4 เรื่องที่คนไทย เจอหลอก-ถูกเอาเปรียบ มากสุดในปี 2565

12 มี.ค. 2566 | 01:31 น.

สศช. เปิดข้อมูล 4 เรื่องที่คนไทย ผู้บริโภค เจอหลอก-ถูกเอาเปรียบ มากที่สุดในรอบปี 2565 จากข้อมูลของ สคบ. และ กสทช. รวบรวมรายละเอียด เช็คข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เปิดรายงาน ภาวะสังคมไทยในปี 2565 พบข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการถูกหลอกลวง และถูกเอาเปรียบของคนไทย ผ่านการรับเรื่องร้องเรียน ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 

4 เรื่องที่คนไทย เจอหลอก-ถูกเอาเปรียบ มากที่สุด

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานข้อมูลด้านสังคมเกี่ยวกับ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาการเจอหลอกลวง และถูกเอาเปรียบ ซึ่งตลอดปี 2565 มีสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคที่น่าสนใจ ดังนี้ 

1. การหลอกลวงให้ประชาชนเปิดบัญชีม้า 

ข้อมูลในปี 2565 มีการหลอกลวงให้ประชาชนขายบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งส่านักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการอายัดบัญชีม้าจ่านวนทั้งสิ้น 58,463 บัญชี 

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. .... เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงิน และลงโทษผู้ที่เปิดบัญชีม้า นอกจากนี้ ประชาชนเองจะต้องรู้เท่าทันและระมัดระวังการทำธุรกรรมทางการเงินของตนเองให้มากขึ้น

2. การหลอกกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันเถื่อน 

เรื่องการหลอกกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันเถื่อน เป็นประเด็นที่มีการร้องเรียนผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสูงที่สุดของปี 2565 คิดเป็น 23.3% จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 2,090 เรื่อง โดยมี
ทั้งกรณีหลอกให้กู้แล้วได้เงินจริงแต่เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และกรณีกู้เงินที่ไม่ได้เงิน แต่ยังต้องเสียเงิน ทำให้ประชาชนที่หลงเชื่อเสี่ยงเป็นหนี้เพิ่มโดยไม่รู้ตัว

3. ปัญหาการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะ

ปัญหาการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะรถแท็กซี่ จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกปี 2565 พบว่า รถโดยสารสาธารณะที่ประชาชนร้องเรียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์มากที่สุด คือ รถแท็กซี่จ่านวน 14,158 เรื่อง ส่วนประเด็นข้อร้องเรียนส่วนใหญ่ คือ แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ ขับรถประมาทน่าหวาดเสียว ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร แม้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วกว่า 95.76% 

อย่างไรก็ตาม ควรมีมาตรการยกระดับมาตรฐานการให้บริการและกำหนดบทลงโทษที่เข้มงวดขึ้น และสอดรับกับการปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารแท็กซี่รอบใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร 

4. ปัญหารถรับส่งนักเรียนไม่ปลอดภัย

ช่วงที่ผ่านมา มีเด็กนักเรียนจำนวนมากโดยเฉพาะเด็กเล็ก มักตกเป็นเหยื่อความประมาท การละเลยกฎหมายของบริการรถรับส่งโรงเรียน จากข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์รถรับส่งนักเรียนไม่ปลอดภัย พบว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2565 เกิดอุบัติเหตุรถรับส่งนักเรียนมากถึง 6 ครั้ง โดยมีนักเรียนบาดเจ็บจ่านวน 65 คน

นอกจากนี้ ยังมีกรณีอื่น ๆ อาทิ เด็กหลับและลืมเด็กไว้ในรถ รถรับส่งนักเรียนไม่ได้มาตรฐาน เมาแล้วขับ โดยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท่าให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียในหลายครั้ง