อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 รัฐบาล ใครบ้าง 11 รัฐมนตรีถูกข้อหาอะไร อ่านเลย

19 ก.ค. 2565 | 02:09 น.

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติ กล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ 11 รัฐมนตรี สร้างความเสียหายต่อประเทศ ทั้งด้านการบริหาร การทุจริตคอร์รัปชัน การเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทำประเทศตกต่ํา ประชาชนเดือดร้อน เกิดภาวะ รวยกระจุก จนกระจาย ค่าครองชีพสูง คุณภาพชีวิตต่ํา

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ของพรรคฝ่ายค้านของพรรคฝ่ายค้าน นำโดยชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ผู้นำพรรคผ่ายค้าน ที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล  ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อนายชวน หลีกภัย  ประธานสภาผู้แทนราษฎร กำลังเป็นที่จับตามองของคอการเมือง

 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้พรรคฝ่ายค้านกล่าวหาพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีรวม 11 คนครั้งนี้ว่า ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ประเทศชาติประสพความตกต่ําอย่างถึงที่สุดในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประชาชนสูญเสียโอกาส ที่จะได้คุณภาพชีวิตและหลักประกันการดํารงชีพที่ดี เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดภาวะ “รวยกระจุก จนกระจาย” และ “ค่าครองชีพสูง คุณภาพชีวิตต่ํา” หากปล่อยให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรี ดังกล่าวยังคงบริหารราชการแผ่นดินต่อไป ย่อมนํามาซึ่งความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนจนยากที่จะ เยียวยาแก้ไขได้

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 วันไหน

  • ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2565 

รัฐมนตรีที่ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 มีใครบ้าง

  1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
  2. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
  3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 
  4. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี 
  5. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  6. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 
  7. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 
  8. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
  9. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 
  10. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  11. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 

ข้อกล่าวหาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ปีที่บริหารประเทศมาในฐานะนายกรัฐมนตรี ผิดพลาดล้มเหลว ไม่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับประเทศ ไม่สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนได้เลย

 

ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นต้นตอที่ทําให้ปัญหาที่มีอยู่มีความซับซ้อน ขยายวงกว้างและรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง อาชญากรรม ยาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชัน ประชาชนในชาติแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายขยายวงกว้างขึ้นมากกว่าเดิม

 

โดยเฉพาะปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในยุคของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับว่ามีสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยแพร่กระจายไปทุกอณูของสังคม เป็นยุคที่ทุจริตเฟื่องฟู ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรั้งท้ายของอาเซียน

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 รัฐบาล ใครบ้าง 11 รัฐมนตรีถูกข้อหาอะไร อ่านเลย

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ไร้ภูมิปัญญา ไร้องค์ความรู้ ไร้ความสามารถ ไร้ประสิทธิภาพ ไร้จิตสํานึก รับผิดชอบ ขาดภาวะความเป็นผู้นําที่จะเป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้นําที่พิการทางความคิด ยึดติดแต่อํานาจ ไม่เคารพหลักนิติรัฐนิติธรรม ไร้คุณธรรมจริยธรรม

 

ทําให้การบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาด บกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรงทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีพฤติกรรมปล่อยปละละเลยให้บุคคลแวดล้อม และพวกพ้องของตนแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 

 

โดยละเว้นเพิกเฉยต่อการทุจริตในภาครัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง การใช้จ่าย งบประมาณมิได้คํานึงถึงวินัยการเงินการคลัง มุ่งแต่ก่อหนี้เพื่อแสวงหาคะแนนนิยมทางการเมือง โดยไม่สนใจ ต่อภาระหนี้สาธารณะและหนี้สินต่อหัวของประชาชน

 

จนเรียกได้ว่า “เป็นยุคก่อหนี้มหาศาลเพื่อนํามาผลาญ โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชน” ไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ไม่ใส่ใจ และไม่ดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินตามข้อกล่าวหาและคําแนะนําของสภา จงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

 

นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ ขาดจิตสํานึกในความเป็นประชาธิปไตย ไร้การเคารพซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน มุ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ปิดปากประชาชนและปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน ใช้งบประมาณเพื่อการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ไม่มีความจําเป็นต่อภารกิจของประเทศในภาวะที่ประเทศ มีปัญหาด้านเศรษฐกิจที่รุนแรง ไม่กํากับดูแลการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล ไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 รัฐบาล ใครบ้าง 11 รัฐมนตรีถูกข้อหาอะไร อ่านเลย

ผลจากการบริหารประเทศของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับวันจะทําให้ประเทศถอยหลัง เศรษฐกิจของประเทศดิ่งเหว ประชาชนที่ยากจนอยู่แล้วยิ่งยากจนลงเรื่อย ๆ ความเหลื่อมล้ําระหว่างคนจนกับคนรวยขยายวงกว้างมากขึ้น ผู้คนตกงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่มีงานทํา เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น นักลงทุนใหม่ก็เข้ามาลงทุนน้อยลง

 

ขณะที่ปัญหาสังคม ทั้งยาเสพติด อาชญากรรมโดยเฉพาะอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นสร้างความเสียหายและ ความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยที่ภาครัฐไม่สามารถป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ภายใต้สถานการณ์ความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของประชาชนดังกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับปล่อยให้พวกพ้องและบุคคลแวดล้อมของตนเองกระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง ไม่ใส่ใจที่จะป้องกันและปราบปราม มีการใช้เงินและการต่อรองผลประโยชน์เพื่อความอยู่รอดทางการเมือง ของตนเอง อันเป็นการทําลายระบบรัฐสภาและหลักการประชาธิปไตย จนทําให้ระบบรัฐสภาตกต่ําสั่นคลอน และกลไกในระบบรัฐสภาเสียหาย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า มีพฤติกรรมฉ้อฉล ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ รู้เห็นเป็นใจหรือปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ในองค์กรหรือหน่วยงานในกํากับดูแล สร้างความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่ แสวงหาผลประโยชน์สําหรับตนเองและพวกพ้อง ไม่ระงับยับยั้ง ละเลยไม่ติดตามแก้ไขปัญหาการทุจริตเพื่อให้ มีการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รัฐ

 

นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่านายจุรินทร์ ล้มเหลวและไร้ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงในกํากับดูแล ปล่อยให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นจนกระทบต่อการดําเนินชีวิตของ ประชาชนและการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชน จนส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกหย่อมหญ้า จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อํานาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ไร้คุณธรรมจริยธรรม ไร้จิตสํานึกของการเป็นนักการเมืองที่ดี มีพฤติกรรม ทําลายระบบการเมืองด้วยการรู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนการใช้เงินและผลประโยชน์เพื่อมุ่งดึง ส.ส. จาก พรรคการเมืองอื่นเข้าสังกัดกลุ่มการเมืองของตน โดยไม่คํานึงถึงหลักการประชาธิปไตยและคุณธรรมทางการเมือง

 

ทําให้ระบบการเมืองถอยหลังไปสู่ยุคการใช้เงินและผลประโยชน์สร้างฐานอํานาจทางการเมือง อันถือเป็นธุรกิจ การเมืองที่ทําลายอุดมการณ์ประชาธิปไตย เปลี่ยนจากระบบคุณธรรมนําการเมืองเป็นใช้เงินและผลประโยชน์ นําการเมือง 

 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล ยังล้มเหลวผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง ไร้ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการของกระทรวงสาธารณสุข มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเกินความจําเป็นและไม่เกิดประโยชน์ เกิดความเสียหายแก่งบประมาณของประเทศ มุ่งเอื้อประโยชน์ให้เพื่อนพ้องบริวาร แสวงหาประโยชน์ จากตําแหน่งและหน้าที่ของตน จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า จงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและ กฎหมาย ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มุ่งสร้างความมั่งคั่งในตําแหน่งหน้าที่ รู้เห็นเป็นใจหรือ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่คํานึงถึงความเสียหายที่เกิดกับประเทศ ไร้จิตสํานึกและไร้ความรับผิดชอบต่อตําแหน่งหน้าที่ ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันและปราบปราม การทุจริต แต่กลับทําตนเป็นแบบอย่างของการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต เมื่อพบเห็นการทุจริตกลับปกป้องและไม่ดําเนินการแก้ไข

 

