เปิดประตู สู่แดนภารตะ ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

26 ส.ค. 2565 | 04:48 น.

การเดินทางไปแสวงบุญในประเทศอินเดีย-เนปาล คนไทยจะคุ้นเคยกับเส้นทาง 4 สังเวชนียสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ประสูต ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน แต่จริงๆยังมีเส้นทางสังเวชนียสถานแห่งใหม่ใน 8 รัฐ ที่พุทธศานิกชน จะตามรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าได้เช่นกัน

การเดินทางไปแสวงบุญในประเทศอินเดีย-เนปาล คนไทยจะคุ้นเคยกันดีสำหรับเส้นทาง 4 สังเวชนียสถาน  ไม่ว่าจะเป็น วิหารมายาเทวี เมืองลุมพินี (เนปาล) ,วิหารมหาโพธิ เมืองคยา รัฐพิหาร ,ธัมเมกขสถูป เมืองสารนาถ รัฐอุตตรประเทศ และวิหารมหาปรินิพพาน เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูต ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน แต่จริงๆยังมีเส้นทางสังเวชนียสถานแห่งใหม่ใน 8 รัฐ ที่จะเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่พุทธศานิกชน จะตามรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าได้เช่นกัน

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

ล่าสุดในโอกาสเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ครบรอบ 75 ปี สถานทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย ได้ร่วมกับชมรมไตรรัตนภูมิ เปิดเส้นทางสังเวชนียสถานตามรอยพระพุทธบาท ดินแดนพุทธภูมิ ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ผู้แสวงบุญคนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เคยได้ไปสัมผัส หรือรับทราบข้อมูลมาก่อน แหล่งโบราณคดี และมรดกโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ใน 8 รัฐ

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

ได้แก่ รัฐพิหาร รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศ รัฐคุชราด รัฐโอฑิสา รัฐอานธรประเทศ รัฐเตลคานา และรัฐมหาราษฎร์ โดยเฉพาะรัฐมหาราษฎร์ ซึ่งเป็นรัฐที่มีชาวพุทธมากกว่า 6.5 ล้านคน รวมถึงเมืองที่มีความสำคัญกับชาวพุทธทั้งในอินเดีย และชาวพุทธจากทั่วโลกมากมาย เช่น เมืองออรังกาบัด ที่มีถ้ำอชันตา และเอลโลร่า ซึ่งเป็นมรดกโลกที่สำคัญ

เราจะได้สัมผัสศิลปะ โบราณคดี ในแหล่งพุทธศาสนาที่ถือกำเนิดมานานกว่า 2,500 ปี ที่ยังคงหลงเหลืออยู่  เช่น “พระมหาสถูปแห่งเกสเรีย” แห่ง “รัฐพิหาร” ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงกุสินาราไปราว 120 กม.ในเขตหมู่บ้านเลาลิยะนันทัน (Lauliyanandan) และหมู่บ้านนันทันฆาต (Nandanghat) สถูปแห่งนี้ได้สูญหายไปทั้งหลัง เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ.1934 ภัยธรรมชาติในคราวนั้นทำให้สถูปหลังนี้ฝังอยู่ใต้แผ่นดินมาเป็นเวลานาน

 

 

จวบจนกระทั่งปี ค.ศ.1998 รัฐบาลอินเดียโดยหน่วยงานสำรวจทางโบราณคดี Archaeological Survey of India (ASI) ได้ทำการขุดหาสถูปหลังนี้เพื่อสืบค้นร่องรอยประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเจริญรุ่งเรือง ณ ดินแดนแห่งนี้ ภายหลังจากการขุดแล้วเสร็จเพียงบางส่วน สถูปหลังนี้ได้สร้างความตกตลึงให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสำรวจทางโบราณคดีเป็นอันมาก เพราะมีขนาดใหญ่ จนกล่าวกันว่าเป็นสถูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับสถูปทางพระพุทธศาสนาหลังอื่นๆ

 

พระมหาสถูปแห่งเกสเรียหลังนี้ มีความสูง 104 ฟุต อย่างไรก็ตามก่อนที่จะได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นเดินไหวอย่างรุนแรงในคราวนั้น เชื่อกันว่า ความสูงของสถูปหลังนี้อยู่ที่ประมาณ 123 ฟุต แหล่งข้อมูลบางแห่งเชื่อว่า เริ่มแรกสถูปหลังนี้สร้างขึ้นที่ความสูงประมาณ 150 ฟุต มีความกว้างรายรอบวงนอกตัวสถูปอยู่ที่ประมาณ 1,400 ฟุต

 

นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุ ที่หลงเหลืออยู่ในอาราม บน “ภูเขารัตนคีรี” ในจัจปูร์ “เมืองโอฑิสา” สร้างในสมัยศตวรรษที่ 5 เสร็จในสมัยศตวรรษที่ 13 ทั้งยังมีภาพถ้ำที่ “อุทัยคีรี” และ “คันทาคีรี” เดิมเรียกว่าถ้ำคาทากา (Kattaka) หรือ ถ้ำ Cuttack เป็นถ้ำ ที่เป็นธรรมชาติบางส่วนและบางส่วนประดิษฐ์ ขึ้นอยู่ในเมืองโอฑิสาเช่นกัน ถ้ำตั้งอยู่บนเนินเขาสองแห่งที่อยู่ติดกัน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช  เชื่อกันว่าถ้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกแกะสลักเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับ พระภิกษุในสมัยพระเจ้ากลิงคราช

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

อุทัยคีรี  หมายถึง “Sunrise Hill” ด้านบนมี 18 ถ้ำในขณะที่คันธคีรี มี 15 ถ้ำ ถ้ำของอุทัยคีรีและคันทาคีรี เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ ภายหลังจากที่ พระเจ้าอโศกมหาราชศกสลดพระทัย วางดาบ และหันมาน้อมรับ “อหิงสธรรม” แทน ใช้ “ธรรมวิชัย” แทน คือหันมาใช้การเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วพระราชอาณาเขต และไปยังเขตแดนที่ยังไม่ตกอยู่ในพระราชอำนาจ แทนที่จะใช้การศึกสงคราม ผลาญชีวิตผู้คนเช่นเดิม

 

หลังจากนั้นมาศาสนาพุทธภายใต้ราชูปถัมภ์ของอโศกผู้ยิ่งใหญ่จึงกลายเป็นศาสนาหลักของอินเดีย แผ่ขยายไปทั่วอินเดีย และ เอเชียกลางและต่อไปยังจีนและต่อมาอีกเกาหลีและญี่ปุ่น ยิ่งกว่านั้นได้ขยายไปสู่สุวรรณภูมิ พระสงฆ์ผู้เป็นสมณทูตของอโศก ส่วนใหญ่ออกจาก กลิงคะ ในเมืองโอฑิสา นี้แทบทั้งสิ้น 

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

ทั้งยังมีภาพเขียนใน “ถ้ำอาจันต้า” เมืองออรังกาบัด ใน “รัฐอุตตรประเทศ”

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

 

ความอลังการของ “วัดถ้ำคานเฮรี เมืองมุมไบ  “รัฐมหาราษฎร์” 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

ต่อด้วย “สถูปสาญจี” ใน “รัฐมัธยประเทศ” ทั้งยังมี “มหาสถูปเกสริยา” ใน “รัฐอุตตรประเทศ” และ “วัดถ้ำโบราณ” ท่ามกลางแหล่งชุมชน “รัฐคุชราด”

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

รวมถึงยังมีเมืองที่มีความสำคัญกับชาวพุทธทั้งในอินเดีย และชาวพุทธจากทั่วโลกมากมาย เช่น เมืองออรังกาบัด ที่มีภาพวาดในถ้ำอชันตา และเอลโลร่า ซึ่งเป็นมรดกโลกที่สำคัญ  เมืองนาคปุระ เป็นสถานที่ตั้งของ ทีกษาภูมิ (ดีคชาภูมิ) เป็นต้น 

 

เปิดประตู สู่แดนภารตะ  ตามรอยพระพุทธบาท สังเวชนียสถานแห่งใหม่ 8 รัฐ

 

ทั้งนี้แหล่งโบราณคดีพุทธสถานใน 8 รัฐนี้ยังมีอีกหลายเรื่องราว ที่คุณสามารถเดินทางไปหาข้อมูลได้ ณ คิว สเตเดียม ชั้นเอ็ม ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2565 และจากนี้ทางดร.บี.อาร์.อัมเบ็ดการ์ บิดาแห่งรัฐธรรมนูญของอินเดีย ก็มีโครงการที่จำนำพุทธศาสนิกชนกว่า 500,000 คน เดินทางไป 8 รัฐ เพื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะ พร้อมนำพระพุทธรูปกว่า 84,000 องค์จากไทยไปให้พุทธศาสนิกชนใน 8 รัฐเพื่อนำไปสักการะด้วย ประตูแห่งแดนภารตะ กำลังจะเปิดตามรอยพระพุทธเจ้า บนเส้นทางสังเวชนียสถานแห่งใหม่ใน 8 รัฐนี้

 

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,813 วันที่ 28 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565