"วัฒนา"เดินทางมาศาล ฟังคำพิพากษา คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร

04 มี.ค. 2565 | 06:14 น.

"วัฒนา เมืองสุข "เดินทางมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฟังคำพิพากษาคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร

วันที่ 4 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เดินทางมาณศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง   เพื่อฟังคำพิพากษาอุทธรณ์คดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ หมายเลขดำ อม.อธ. 1/2565

 

โดยอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา และพวกรวม 14 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6, 11

 

ภายหลังจากที่ นายวัฒนา ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2560) เพื่ออุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกา หลังรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ผู้ต้องคำพิพากษาอุทธรณ์คดีต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานใหม่ แต่อย่างใด 

นายวัฒนา เมืองสุข

สำหรับคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรนี้  เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และเริ่มตรวจสอบการกระทำผิดในช่วงของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ก่อนเปลี่ยนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนต่อ

 

กระทั่งปี 2560 ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดนายวัฒนา พร้อมจำเลยคนอื่นๆ อีก 14 คน กรณีทุจริตเรียกรับสินบนจากบริษัท พาสทิญ่า จำกัด ผู้รับเหมาโครงการบ้านเอื้ออาทร ผ่านบริษัทและลูกจ้างบริษัท เพรซิเด้นท์เทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 82.6 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติในการเข้าเป็นคู่สัญญากับการเคหะแห่งชาติ แต่ได้มีการจ่ายสินบนเพื่อให้สามารถเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐได้ 

 

หลังจาก ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้อัยการ ปรากฏว่า อัยการพบความไม่สมบูรณ์ใน

นายวัฒนา เมืองสุข

 

ศาลฎีกาฯ พิพากษาเมื่อ 24 ก.ย. 63 เห็นว่าพวกจำเลยร่วมกันกระทำผิดจริง โดยนายวัฒนา จำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 148 รวมความผิด 11 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 9 ปี รวมจำคุกเป็นเวลา 99 ปี และจำคุกเสี่ยเปี๋ยง หรือนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร จำเลยที่ 4 เป็นเวลา 66 ปี แต่ตามกฎหมายให้จำคุกได้สูงสุด 50 ปี จำคุกน.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง จำเลยที่ 5 เป็นเวลา 20 ปี น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว จำเลยที่ 6 เป็นเวลา 44 ปี จำเลยที่ 7 เป็นเวลา 32 ปี ปรับจำเลยที่ 8 จำนวน 2 แสนกว่าบาท และจำคุก นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จำเลยที่ 10 เป็นเวลา 4 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2, 3, 9, 11-14 

 

ในส่วนของนายวัฒนา ได้อุทธรณ์คดี ในชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ของศาลฎีกาฯ และได้แถลงปิดคดีด้วยวาจา ยืนยันว่า สำนวนการสอบสวนคดีนี้ มีความผิดปกติหลายประเด็น และตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายอภิชาติที่แอบอ้างชื่อตัวเองไปเรียกรับผลประโยชน์กับบริษัทเอกชน อีกทั้ง ปปง.ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินแล้วไม่พบความผิดปกติ ซึ่งศาลฎีกาฯ นัดฟังคำพิพากษาวันนี้