“นิพนธ์”กำชับหลังโควิด-19 คลายเร่งอบรมออนไลน์ E-Government พยุงภาคธุรกิจ

06 ต.ค. 2564 | 10:21 น.

“นิพนธ์”มอบนโยบายผู้บริหารมหาดไทย ชูหลังโควิดคลายเร่งอบรมออนไลน์-E-Government พยุงภาคธุรกิจ พร้อมเน้นย้ำผู้ว่าฯ ภาคใต้เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยฤดูมรสุม  

วันที่ 6 ตุลาคม  2564 ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงข้อราชการสำคัญผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference)

 

โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมชี้แจงข้อราชการสำคัญ พร้อมด้วยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

 

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณจังหวัด กลุ่มจังหวัด และงบประมาณท้องถิ่น ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อ ศบค.มีการผ่อนคลายมาตรการรวมกลุ่มของบุคคลให้สามารถจัดการฝึกอบรม-สัมมนาได้ โดยเป็นลักษณะอบรมออนไลน์ รวมทั้ง การดำเนินงานต่างๆ โดยผ่านระบบ e-government เพื่อเพิ่มทักษะองค์ความรู้ให้แก่ผู้อบรมสามารถนำไปต่อยอดได้

        “นิพนธ์”กำชับหลังโควิด-19 คลายเร่งอบรมออนไลน์ E-Government พยุงภาคธุรกิจ

          “นิพนธ์”กำชับหลังโควิด-19 คลายเร่งอบรมออนไลน์ E-Government พยุงภาคธุรกิจ


ขณะเดียวกันให้ส่วนราชการได้พิจารณาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ ด้วยการจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบ ในโรงแรมในพื้นที่ เพื่อให้เงินหมุนเวียนในจังหวัด ถือเป็นการช่วยพยุงภาคธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สนับสนุนให้หน่วยงานราชการจัดการอบรมสัมมนาโดยใช้บริการโรงแรมภายในจังหวัด เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมให้ยังคงสามารถประกอบการและกระตุ้นการใช้จ่ายทั้งสินค้า อาหารและบริการ และช่วยชะลอการเลิกจ้าง

                “นิพนธ์”กำชับหลังโควิด-19 คลายเร่งอบรมออนไลน์ E-Government พยุงภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังมอบนโยบายถึงการเตรียมการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยจังหวัดในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ลงไป โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงพฤศจิกายน ต้องเตรียมรับมือสถานการณ์ ทั้งการพร่องน้ำ ทำที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหลและสำรวจสถานที่รองรับน้ำ โดยเตรียมพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย และเครื่องสูบน้ำ พร้อมมาตรการเยียวยาความเสียหายในพื้นที่หลังสถานการณ์กลับสู่ปกติ

              “นิพนธ์”กำชับหลังโควิด-19 คลายเร่งอบรมออนไลน์ E-Government พยุงภาคธุรกิจ


การฟื้นฟูเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัย ต้องมีความแม่นยำถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย การเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกันของประชาชนโดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคใต้ ให้ดูแลกำชับอย่าให้มีการรวมตัวกัน หรือห้ามมีบ่อน การเล่นพนันในพื้นที่ เนื่องจากในพื้นที่ยังพบว่ามีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการจัดการน้ำเสีย ให้สำรวจสถานที่ในจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดการน้ำเสีย และร่วมกับองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) จัดทำแผนแม่บทจัดการน้ำเสียในพื้นที่