เอกชน หนุนธปท.ชั่งน้ำหนัก “ความเสี่ยง-การใช้ประโยชน์” Virtual Bank

25 ก.พ. 2565 | 05:34 น.

เอกชนหนุน Virtual Bank แข่งขันสมบูรณ์ ธุรกิจเติบโต สู่เศรษฐกิจดิจิทัล กสิกรไทยประเมินถ้าตอบโจทย์ได้ชัด-เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มจีดีพีได้ 1.2ลล.บต่อปี

เอกชน แนะธปท.ชั่งน้ำหนัก “ความเสี่ยง-การใช้ประโยชน์” Virtual Bankวัตถุประสงค์-มาตรฐานคุมจุดอ่อนชัด-เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมข้อมูลหนุนแข่งขันสมบูรณ์ ธุรกิจเติบโต สู่เศรษฐกิจดิจิทัล”

 

นายรณดล นุ่มนนท์  รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวเปิดงานเสวนา Financial Landscape Consultation Session: เปิดมุมมองภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2565 โดยระบุว่า

 

หลังจากธปท. ได้มีการเปิดตัว consultation paper ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืนเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา  ล่าสุด ผู้เข้าร่วมเสวนา ทั้ง 4 ท่าน ประกอบด้วย นางสาว ขัตติยา อินทรวิชัย, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย  นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา, รองประธานกรรมการหอการค้าไทย  ดร.สันติธาร เสถียรไทย, ประธานทีมเศรษฐกิจ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท SEA Group และนางสาวเมธินี จงสฤษดิ์หวัง, Thailand Country Consulting Leader and Executive Director บริษัท Deloitte Consultingได้ร่วมแสดงความเห็นเพิ่มเติม  

กสิกรประเมินVirtual Bankหนุนจีดีพีเพิ่ม1.2ลล.บต่อปี

เอกชน หนุนธปท.ชั่งน้ำหนัก “ความเสี่ยง-การใช้ประโยชน์” Virtual Bank

ภาพรวมส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันในการจัดตั้ง Virtual Bank โดยให้ธปท.กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายให้ชัดเจน  ซึ่ง "ขัตติยา  อินทรวิชัย" กล่าวว่าการจัดตั้ง “Virtual Bank” นั้น มองไปข้างหน้าธนาคารพาณิชย์ยังมีความท้าทายและต้องปรับตัวและผู้กำกับต้องมีหลายวัตถุประสงค์เข้าด้วยกันแต่จะOptimizeได้อย่างไร

 

ในทางปฎิบัติถ้าสามารถรวมศูนย์หน่วยงานกำกับเพื่อทำให้ผู้เล่นเข้าใจไปด้วยกันในการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งรวมถึงTelco และหลายงานกำกับ ซึ่งหากดูจากสัดส่วนการใช้เงินฝากและสินเชื่ออยู่ที่ 88% และ 45%สะท้อนให้เห็นว่าด้านสินเชื่อยังมีรูมอีกมาก

 

ฉะนั้นการทำให้Virtual Bankตอบโจทย์ที่ชัดเจนเรื่องประเภทสินเชื่อ ซึ่งพบว่าประชากรไทย 60 ล้านคน มี 30 ล้านคนที่ไม่ได้มีข้อมูลเครดิต  หรือกลุ่มเอสเอ็มอีกว่า 3 ล้านราย มีสัดส่วนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ 37.4% ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องไปใช้บริการที่อื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือธนาคาร ถ้า Virtual Bank ช่วยตอบโจทย์กลุ่มที่เข้าไม่ถึงสถาบันการเงินได้จริง ประเมินว่าจะเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยได้ 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี

 

ขณะที่ปัจจุบันผู้เล่นรายใหญ่เกือบเป็นRed Ocean อยู่แล้วโดยที่ผ่านมาธนาคารเองค่อยๆทยอยให้บริการกลุ่มที่เล็กลงโดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ โดยเห็นได้จากกสิกรไทยที่ผ่านมาสามารถแข่งขันได้

เอื้อเอสเอ็มอีเข้าถึงทุนเร็วขึ้น

“ วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” มองว่า  Virtual Bank จะช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเห็นทางสว่างมากขึ้น เพราะกระบวนการขอสินเชื่อก่อนหน้าของเอสเอ็มอีจะต้องทำความรู้จัก และใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะอนุมัติ  ซึ่งเกิดความเหลื่อมล้ำพอสมควร

