นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนภาคกลาง "อุ๊งอิ๊ง" นำอันดับ 1 นั่งนายกฯ

13 พ.ย. 2565 | 03:20 น.

นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นคนภาคกลาง คนที่ใช่ พรรคที่ชอบของคนภาคกลาง "อุ๊งอิ๊ง" นำอันดับ 1 จะสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ตามด้วย"พิธา" และ“ประยุทธ์” ตามลำดับ พรรคเพื่อไทย มาอันดับ 1 คนจะเลือก ส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่อ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง "คนที่ใช่ พรรคที่ชอบของคนภาคกลาง" โดยบุคคลที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้
         

 

นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนภาคกลาง "อุ๊งอิ๊ง" นำอันดับ 1 นั่งนายกฯ

  • อันดับ 1 ร้อยละ 24.18 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบอุดมการณ์ของพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ศรัทธาในตระกูลชินวัตร

 

  • อันดับ 2 ร้อยละ 16.73 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 16.23 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบผลงานของรัฐบาลในปัจจุบัน และทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ

         

  • อันดับ 4 ร้อยละ 13.54 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

         

  • อันดับ 5 ร้อยละ 7.04 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน

         

  • อันดับ 6 ร้อยละ 6.19 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะเป็นคนมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย ชื่นชอบผลงานในอดีตที่ผ่านมา และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ

         

  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.10 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะเป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ เป็นคนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

         

  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะเป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย

         

  • อันดับ 9 ร้อยละ 1.80 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

         

  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) เพราะชื่นชอบพรรคชาติไทยพัฒนา และชื่นชอบผลงานของตระกูลศิลปอาชา

         

  • อันดับ 11 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะมีประสบการณ์ด้านการบริหาร เป็นคนที่พูดจริงทำจริง และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย

         

  • อันดับ 12 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะเป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ มีวิสัยทัศน์ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

         

  • อันดับ 13 ร้อยละ 1.30 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะมีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์

         

  • อันดับ 14 ร้อยละ 1.19 ระบุว่าเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ชื่นชอบแนวคิดและทัศนคติในการทำงาน

 

  • และร้อยละ 2.20 ระบุอื่นๆ ได้แก่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายเศรษฐา ทวีสิน นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า)

         

สำหรับบุคคลที่คนภาคกลางจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรกจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคกลาง พบว่า
         

 

1.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน อันดับ 1 ร้อยละ 22.04 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 20.07 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 19.53 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 9.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 6.45 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
         

 

2.กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล อันดับ 1 ร้อยละ 24.97 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 21.78 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 12.62 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอันดับ 5 ร้อยละ 5.84 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
         

 

3.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 26.91 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 15.06 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 3 ร้อยละ 13.83 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 4 ร้อยละ 7.41 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 6.42 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
         

 

4.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 30.77 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 20.98 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 3 ร้อยละ 13.29 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 4 ร้อยละ 6.29 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.60 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
          

ขณะที่พรรคการเมืองที่คนภาคกลางมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า

 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 32.42 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย

 

  • อันดับ 2 ร้อยละ 19.98 ระบุว่าเป็นพรรคก้าวไกล

 

  • อันดับ 3 ร้อยละ 13.99 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ

 

  • อันดับ 4 ร้อยละ 10.54 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ

 

  • อันดับ 5 ร้อยละ 7.54 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์

 

  • อันดับ 6 ร้อยละ 3.80 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย

 

  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.19 ระบุว่าเป็นพรรคชาติไทยพัฒนา

 

  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็นพรรคภูมิใจไทย

 

  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็นพรรคไทยสร้างไทย

 

  • และร้อยละ 3.59 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเทิดไท พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคเศรษฐกิจไทย

         

ส่วนพรรคการเมืองที่คนภาคกลางมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรกจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคกลาง พบว่า
         

 

1.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน อันดับ 1 ร้อยละ 32.08 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 24.01 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 16.49 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 10.04 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.84 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
         

 

2.กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล อันดับ 1 ร้อยละ 28.55 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 27.09 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล    อันดับ 3 ร้อยละ 16.07 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 9.83 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.25 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
         

 

3.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 37.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 15.06 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล   อันดับ 3 ร้อยละ 11.85 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 4 ร้อยละ 11.11 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
         

 

4.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 35.66 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 18.53 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 3 ร้อยละ 15.03 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 13.99 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.85 ระบุว่าเป็น  พรรคไทยสร้างไทย
         

 

ด้านพรรคการเมืองที่คนภาคกลางมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า

 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 32.57 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย

 

  • อันดับ 2 ร้อยละ 19.83 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

 

  • อันดับ 3 ร้อยละ 14.28 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

 

  • อันดับ 4 ร้อยละ 10.49 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

 

  • อันดับ 5 ร้อยละ 7.14 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

 

  • อันดับ 6 ร้อยละ 3.69 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

 

  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.10 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา

 

  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

 

  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

 

  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.15 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

 

  • และร้อยละ 2.70 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท พรรคประชาชาติ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

         

 

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกลางมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก จำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคกลาง พบว่า
         

 

1.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน อันดับ 1 ร้อยละ 31.54 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 25.27 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 16.67 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 10.04 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.48 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
         

 

2.กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล อันดับ 1 ร้อยละ 28.55 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 26.56 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล    อันดับ 3 ร้อยละ 16.60 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 9.83 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.99 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
         

 

3.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 39.26 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 14.82 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล   อันดับ 3 ร้อยละ 11.85 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 4 ร้อยละ 10.62 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
         

 

4.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 35.66 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 17.13 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 3 ร้อยละ 15.38 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 13.64 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.19 ระบุว่าเป็นพรรคไทยสร้างไทย
         

 

ทั้งนี้ นิด้าโพล ได้สำรวจความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวจากจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งในภาคกลาง ประกอบด้วย ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร จำนวน 2,002 หน่วยตัวอย่าง เมื่อช่วงวันที่ 2-5 พ.ย.ที่ผ่านมา