ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

26 มี.ค. 2566 | 02:53 น.

ว๊าวๆ อิลลูมิเนชั่น ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง ด้วยการเนรมิตอาคารประวัติศาสตร์ในกรุงเทพฯหยิบยกมาตีความใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีแสงสีเสียง มาสร้างสรรค์ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมใหม่ รวมถึงการได้เสพงานศิลป์กลางสวนป่าเบญจกิติ

ขั้นสุดมากๆ สำหรับเรื่องราวของไทยในอดีต ที่ถูกหยิบยกมาตีความใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีแสงสีเสียง มาสร้างสรรค์ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมใหม่ ด้วยการเนรมิตอาคารประวัติศาสตร์ในกรุงเทพฯ อย่างสถานีรถไฟหัวลำโพง วังเก่าสมมตอมรพันธ์ นำเราย้อนรอยสัมผัสวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า เมื่อครั้งอดีต รวมถึงเสพงานศิลป์กลางสวนป่าเบญจกิติ ที่จะทยอยไล่จัดงานตั้งแต่ช่วงนี้ถึงสิ้นเดือนกันยายนนี้

 

ใครที่เคยตื่นตากับกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงเทพฯอย่าง “Hidden Temple” ท่องวัดลับย่านฝั่งธน หรือแม้แต่การเปิดพื้นที่อาคารประวัติศาสตร์อย่าง ประปาแม้นศรี และหอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร จัดเต็มแสงสี และ mapping ในธีม “Living Old Building” เรียกเสียงฮือฮาได้มากมาย

 

ล่าสุดสำนักงานส่งเสริมสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต่อยอดการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” นำทุนวัฒนธรรมวิถีชีวิตดั้งเดิม มาสู่การออกแบบที่คงอัตลักษณ์ผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลักดัน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ในกรุงเทพฯ ซึ่งเปิดให้ชมฟรี

 

เริ่มจากกิจกรรม “Living Old Building” ชุบชีวิต “สถานีรถไฟหัวลำโพง” นำเราเดินทางไปสัมผัสบรรยากาศสถานีรถไฟสุดคลาสสิค ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อาคารเก่าแก่อายุกว่า 126 ปี โดยระหว่างวันที่ 18 - 26 มีนาคม 2566 สปอตไลท์ยามค่ำคืน ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง ที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง 

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ผ่านการจัดแสดงแสงไฟ หรือ “LightingInstallation” ที่มาในคอนเซ็ปต์ “THE WALL 2023 : UNFOLDING HUA LAM PHONG” จากฝีมือของกลุ่มนักออกแบบแสง Lighting Designers Thailand และ DecideKit จัดเต็ม 3 ธีม 3 โซน ให้ได้เดินปักหมุดชมไฟกลางคืนกัน

พลิกโฉม หัวลำโพง

  •  1st Scene : The Door เป็นโซนแรก ที่เราจะเห็นการจัดแสดงบน “กระจกโค้งด้านบนบริเวณประตูทางเข้าสถานีรถไฟหัวลำโพง” ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญและเป็นฉากแรกของการเดินทางเข้าสู่สถานีรถไฟ

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

  •  2nd Scene : The People บริเวณภายใน “โถงอาคารของสถานีรถไฟ” จุดศูนย์รวมของผู้คนในการเดินทาง เปลี่ยนสถานที่พักคอยของผู้คนที่เรียบง่าย สู่การแสดงแสงไฟ การแสดงดนตรี และจุดซื้อขายอาหาร ทั้งข้าวผัดรถไฟ ข้าวเหนียวหมูเค็ม ซึ่งเป็นอาหารประจำของผู้ใช้บริการโดยสารรถไฟเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การแสดงนิทรรศการรถไฟจำลอง ซึ่งการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้พื้นที่ย่านสถานีรถไฟหัวลำโพง กลับมาครึกครื้น มีชีวิตชีวาอีกครั้ง จากบริบทใหม่ของสถานีรถไฟ ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพอีกแห่งหนึ่ง

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

  •  3rd Scene : The Emotion การจัดแสดงการออกแบบแสงไฟภายใน “ชานชาลา” เรียกคืนความรู้สึกในการพบและจาก หรือการออกเดินทางครั้งใหม่ ต่างเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย และการแสดงหัวรถจักรไอน้ำที่ถูกใช้งานในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้ว แต่ยังคงความสมบูรณ์ไว้ได้ ผ่านการจัดแสงสี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสัมผัสการทำงานของหัวรถจักรไอน้ำได้อย่างใกล้ชิด

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

การจัดแสดงแสงไฟมีทุกวัน วันละ 3 รอบ รอบที่ 1 เวลา 18.30-19.00 น. รอบที่ 2 เวลา 19.10-20.00 น. และรอบที่ 3 เวลา 21.00-22.00 น. ส่วนการฉาย projection mapping เราชมได้ทุกวัน วันละ 2 รอบ รอบแรก เริ่มเวลา 19.00-19.10 น. รอบที่สอง เริ่ม 20.00-21.00 น.