 

เช่น ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์ จะเห็นว่าใช้เวลาในการเข้าถึงสินเชื่อไม่นาน ซึ่งการเปิดให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาผ่าน Open Competition จะเป็นโอกาสให้ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อง่ายขึ้นผ่านการใช้ข้อมูลด้านอื่นๆ

 

เช่น การสั่งของออนไลน์ หรือจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น แต่ภายใต้การเกิดขึ้นของผู้เล่นรายใหม่มากมายก ธปท.จะต้องควบคุมดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป และให้ธุรกิจสามารถไปต่อได้

 

เปิดให้มีความหลากหลาย-เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน

“ สันธาร  เสถียรไทย” ระบุว่า Virtual  Bank จะเพิ่มความหลากหลายเข้ามาเพื่อปิดช่องว่าง  3 กลุ่ม  ได้แก่  1.ช่องว่างของกลุ่มที่ไม่มีประวัติการเงิน เอสเอ็มอี ไม่มีหลักประกัน  2.ช่องว่างใหม่กลุ่มที่มีศักยภาพ แต่ระบบการเงินแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด  เช่น กลุ่มค้าขายที่ไม่มีสลิปเงินเดือน กลุ่มฟรีแลนด์  หรือกลุ่มมีชื่อเสียง  และ 3.ช่องว่างของวันพรุ่งนี้ ที่คาดเดาได้ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาจจะเป็นสินเชื่อสีเขียว หรือรูปแบบธุรกิจแบบใหม่   

“ด้วยช่องว่างที่ไม่นิ่ง ฉะนั้นภาคการเงินต้องมีความหลากหลายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ ซึ่งที่ได้เห็นจากต่างประเทศหลายประเทศมีความหลากหลายของPain Point  แต่มีความคล่องตัว ว่องไวเป็นจุดเด่นในการปรับบริการตลอดเวลา

 

สิ่งที่อยากเห็นVirtual Bank คือ สโค๊ปของการทำธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และการเข้าถึงไม่ว่าทรัพยากร ,โครงสร้างพื้นฐาน เช่นบริการ e-KYC หรือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องไปสาขาซึ่งในสิงคโปร์ค่าบริการNDIDค่อนข้างแพงแต่เขาเปิดให้ใช้ฟรี

 

ที่สำคัญการตั้งVirtual Bankที่เปิดให้มีความหลากหลาย  หรือความปลอดภัยก็มีความสำคัญ  การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนำจุดแข็งออกมาไม่ว่าแบงก์ หรือนันแบงก์หรือฟินเทคต่างwin win ธุรกิจจะเติบโตตาม Pieที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งการทำให้ระบบข้อมูลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น โดยสามารถดึงข้อมูลจากกระทรวงหรือหน่วยงานต่างๆ เพียงแค่ให้ e-consentข้อมูลเหล่านี้ก็จะไปอยู่กับแบงก์หรือนันแบงก์ซึ่งผู้บริโภคจะได้ประโยชน์มหาศาล”

เชียร์ผลักดันตลาด หลังวันพรุ่งนี้

  “เมธินี  จงสฤษดิ์หวัง”  กล่าวว่า ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์นั้น  Virtual Bank จะต้องได้รับใบอนุญาตธนาคารก่อนโดยอินโดนีเซียมี Banking License มากขีดความสามารถในการดูแล  หรือในสิงคโปร์ กำหนดให้ว่า นันแบงก์หรือธนาคารเดิมที่มีอยู่แล้วก็ต้องเป็น ซับเซ็ทของใบอนุญาตธนาคารเดิม 

 

ทั้งนี้ต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้เข้าถึงด้วย ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกคนจะเข้ามาแล้วอยู่ยาว โดยต้องมีโมเดลธุรกิจ ถ้า 3-5ปีไม่ได้ไปถึงเป้าหมายตามที่ต้องการจะทำอย่างไร และต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยสรุปมองว่าทำอย่างไรให้ทุกหน่วยงานทำหรือผลักดันตลาดหลังวันพรุ่งนี้