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ขาดซึ่งธรรมมาภิบาล บริหารราชการแผ่นดินผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง ใช้อํานาจหน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตของหน่วยงานในกํากับดูแล อย่างกว้างขวาง เมื่อรู้ว่ามีการทุจริตกลับไม่ระงับ ยับยั้ง แต่กลับรู้เห็นยินยอมให้มีการกระทําดังกล่าวจนทําให้ การทุจริตเป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทําให้ระบบราชการและประเทศชาติได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง

 

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติ มีพฤติกรรมใช้อํานาจ ในตําแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ดําเนินนโยบายโดยไม่คํานึงถึงความคุ้มค่า ในด้านการใช้จ่ายงบประมาณ มีการใช้งบประมาณจํานวนมากโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและ ประโยชน์สาธารณะ

 

ทําให้ประเทศสูญเสียโอกาสและงบประมาณจํานวนมหาศาล ใช้สถานะหรือตําแหน่ง กระทําการโดยทางตรงและทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ในกระทรวงคมนาคม เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และพรรคการเมืองที่ตนสังกัด ละเว้นไม่ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดจนเกิดความเสียหายต่อแผ่นดิน

 

นายศักดิ์สยาม ไม่ดูแลให้เกิดการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม มีผลประโยชน์ทับซ้อนและกระทําการขัดกันแห่งผลประโยชน์ จงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อํานาจ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อให้ตนเองมีส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว บกพร่องอย่างร้ายแรง ปล่อยปละละเลยให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่ทําลายระบบเศรษฐกิจและสร้างความเสียหายต่อประชาชนอย่างกว้างขวางแพร่หลาย และเพิ่มจํานวนมากขึ้น

 

โดยไม่สนใจ และขาดความรู้ความสามารถที่จะป้องกันและปราบปราม สนใจเอาผิดแต่เฉพาะกับกลุ่มบุคคล นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้อํานาจในตําแหน่ง หน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง บริวาร และพวกพ้อง

 

นอกจากนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ยังมีพฤติการณ์ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย มีความประพฤติเสื่อมเสีย ทางศีลธรรมอันดี ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ล้มเหลว ไร้ความรู้ ความสามารถในการดูแลงานด้านพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ปล่อยให้ประชาชนขาดไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ ขณะที่การใช้งบประมาณแผ่นดินกลับมุ่งเพื่อแสวงหาประโยชน์สําหรับตนเองและพวกพ้อง ทําให้คุณภาพชีวิตของประชาชน ตกต่ํา ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง

 

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ มีพฤติกรรมทุจริตต่อหน้าที่ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและแสวงหาประโยชน์ในหน่วยงาน ที่กํากับดูแล เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ไม่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง

 

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไร้ความรู้ ความสามารถ ในการบริหารราชการแผ่นดิน มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ จงใจปฏิบัติ หน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ปล่อยปละละเลย รู้เห็น สนับสนุนให้มีการทุจริตและแสวงหาผลประโยชน์ภายใน หน่วยงานในกํากับดูแล ไม่ดําเนินการตรวจสอบ ระงับ ยับยั้ง และป้องกันการทุจริตจนทําให้เกิดความเสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรง

 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านกล่าวหาว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีพฤติการณ์ส่อไปทางทุจริตและประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ กระทําการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง

 

จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ปล่อยปละละเลยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการนําแรงงาน ต่างด้าวเข้าประเทศ เอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใหญ่ในการใช้ประโยชน์จากแรงงานโดยผิดกฎหมาย ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

 

คิวรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565

19 ก.ค. 2565 

  • นายอนุทิน ชาญวีรกุล ในประเด็นการเปิดกัญชาเสรี มีผู้อภิปรายด้วยอีก 4 คน 
  • นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ผู้อภิปรายร่วม 6 คน 
  • นายสุชาติ  ชมกลิ่น 
  • นายจุติ ไกรฤกษ์ 
  • นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

20 ก.ค. 2565 

  • นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ 
  • นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย
  • นายสันติ  พร้อมพัฒน์ 

21-22 ก.ค. 2565

  • พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกฯ
  • พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย 
  • พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา 30 ชั่วโมง

ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 

  • 23 ก.ค. 2565