11 ธ.ค. 2561 เวลา 7:38 น. 268
กกต. แถลงปฏิทินเลือกตั้ง คาดประกาศ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 2-4 ม.ค. เลือกตั้ง 24 ก.พ. 2561 รู้คะแนนไม่เป็นทางการ 4 ทุ่ม ย้ำ! ปมบัตรเลือกตั้งรอ กกต. ตัดสินใจ ก่อนเริ่มพิมพ์บัตร 52 ล้านฉบับ เผย อาจได้เห็นบัตรยาว 2 ฟุต
วันนี้ (11 ธ.ค. 61) นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธ.ค. นี้แล้ว และปฏิทินจัดการเลือกตั้งที่ผ่านความเห็นชอบของ กกต. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เลือกตั้ง ประกาศออกมาในวันที่ 2 ม.ค. 2562 ในวันที่ 4 ม.ค. 2562 กกต. จะประกาศกำหนดให้วันที่ 24 ก.พ. 2562 เป็นวันเลือกตั้ง และวันที่ 14-18 ม.ค. 2562 เป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง และกำหนดวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรพร้อมกัน คือ ตั้งแต่วันที่ 10-24 ม.ค. 2562
ขณะที่ การใช้สิทธินอกราชอาณาจักรให้สถานทูตและสถานกงสุลเป็นผู้กำหนด แต่วันสุดท้ายจะเป็นวันที่ 16 ก.พ. 2562 เนื่องจากต้องนำบัตรกลับมานับพร้อมกับบัตรลงคะแนนล่วงหน้าในประเทศในหน่วยเลือกตั้งที่กำหนดขึ้น โดยจะนับหลังปิดการลงคะแนนในวันที่ 24 ก.พ. 2562
นายณัฎฐ์ กล่าวถึงเรื่องของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ว่า สำนักงานเตรียมไว้ 2 รูปแบบ คือ บัตรที่มีความพร้อมสมบูรณ์ ทั้งหมายเลข ชื่อ และโลโก้พรรค และบัตรที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัครอย่างเดียว ซึ่งจะรวบรวมข้อดีข้อเสียเสนอต่อ กกต. ภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะนำรูปแบบที่ กกต. เลือกและการกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของบัตรใส่ในทีโออาร์ เพื่อหาผู้รับจ้างจัดพิมพ์ หาก กกต. เลือกรูปแบบบัตรสมบูรณ์ หลังปิดรับสมัครสำนักงานฯ จะสรุปข้อมูลผู้สมัครทั้ง 350 เขต ส่งไปยังผู้จัดพิมพ์ ซึ่งบัตรแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้สมัครแตกต่างกัน
โดยประมาณไว้ว่า ในจังหวัดที่มีผู้สมัครมากที่สุดอาจมีถึง 60 หมายเลข และอาจจะยาวถึง 2 ฟุต และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงจะพิมพ์ที่ส่วนกลางทั้งหมด โดยโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพสามารถพิมพ์บัตร 52 ล้านฉบับ การจัดพิมพ์ผู้จัดพิมพ์จะเริ่มพิมพ์ในวันที่ 20 ม.ค. 2562 และคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน จะส่งบัตรล็อตแรกไปยังสถานทูตและสถานกงสุล ซึ่งจะรอการปิดยอดลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในวันที่ 24 ม.ค. 2562 คาดว่าการนำส่งบัตรจะแล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 26 ม.ค. 2562 และเตรียมที่จะหารือกับกระทรวงการต่างประเทศในการตั้งประเทศเซ็นเตอร์ เพื่อนำส่งบัตรสำรองให้กับผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิที่อาจไม่ได้รับบัตรในรอบแรก
"การจัดส่งบัตรไปยัง 350 เขต ก็ไม่ต้องห่วงเรามีระบบจีพีเอสติดตาม จะแสดงสถานะปัจจุบันว่า การขนส่งอยู่ที่ใด และเรามีเลขที่ลำดับของกล่องบัตรคอยควบคุม ไม่ต้องเป็นห่วง เรื่องบัตรมีปัญหาทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แบบสองขา หรือ แถวเดียว ซึ่ง กกต. ต้องพิจารณาตัดสินใจ ที่ผ่านมามีการร้องถึงขั้นช่องกาบัตรของพรรคอยู่ใกล้กับช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรามองข้ามประชาชน ประชาชนเขาไม่ได้เป็นอย่างที่วิจารณ์ เขารู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเลือกใคร จะลงคะแนนให้ใคร โดยเฉพาะผลสำรวจที่พบว่า ประชาชนในชนบทตื่นตัวมากกว่าคนในชุมชนเมือง อยากให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายไปถามประชาชน เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่ยังไม่อ่านข้อกฎหมายให้ละเอียด
นายณัฎฐ์ กล่าวอีกว่า เมื่อเข้าสู่เดือน ก.พ. 2562 กกต. จะทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าบ้าน โดยมีรายละเอียดของรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะมีข้อมูลผู้สมัครในเขตที่ผู้สิทธิเลือกตั้งจะใช้สิทธิ และจัดทำแอพพลิเคชัน "ฉลาดเลือก" ซึ่งผู้มีสิทธิกรอกหมายเลขประจำตัว 13 หลัก ก็จะทราบข้อมูลพรรคการเมือง นโยบาย และผู้มีสิทธิ ตามที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิอยู่ และในวันเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งจะติดรายชื่อผู้สมัคร หมายเลข โลโก้พรรค และชื่อพรรคไว้ในคูหา เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในวินาทีสุดท้าย มั่นใจได้ว่า กาถูกตัว ถูกพรรค และลดข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ส่วนเรื่องของการรายงานผล มีการจัดทำแอพพลิเคชันรายงานผล ซึ่งประธานกรรมการประจำหน่วยจะรายงานผลคะแนน 95% หลังปิดลงคะแนนในเวลา 17.00 น. และคาดว่า ไม่เกิน 22.00 น. สามารถสรุปผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการได้ หากคำนวณเป็นก็จะรู้ทันทีว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี
นายณัฎฐ์ กล่าวอีกว่า การที่ผู้สมัครแต่ละพรรคในแต่ละเขตจะไม่ได้เบอร์เดียวกัน กกต. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.ป.เลือกตั้ง ซึ่งในทางปฏิบัติหากพรรคการเมืองอยากให้ผู้สมัครของพรรคใช้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศ ก็คุยกันได้ กฎหมายก็เปิดช่องให้ตกลงกันได้ ทำได้ไม่ยาก วันที่ 19 ธ.ค. 2561 ซึ่ง กกต. เชิญประชุมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งก็คุยตกลงกัน ถ้าตกลงกันได้วันสมัครก็ไปแจ้งว่าจะขอใช้เบอร์พรรคตกลงกันที่กรุงเทพฯ แต่ปัญหาจะอยู่ที่พรรคซึ่งไม่ได้ส่งครบทั้ง 350 เขต หมายเลขบนบัตรจะเป็นฟันหลอทันที ก็จะเกิดคำถามย้อนกลับมาที่สำนักงาน กกต. ว่าบริหารจัดการอย่างไร เวลาคนตั้งคำถามง่ายแต่ไม่ได้หาคำตอบเอาไว้ให้ด้วย องคาพยพทั้งหมดไม่ได้เบ็ดเสร็จที่ กกต. กกต. ไม่ปิดกั้น
วันนี้ (11 ธ.ค. 61) นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธ.ค. นี้แล้ว และปฏิทินจัดการเลือกตั้งที่ผ่านความเห็นชอบของ กกต. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เลือกตั้ง ประกาศออกมาในวันที่ 2 ม.ค. 2562 ในวันที่ 4 ม.ค. 2562 กกต. จะประกาศกำหนดให้วันที่ 24 ก.พ. 2562 เป็นวันเลือกตั้ง และวันที่ 14-18 ม.ค. 2562 เป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง และกำหนดวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรพร้อมกัน คือ ตั้งแต่วันที่ 10-24 ม.ค. 2562
ขณะที่ การใช้สิทธินอกราชอาณาจักรให้สถานทูตและสถานกงสุลเป็นผู้กำหนด แต่วันสุดท้ายจะเป็นวันที่ 16 ก.พ. 2562 เนื่องจากต้องนำบัตรกลับมานับพร้อมกับบัตรลงคะแนนล่วงหน้าในประเทศในหน่วยเลือกตั้งที่กำหนดขึ้น โดยจะนับหลังปิดการลงคะแนนในวันที่ 24 ก.พ. 2562
นายณัฎฐ์ กล่าวถึงเรื่องของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ว่า สำนักงานเตรียมไว้ 2 รูปแบบ คือ บัตรที่มีความพร้อมสมบูรณ์ ทั้งหมายเลข ชื่อ และโลโก้พรรค และบัตรที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัครอย่างเดียว ซึ่งจะรวบรวมข้อดีข้อเสียเสนอต่อ กกต. ภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะนำรูปแบบที่ กกต. เลือกและการกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของบัตรใส่ในทีโออาร์ เพื่อหาผู้รับจ้างจัดพิมพ์ หาก กกต. เลือกรูปแบบบัตรสมบูรณ์ หลังปิดรับสมัครสำนักงานฯ จะสรุปข้อมูลผู้สมัครทั้ง 350 เขต ส่งไปยังผู้จัดพิมพ์ ซึ่งบัตรแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้สมัครแตกต่างกัน

โดยประมาณไว้ว่า ในจังหวัดที่มีผู้สมัครมากที่สุดอาจมีถึง 60 หมายเลข และอาจจะยาวถึง 2 ฟุต และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงจะพิมพ์ที่ส่วนกลางทั้งหมด โดยโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพสามารถพิมพ์บัตร 52 ล้านฉบับ การจัดพิมพ์ผู้จัดพิมพ์จะเริ่มพิมพ์ในวันที่ 20 ม.ค. 2562 และคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน จะส่งบัตรล็อตแรกไปยังสถานทูตและสถานกงสุล ซึ่งจะรอการปิดยอดลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในวันที่ 24 ม.ค. 2562 คาดว่าการนำส่งบัตรจะแล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 26 ม.ค. 2562 และเตรียมที่จะหารือกับกระทรวงการต่างประเทศในการตั้งประเทศเซ็นเตอร์ เพื่อนำส่งบัตรสำรองให้กับผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิที่อาจไม่ได้รับบัตรในรอบแรก
"การจัดส่งบัตรไปยัง 350 เขต ก็ไม่ต้องห่วงเรามีระบบจีพีเอสติดตาม จะแสดงสถานะปัจจุบันว่า การขนส่งอยู่ที่ใด และเรามีเลขที่ลำดับของกล่องบัตรคอยควบคุม ไม่ต้องเป็นห่วง เรื่องบัตรมีปัญหาทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แบบสองขา หรือ แถวเดียว ซึ่ง กกต. ต้องพิจารณาตัดสินใจ ที่ผ่านมามีการร้องถึงขั้นช่องกาบัตรของพรรคอยู่ใกล้กับช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรามองข้ามประชาชน ประชาชนเขาไม่ได้เป็นอย่างที่วิจารณ์ เขารู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเลือกใคร จะลงคะแนนให้ใคร โดยเฉพาะผลสำรวจที่พบว่า ประชาชนในชนบทตื่นตัวมากกว่าคนในชุมชนเมือง อยากให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายไปถามประชาชน เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่ยังไม่อ่านข้อกฎหมายให้ละเอียด
นายณัฎฐ์ กล่าวอีกว่า เมื่อเข้าสู่เดือน ก.พ. 2562 กกต. จะทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าบ้าน โดยมีรายละเอียดของรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะมีข้อมูลผู้สมัครในเขตที่ผู้สิทธิเลือกตั้งจะใช้สิทธิ และจัดทำแอพพลิเคชัน "ฉลาดเลือก" ซึ่งผู้มีสิทธิกรอกหมายเลขประจำตัว 13 หลัก ก็จะทราบข้อมูลพรรคการเมือง นโยบาย และผู้มีสิทธิ ตามที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิอยู่ และในวันเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งจะติดรายชื่อผู้สมัคร หมายเลข โลโก้พรรค และชื่อพรรคไว้ในคูหา เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในวินาทีสุดท้าย มั่นใจได้ว่า กาถูกตัว ถูกพรรค และลดข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ส่วนเรื่องของการรายงานผล มีการจัดทำแอพพลิเคชันรายงานผล ซึ่งประธานกรรมการประจำหน่วยจะรายงานผลคะแนน 95% หลังปิดลงคะแนนในเวลา 17.00 น. และคาดว่า ไม่เกิน 22.00 น. สามารถสรุปผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการได้ หากคำนวณเป็นก็จะรู้ทันทีว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี
นายณัฎฐ์ กล่าวอีกว่า การที่ผู้สมัครแต่ละพรรคในแต่ละเขตจะไม่ได้เบอร์เดียวกัน กกต. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.ป.เลือกตั้ง ซึ่งในทางปฏิบัติหากพรรคการเมืองอยากให้ผู้สมัครของพรรคใช้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศ ก็คุยกันได้ กฎหมายก็เปิดช่องให้ตกลงกันได้ ทำได้ไม่ยาก วันที่ 19 ธ.ค. 2561 ซึ่ง กกต. เชิญประชุมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งก็คุยตกลงกัน ถ้าตกลงกันได้วันสมัครก็ไปแจ้งว่าจะขอใช้เบอร์พรรคตกลงกันที่กรุงเทพฯ แต่ปัญหาจะอยู่ที่พรรคซึ่งไม่ได้ส่งครบทั้ง 350 เขต หมายเลขบนบัตรจะเป็นฟันหลอทันที ก็จะเกิดคำถามย้อนกลับมาที่สำนักงาน กกต. ว่าบริหารจัดการอย่างไร เวลาคนตั้งคำถามง่ายแต่ไม่ได้หาคำตอบเอาไว้ให้ด้วย องคาพยพทั้งหมดไม่ได้เบ็ดเสร็จที่ กกต. กกต. ไม่ปิดกั้น
