ส่องโครงสร้างเอนไซม์ พัฒนา"ยาต้านวัณโรค"

16 ม.ค. 2566 | 08:09 น.

วัณโรคเป็นหนึ่งในภัยคุกคามชีวิตมนุษยชาติ ไทยเป็น 1 ใน 18 ประเทศที่มีผู้ป่วยใหม่และแพร่เชื้อสูง เป็นปัญหาที่ยังควบคุมไม่ได้  ไอโซไนอาซิด เป็นยาหลักใช้มานานกว่า 60 ปี

เวลานี้มีปัญหาการดื้อยาของเชื้อ ทั้งแบบหลายชนิดและแบบรุนแรง ยิ่งวัณโรคเกิด
ร่วมเอดส์ ประสิทธิภาพยายิ่งลดลง

 

ดร.พรพรรณ สนใจวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพยาต้านวัณโรคมานาน ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 3 ผลงานเด่นในการประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) เมื่อปี 2557

ส่องโครงสร้างเอนไซม์ พัฒนา"ยาต้านวัณโรค"

ในการศึกษาค้นคว้าสารตัวใหม่ ที่ผ่านการทดสอบและพบว่าออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ InhA และยับยั้งเชื้อวัณโรค เพื่อนำไปพัฒนาเป็นยารักษาวัณโรคต่อไป
 

 

รศ.ดร.พรพรรณ พึ่งโพธิ์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สนใจและศึกษาด้านเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

 

มีผลงานวิจัยมากกว่า 20 ทุน บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ หรือสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการหลายสิบรายการ งานเขียนตำราและหนังสือ ตลอดจนผลงานสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรร่วมกับทีมงาน 2 รายการ

 

ล่าสุด ร่วมกับดร.ชมภูนุช ส่งสิริฤทธิกุล นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง ใช้แสงซินโครตรอน วิเคราะห์คุณสมบัติของ 3NP สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ไปยับยั้งเอนไซม์สำคัญ ในการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย M.tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค

 

แสงซินโครตรอนได้เผยโครงสร้าง 3 มิติของเอ็นไซม์ ที่สามารถบอกถึงตำแหน่ง และชนิดพันธะระหว่างโครงสร้างโปรตีน เพื่ออธิบายการออกฤทธิ์และการยับยั้งเอนไซม์สร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้ ทำให้เห็นเส้นทางพัฒนายาต้านวัณโรคชัดเจนขึ้น

 

และในอนาคตยังสามารถดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีของยาต้นแบบ และปรับปรุงอนุพันธ์สารยับยั้ง 3NP ที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

 

นำไปสู่การทดลองและพัฒนายาต้านวัณโรคใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

คอลัมน์ สปอตไลต์ หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,853 วันที่15-18 มกราคม พ.ศ.2566