ทั้งนี้ไม่ใช่แค่เพียงการออกแบบแสงสี นิทรรศการรถไฟจำลองเท่านั้น ยังมี ร้านค้า ร้านอาหาร กิจกรรมวาดรูป การแสดงดนตรี และ ลีลาศ ให้ชิมช็อปชิลล์กันด้วย ซึ่งดนตรีจะเล่นเฉพาะวันศุกร์-อาทิตย์เท่านั้น

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

รวมถึงการจัดแสดงรถไฟขบวนพิเศษ อาทิ รถจักรไอน้ำโมกุล เลขที่ 713 และ 715 ตู้รถเพรสทีจ (ที่ปรับปรุงมาอย่างสวยงาม) ตู้รถโดยสาร ชั้น 3 (รุ่นเก้าอี้ไม้) บริเวณชานชาลาที่ 4 และ 5 ถ้าจะมาเที่ยวแนะนำให้เดินทางมาโดยรถขนส่งสาธารณะจะเวิร์คสุด เพราะที่จอดรถค่อนข้างหายากอยู่

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ต่อกันด้วยการพลิกโฉม “วังกรมพระสมมตอมรพันธ์” อาคารเก่าทางประวัติศาสตร์ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ภายในชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ซึ่งยังคงความสมบูรณ์แบบของสถาปัตยกรรมและความงดงาม ในยุคสมัยที่นิยมสร้างอาคาร

วังกรมพระสมมตอมรพันธุ์

โดยนำวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ในการออกแบบ ที่ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-2 เมษายน 2566 นี้ เวลา 18.00 - 21.00 น. CEA ได้ร่วมมือกับ Urban Ally และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์พื้นที่แห่งนี้ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงาม พร้อมบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และชุมชนโดยรอบที่เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังฆภัณฑ์ใหญ่ของกรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ชวนคุณมาเปิดประสบการณ์ “วังลับ” ณ วังกรมพระสมมตอมรพันธุ์ วังลับที่มาพร้อมกลิ่นอายศิลปะยุคเรอเนซองส์ ที่หลงเหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวบนถนนบำรุงเมือง พร้อมเปิดต้อนรับทุก ๆ ท่าน ด้วยการจัดแสดงแสง สี เสียง นิทรรศการ ศิลปะการแสดง การแสดงดนตรี และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ให้ได้มาร่วมย้อนเวลาไปสู่สยาม ในยุคที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายศิลปะ ดนตรี ภาษา และสถาปัตยกรรมตะวันตก

วังลับ

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ใครจะมาร่วมกิจกรรมที่วังลับแห่งนี้ สามารถดูข้อมูลและลงทะเบียนล่วงหน้าคลิ๊กที่นี่ เพราะเขาสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่ได้รับอีเมลยืนยันจากทางระบบเท่านั้น ทั้งยังจำกัด 40 ท่าน/รอบ วันละ 8 รอบ สามารถร่วมทุกกิจกรรมได้ ณ เวลาในรอบนั้น และเปิดรับ Walk-in จำนวน 5 ท่าน/รอบ เท่านั้น

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ว๊าวๆ ไลท์อัพ พลิกโฉม หัวลำโพง-วังเก่า ย้อนอดีตสุดปัง

ปิดท้ายกันด้วยกิจกรรม “Greeting Benjakitti” งานศิลป์กลางสวนป่าสวนป่าเบญจกิติ โดยระหว่างวันที่ 18 มีนาคม-30 กันยายน 2566 คุณจะได้พบการจัดแสดงผลงานจัดวาง (Art Installation) 5 ชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น

งานศิลป์กลางสวนป่า ณ สวนป่าเบญจกิติ

  • The Center of the Universe โดย อรรถพร คบคงสันติ ที่ได้แรงบันดาลใจจากกล้องคาไลโดสโคปด้วยดีไซน์ใหม่ เป็นการสร้างแสงสีและมิติที่หลากหลาย ช่วยส่งเสริมในการมองสวนเบญจกิติในมุมมองที่แปลกใหม่ ตามช่วงเวลาและทิศทางในการมองของแต่ละคน
  •  Stingless Bee City โดย วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ ออกแบบเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองของผึ้งชันโรง สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งธรรมชาติ
  •  Hornbill Villa โดย นีโน่ สุวรรณี สาระบุตร ผลงานจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาจำนวน 200 ชิ้น เพื่อเป็นรังเทียมให้แก่นกเงือก ศิลปินได้ร่วมกับชุมชนช่างปั้นครกดินเผา จังหวัดนครพนม ในการรังสรรค์ชิ้นงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
  •  The Circle Biogenesis 2023 โดย สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ การจัดแสดงผลงานโดยการนำต้นข้าวมาเรียงเป็นวงกลม แสดงสัญลักษณ์ของเวลาที่สัมพันธ์กับการโคจรของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอาหารหล่อเลี้ยงผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง
  •  House of Silence โดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ศิลปะการออกแบบพื้นที่ที่เหมือนกับบ้าน โดยเปิดให้ผู้เข้าชมได้มีเวลาอยู่กับตัวเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ระหว่างการมีอยู่ของสรรพสิ่งกับความว่างเปล่าภายนอกและความรู้สึกภายในจิตใจ

นอกจากนี้ยังมีการจัดศิลปะการแสดง (Performance Art) และเวิร์กช็อปภายใต้แนวคิด “COHABITAT” สะท้อนการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล สร้างสรรค์ และเป็นมิตร ระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ ให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมกับการสำรวจพื้นที่สวนป่า สิ่งแวดล้อม เพลิดเพลินกับโปรแกรมดนตรี เต้นรำ โรงละคร บทกวี การแสดงตลก และเวิร์กช็อปศิลปะ

กิจกรรมดีๆที่สายอาร์ตและสายศิลป์ไม่ควรพลาด