วันสงกรานต์ 2566 เปิดที่มาทำไมต้อง "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่"

11 เม.ย. 2566 | 05:48 น.

วันสงกรานต์ 2566 เปิดที่มาทำไมต้อง "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" ซึ่งจะเริ่มปฎิบัติกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์

วันสงกรานต์ 2566 (Songkran 2023) ถือเป็นวันหยุดถือเป็นวันหยุดยาวตามประเพณี และเป็นวันหยุดราชการ  ตั้งแต่วันที่ 13-17 เมษายน 2566 รวม 5 วัน แต่ในส่วนของภาคเอกชนขึ้นอยู่กับของแต่ละแห่งว่าจะหยุดทำการต่อเนื่องกี่วันไม่ได้เป็นการบังคับ 

โดย สงกรานต์ 2566 เป็นปีที่มีการผ่อนคลายเรื่องการจัดการเล่นน้ำ หลายจังหวัดเปิดให้เล่นน้ำกันได้ 

 

"เทศกาลสงกรานต์ 2566" มีประเพณีที่สำคัญก็คือ "รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นพิธีโบราณของทางเหนือ 

"รดน้ำดำหัว" มาจากคำว่า "ดำหัว" ที่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า การรดน้ำ ใช้เรียกเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เพื่อขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป และขอพรปีใหม่ ซึ่งจะมีการอาบน้ำทั้งตัว และดำหัวคือสระผมด้วย

 

ชาวล้านนาไทย "ดำหัว" หมายถึง การสระผม แต่ในพิธีกรรมเทศกาลสงกรานต์จะหมายถึ
ง การสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลให้หมดไป จึงใช้คำว่า "ดำหัว" มาต่อท้ายคำว่า "รดน้ำ" กลายเป็นคำซ้อนว่า "รดน้ำดำหัว"

การรดน้ำดำหัวในปัจจุบัน จะปฎิบัติกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ หรือ วันเถลิงศก เพียงวันเดียว โดยบุตรหลานของผู้สูงอายุไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับมาบ้านเกิดเพื่อรวมตัวกัน รดน้ำดำหัว และขอพรจากผู้สูงอายุ

ข้อมูล : SOOK Magazine ISSUE NO.5