พยากรณ์อากาศวันนี้ -3 มี.ค.ไทยตอนบนฟ้าหลัว อากาศร้อน ฝนตกบางแห่ง

26 ก.พ. 2567 | 18:15 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ -3 มี.ค.67 ไทยตอนบนอากาศร้อน ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 39 องศา ส่วนวันที่ 1-3 มี.ค.เตรียมรับมือพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก เช็คสภาพอากาศรายภาคที่นี่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ - 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า)โดยแต่ละภาคมีอากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ทั้งนี้สามารถตรวจสอบสภาพอากาศแต่ละภาคว่ามีอุณหภูมิสูงสุด -ต่ำสุด กี่องศาเซลเซียส ได้ดังต่อไปนี้ 

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส  ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

วันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง  อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคเหนือ
วันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 39 องศาเซลเซียส  ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

วันที่ 2 - 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณตอนล่างอุณหภูมิต่ำสุด 16 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศภาคเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 27 - 29 ก.พ. 67 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

วันที่ 1 - 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

กรมอุตุฯพยากรณ์ภาคอีสาน อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง

ภาคกลาง
วันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 39 องศาเซลเซียส 

วันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก
วันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
วันที่ 26 - 28 ก.พ. 67 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎ์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

วันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส 

วันที่ 26 – 28 ก.พ. 67 

  • ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 

  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)  อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดไทม์ไลน์สภาพอากาศทั่วไทยวันนี้ -3 มีนาคม 2567 ดังนี้

วันที่ 27 - 29 ก.พ. 67 

  • ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

วันที่ 1 - 3 มี.ค. 67 

  • บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

วันที่ 26 - 28 ก.พ. 67 

  • ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 

  • ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวังวันที่ 1- 3 มี.ค. 67 

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย