3 นักวิชาการ ฉายอนาคตประชาธิปไตยหลังมีรัฐธรรม 2560

23 มิ.ย. 2560 | 08:25 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“ชาติชาย” ชี้ ประชาธิปไตยไทย 85 ปี ไม่โต เหตุยึดติดโครงสร้างระบบอุปถัมภ์ เผย รธน. 2560 วางหลักคุมการใช้อำนาจรัฐเข้ม หวังแก้ปัญหา ด้าน “สิริพรรณ” ระบุ พลังพรรคการเมือง-ประชาชน ยังแตกแยก หวั่นอนาคต ไม่มีใครคานอำนาจ สว.แต่งตั้ง-นายกฯคนนอกได้ ด้าน“ปริญญา” ยัน รธน.ปัจจุบันต่อยอดอำนาจ คสช.

วันนี้ (23 มิถุนายน) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเวทีราชดำเนินเสวนาในหัวข้อ “85 ปี ประชาธิปไตยไทยจะไปทางไหนดี?” นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) สะท้อนภาพประเทศไทยหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า ปัญหาหนึ่งของประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา คือ การเป็นรัฐรวมศูนย์ที่ระบบราชการมีอำนาจและบทบาทสูงมาก ซึ่งสถาบันทางการเมืองที่ควรเป็นหลักในการสร้างรากฐานประชาธิปไตยอย่างพรรคการเมืองก็ไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และยังยึดติดกับโครงสร้างระบบอุปถัมภ์แบบเก่า จนทำให้ประชาธิปไตยไม่สามารถเติบโตเข้มแข็งได้ ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้วางหลักการในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐอย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งหวังว่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาเบื้องต้นได้

[caption id="attachment_168160" align="aligncenter" width="351"] นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ นายชาติชาย ณ เชียงใหม่[/caption]

ด้านรศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าที่ผ่านมาในทางวิชาการ ประเทศไทยไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หากแต่มีการวิเคราะห์ว่า เป็นการเมืองในรูปแบบผสมตลอดเวลา หากมองเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในต่างประเทศแล้ว ส่วนมากมักจะเกิดจากการร่วมมือกันของพลังฝ่ายต่อต้านเผด็จการที่แตกต่างกัน และบทบาทของผู้นำทางการเมืองที่เข้มแข็ง ซึ่งเมื่อดูในบริบทของประเทศไทย จะพบว่า พลังของทั้งพรรคการเมืองและประชาชนในฝ่ายต่างๆยังคงแตกแยกไม่สามารถรวมตัวกันได้ ซึ่งในอนาคตมีความน่ากังวล ว่าจะสามารถมีอะไรไปคานกับอำนาจของ สว.แต่งตั้งและนายกฯคนนอกได้หรือไม่

 

[caption id="attachment_168159" align="aligncenter" width="503"] ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล[/caption]

ขณะที่ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มองไปถึงแนวโน้มในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยตั้งข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางกรอบสำหรับการต่อยอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เอาไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจตามมาตรา 44 ยังคงบังคับใช้ได้อยู่ หรือการเปิดช่องให้การเขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หากไม่สำเร็จสามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้เรื่อยๆ