มูลนิธิครูยุ่น ตีสั่งสอน ใช้แรงงาน ทำได้หรือไม่ เปิดกฎหมาย ดูชัดๆ

04 พ.ย. 2565 | 06:32 น.

มูลนิธิครูยุ่น ตีสั่งสอน ทำได้หรือไม่ แค่ไหน กฎหมายคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546) และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดูชัดๆ

จากกรณี ครูยุ่น หรือ นายมนตรี สินทวิชัย เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อให้ปากคำและรับทราบตามหมายเรียกใน 2 ข้อหา คือ ทำร้ายร่างกายเด็ก และใช้แรงงานเด็ก  หลังจากมีการเปิดโปงเรื่องราวของมูลนิธิบ้านครูยุ่น หรือ มูลนิธิคุ้มครองเด็กสมุทรสงคราม ว่ามีการทำร้ายร่างกายเด็ก ตี และใช้แรงงานนั้น

 

ทีมข่าวฐานเศรษฐกิจ จึงเปิดดูอำนาจ หน้าที่ และขอบเขตของการ “สั่งสอน” ว่าทำได้หรือไม่ แค่ไหน

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ระบุ นิยามของ "เด็ก"  โดยมีรายละเอียด ที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างกัน ในมาตรา 4 ดังนี้

เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

 

เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่ เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรม ใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

 

เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

 

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความล่าบาก หรือเด็กที่ต้องรับ ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้

 

เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง

 

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ ศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่ กําหนดในกฎกระทรวง

นอกจากนั้น ได้ให้คำอธิบาย ของ สถานรับเลี้ยงเด็ก ,สถานสงเคราะห์ สถานแรกรับ เอาไว้แตกต่างกันด้วย

 

สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน หกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือ ผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและ เอกชน

 

"สถานแรกรับ" หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อ สืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ ที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย

 

สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ จ่าต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป สถานคุ้มครองสวัสดิภาพหมายความว่า สถานที่ให้การศีกษา อบรม ฝึกอาชีพ

เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่ พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

 

"สถานพัฒนาและฟื้นฟู” หมายความว่า สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดขึ้นเพื่อให้การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษา แนะแนว และการฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็น กรณีพิเศษ

 

ซึ่งใน หมวด 6 ได้กำหนดอำนาจ และหน้าที่ ของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู สามารถกระทำต่อเด็กได้ ไว้ดังนี้

มาตรา 59
(๑) ปกครองดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเด็กที่อยู่ในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๒) จัดการศึกษา อบรม และฝึกอาชีพแก่เด็กที่อยู่ในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๓) แก้ไขความประพฤติ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกายจิตใจ แก่เด็กที่อยู่ในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๔) สอดส่องและติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือแก่เด็กที่ออกจาก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพไปแล้ว


มาตรา 60

ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานพัฒนาและฟื้นฟูมีอำนาจและหน้าที่

(๑) รับเด็กที่จำต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกายหรือจิตใจไว้

(๒) ทำการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อกำหนดแนวทางการปกครองดูแล พัฒนาและฟื้นฟูเด็กแต่ละคน

(๓) จัดการศึกษา ฝึกอบรม สั่งสอน บำบัดรักษา แนะแนว และฟื้นฟูสภาพ ร่างกายและจิตใจให้เหมาะสมแก่เด็กแต่ละคนที่อยู่ระหว่างการปกครองดูแล

 

มาตรา 61

ห้ามมิให้เจ้าของ ผู้ปกครองสวัสดิภาพ และผู้ปฏิบัติงานในสถานรับ เลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ทำ ร้ายร่างกายหรือจิตใจ กักขัง ทอดทิ้ง หรือลงโทษเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยวิธีการรุนแรง ประการอื่น เว้นแต่กระทำเท่าที่สมควรเพื่ออบรมสั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด


โดย มูลนิธิคุ้มครองเด็ก (บ้านครูยุ่น) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Child Protection Foundation ได้ระบุข้อมูลของ มูลนิธิ ในเพจ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก (จ.สมุทรสงคราม) ว่า เป็น องค์กรเอกชน

มูลนิธิครูยุ่น ตีสั่งสอน ใช้แรงงาน ทำได้หรือไม่ เปิดกฎหมาย ดูชัดๆ

วัตถุประสงค์ :

เพื่อติดตามช่วยเหลือเด็กในกลุ่มเป้าหมายดัง กล่าว ป้องกันมิให้เด็กหนีออกจากบ้าน เร่ร่อน ค้าประเวณีหรือเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักประกันความปลอดภัยในชีวิตความเป็น อยู่ ปัจจัยสี่ และการคุ้มครองเด็ก ฟื้นฟู พัฒนา ร่างกายและจิตใจ แสวงหาทางออกที่เหมาะ สมสําหรับเด็ก เพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือเด็กต่อไป

 

กิจกรรม/โครงการ :

ป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนา เด็กไทยที่ประสบภาวะทุกข์ยากลำบาก ถูก ทอดทิ้งและโดยเฉพาะถูกรังแกจากผู้ใหญ่ใน สังคม ประกอบด้วยโครงงาน คือ ติดตามช่วย เหลือเด็กโดยเร่งด่วน งานบ้านคุ้มครองเด็ก ชาย งานบ้านคุ้มครองเด็กเล็ก งานบ้าน คุ้มครองเด็กหญิงศูนย์กิจกรรมเพื่อเด็ก และ การป้องกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

กลุ่มเป้าหมาย

1.เด็ก   2.เยาวชน

 

ประเด็นหลักในการช่วยเหลือ

1.การศึกษา   2.สุขภาพอนามัย ชีวิตและจิตใจ

 

ประเภทของความช่วยเหลือ 
1.รับอาสาให้ช่วยงาน (โปรดระบุ)...กิจกรรม สำหรับเด็ก....คุณสมบัติของอาสาสมัคร (ถ้ามี)
2.รับบริจาคเงิน 
3.รับบริจาคสิ่งของ (โปรดระบุ)...สิ่งจำเป็น สําหรับเด็ก...
4.อื่นๆ (โปรดระบุ)...ร่วมกันแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็ก...
 

สำหรับการใช้แรงงานเด็กนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า

  • ห้ามไม่ให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างในงานทั่วไปและงานเกษตรกรรม
  • และอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงานในงานประมงทะเล งานในโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและในกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำ
  • หากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 บาท - 2,000,000 บาท /ลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกสูงสุดไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำและปรับ