TBAวางโรดแมป 3ปีข้างหน้ามุ่งตอบโจทย์ 4ธีมยกระดับการแข่งขันระดับภูมิภาค

19 พ.ย. 2564 | 00:11 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ย. 2564 | 03:32 น.

สมาคมธนาคารไทยเร่งสร้างนวัตกรรม/มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ Beyond Banking เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครบวงจร เดินหน้าทั้ง Up -Re  Skill พนักงานทั้งระบบธนาคารพาณิชน์มีอยู่กว่า 100,000คนให้มีความรู้ความ

TBAวางโรดแมป 3ปีข้างหน้ามุ่งตอบโจทย์ 4ธีมยกระดับการแข่งขันระดับภูมิภาค

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวในงานสัมมนา "Looking Beyond Covid-19 :  โจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด 19" ในหัวข้อ "วิกฤติโควิด-19 จุดเปลี่ยนสู่อนาคตธุรกิจการเงินไทย"  โดยระบุว่า  มิติภาคการเงินธนาคารเผชิญความท้าทายแม้จะมีเงินกองทุน และเงินสำรองอยู่ในระดับสูง  แต่แบกรับความเสี่ยงก้อนใหญ่กว่า 2ล้านล้านบาทของลูกหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือ

 

ส่วนแนวโน้ม โรดแมปสมาคมธนาคารไทยข้างหน้า   มองว่า ภาคธนาคารพาณิชย์ยังดำเนินต่อไปในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกรรมทางการเงินกลายเป็นทิศทางใหม่ ,

สถาบันการเงินจะขับเคลื่อนธุรกิจด้วยบิ๊กดาต้าใช้ประโยชน์จากข้อมูลและครอบคลุมประเภทของข้อมูลหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยี่AIให้บริการทุกที่ทุกเวลาและบลอคเชนจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจพิจารณาเงินทุนให้ภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและข้อมูลส่วนบุคคล,การเพิ่มบทบาทส่งเสริมองค์กรธุรกิจให้สอดคล้องกรอบสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล(ESG)รวมถึงกระแสสังคมคาร์บอนต่ำและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่Green Economy และตอบสนองกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น

นอกจากนี้ผลักดันการแข่งขันที่เป็นธรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดและและสถาบันการเงินจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วมากขึ้น เพื่อรับมือดิสรัปชั่นเพื่อการแข่งขันกับผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งบทบาทความเป็นตัวกลางของสถาบันการเงินจะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากการเข้ามาของระบบบริการทางการเงินที่ไร้ตัวกลาง(Decentralize  Finance)หรือ DeFi ทำให้ตลาดดิจิทัลเลนจ์ดิ้งทั่วโลกเติบโตขึ้นเป็นเท่าตัวในอีก 5ปีข้างหน้า

 

ทั้งกับกลุ่มผู้เล่นนันแบงก์  แพลตฟอร์ม  อีคอมเมิร์ส  ร้านสะดวกซื้อ หรือ เพย์นาว  ซึ่งอาจจะเติบโตสูงปีละ 60% เหล่านี้ เป็นความท้าทายสถาบันการเงิน  จึงต้องเร่งสร้างนวัตกรรมหรือมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆแบบ Beyond  Banking เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครบวงจร

 

ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวดีขึ้นตลอดจนโอกาสและความท้าทายจากบริบทใหม่ๆ การปรับตัวให้สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจDCGท่ามกลางความเปราะบางของร่องรอยวิกฤต-19 และคลื่นเทคโนโลยี่ดิสรับ  สมาคมธนาคารไทยได้วางโรดแมป 3ปีข้างหน้าที่มุ่งตอบโจทย์ 4ธีม เพื่อความเชื่อมั่นในระบบและยกระดับการแข่งขันทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก

 

ได้แก่ การเป็นกลไกสำคัญของการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ (Enabling Country Competitiveness)ด้วยการเอื้อให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจและทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารสมาชิกร่วมพัฒนาโครงสร้างพ้นฐานทางการเงินลดความซ้ำซ้อน  เชื่อมโยงข้อมูล วางระบบโครงสร้างพื้นฐานภาคการเงินและภาคธุรกิจ  

 

 รวมทั้งผลักดันการใช้NDID  และ การเชื่อมโยงข้อมูลและการทำธุรกรรมระบบต่างๆเข้าด้วยกัน ในรูปแบบ Open Banking และมีความเท่าเทียมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการธนาคาร  ผู้ให้บริการนันแบงก์  อีกทั้งให้ความสำคัญบริหารความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ด้วย

นอกจากนี้สนับสนุนนักลงทุน  ผู้ประกอบการทำกิจกรรมการค้าผ่านออนไลน์ ลงทุนระหว่างประเทศ การชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคต้นทุนต่ำ โดยเชื่อมระบบการเงินระหว่างภูมิภาค  หลังจากได้ร่วมกับธปท.พัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างประเทศแบบเรียลไทม์ โดยใช้ QR Code กับ 6ประเทศในอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลหรือ CBDC ที่ออกโดยธนาคารกลาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบเศรษฐกิจไทยและต่อยอดเข้าสู่Cross Border Payment รองรับการใช้สกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องพัฒนาCBDCกับธนาคารกลางแต่ละประเทศซึ่ง 110ประเทศอยู่ในขั้นตอนพัฒนาCBDC

          ขณะเดียวกันยังเน้นพัฒนาธนาคารเองและผลักดันกระแสสังคมคาร์บอนด์ต่ำ  รวมถึงการเปลี่ยนผ่านGreen Economy  และมีส่วนในการดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยจัดทำระบบข้อมูลเครดิตจากหน่วยงานต่างๆ ให้สมบูรณ์โดยการรวบรวมข้อมูลเครดิตจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเบ็ดเสร็จ  ควบคู่กับการเดินหน้าให้ความรู้ทางการเงิน สร้างกลไกเพิ่มวินัยทางการเงิน และป้องกันปัญหาMoral Hazard  ส่งเสริมภาคธุรกิจและประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นที่ภาคธุรกิจอยู่ในสภาวะยากลำบากจากโควิด -19 จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐในการช่วยเหลือลูกหนี้ 2ล้านล้านบาทผ่านการปรับโครงสร้างหนี้  และการสร้างศูนย์ความสามารถ ไม่ว่าแรงงานภาคเศรษฐกจริงหรือแรงงานภาคธนาคารต้องปรับตัวรองรับกระแสดัสรับชั่นให้ได้ ซึ่งสมาคมธนาคารไทยจึงเดินหน้าทั้ง Up -Re  Skill พนักงานทั้งระบบธนาคารพาณิชน์มีอยู่กว่า 100,000คนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลมากขึ้นสามารถใช้เทคโนโลยีได้  

ขณะเดียวกันสมาคมธนาคารไทยจะผลักดันการพัฒนาการในปีนี้ เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน พร้อมผลักดันมาตรการอื่นในปี2565 และจะเห็นการใช้ประโยชน์ เครื่องมือวัดที่สอดคล้องกับESG  และดิจิทัล เลนจ์ดิ้งในปี2566และคาดว่าก่อนไตรมาสปี2566จะเกิดเทคโนโลยีที่ระบุตัวตนได้ด้วยอัตลักษณ์ดิจิทัลรุ่นที่ 2 โดยสามารถนำไปใช้งานได้จริง

“โลกอนาคตของภาคสถาบันการเงินจะเปลี่ยนโฉมไปมาก โดยเฉพาะจากอานุภาพของเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆขณะเดียวกันช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานภาคการเงินบนพื้นฐานของ 4F ภายใต้โจทย์ใหม่ที่สอดคล้องกับESGนำพาระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าสู่ปีต่อๆไปอย่างมั่นคง ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ”