องหา) กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายแต่อย่างใด 


จึงไม่อาจนําเอาข้อพิรุธของพยานฝ่ายผู้ต้องหา ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาดังกล่าวมาใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อยืนยันว่า ผู้ต้องหากระทําความผิดตามข้อกล่าวหาได้โดยลําพัง  


นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริง และหรือพยานหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหามีพฤติกรรมใดเกี่ยวข้องกับ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด ภายหลังจากวันที่ระบุว่า มีการโอนหุ้นไปแล้วที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ต้องหายังคงถือหุ้นอยู่ ในขณะเกิดเหตุ หรือ มิได้โอนหุ้นของตนให้แก่ นางสมพร แต่อย่างใด 


ทั้งผู้ต้องหามิได้เป็นผู้มีอํานาจจัดการ แทนบริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด จึงไม่มีอํานาจหรือหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้น ตามแบบ บอจ.5 ให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ทราบ การที่ผู้มีอํานาจจัดการแทนบริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด เพิ่งแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทล่าช้า จึงยังไม่อาจนํามารับฟัง ให้เป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหาได้ ประกอบกับคดีนี้มีผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดมา จึงเห็นว่า พยานหลักฐาน ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอที่จะฟ้องและพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาได้ 


อัยการสูงสุดได้มีคําสั่งชี้ขาดไม่ฟ้อง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ต้องหา ความผิดฐานรู้อยู่แล้ว ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทําหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อของตนเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 151 ประกอบ มาตรา 42 (3)

 

  อสส.สั่งฟ้อง“ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ”ผิด ม.116 ไม่ฟ้องอาญา“ธนาธร”ปมถือหุ้นสื่อ    อสส.สั่งฟ้อง“ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ”ผิด ม.116 ไม่ฟ้องอาญา“ธนาธร”ปมถือหุ้นสื่อ   อสส.สั่งฟ้อง“ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ”ผิด ม.116 ไม่ฟ้องอาญา“ธนาธร”ปมถือหุ้นสื่อ