สุดเจ๋ง นวัตกรรม KomilO เด็กมจธ. คว้ารางวัล James Dyson เตรียมลุยต่อเวทีโลก

19 ก.ย. 2565 | 02:32 น.

เปิดผลงานผู้ชนะรางวัล James Dyson Award 2022 ทีมนักศึกษา มจธ. โชว์นวัตกรรม KomilO ระบบตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมแบบอัตโนมัติ ช่วยลดอัตราการผสมเทียมผิดพลาด คว้ารางวัล พร้อเตรียมไปต่อเวทีระดับโลก

จากโครงการประกวดออกแบบนวัตกรรม James Dyson Award ที่เปิดรับผลงานเยาวชนไทยเป็นครั้งแรกในปี 2565 ล่าสุด ได้ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อย โดย KomilO ระบบตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมแบบอัตโนมัติ ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล 6 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.)

สุดเจ๋ง นวัตกรรม KomilO เด็กมจธ. คว้ารางวัล James Dyson เตรียมลุยต่อเวทีโลก

เป็นทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 222,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อ และยังเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้ารอบในการประกวดระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 12 ตุลาคมนี้

“ลิเดีย เบตัน” ประธานมูลนิธิ James Dyson Foundation กล่าวว่า มูลนิธิฯ ต้องการเป็นผู้สร้างแพลทฟอร์มให้คนมีความสามารถ และสร้างนวัตกรรมได้ แสดงฝีมือ โชว์ไอเดียในเวทีระดับโลก โดย James Dyson ให้การสนับสนุนผลงานใหม่ๆ ที่เจ้าของไอเดียจะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ผลงานของตัวเอง

สุดเจ๋ง นวัตกรรม KomilO เด็กมจธ. คว้ารางวัล James Dyson เตรียมลุยต่อเวทีโลก

และทาง Dyson ยังช่วยสร้างเครือข่ายให้ผู้เข้าประกวด ได้ต่อยอดผลงานของเขาสู่การสร้างเป็นธุรกิจ ทำให้พวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบและตลาดระดับสากล ที่ผ่านมา 70% ของผู้ชนะ ได้นำผลงานมาต่อยอด ขยายธุรกิจต่อไปได้อย่างกว้างขวาง

สำหรับผลงาน KomilO (โคมิโล) เป็นการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จของการผสมเทียมในโคนมที่จะส่งผลให้การผลิตน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการสำรวจปัญหาของฟาร์มโคนม 27 แห่งในจังหวัดราชบุรี จนได้มาเป็น KomilO และมีแผนที่จะค้นคว้าและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้ KomilO สามารถใช้ได้จริง ทั้งในด้านการใช้งานและราคาที่สามารถเข้าถึงได้โดยเกษตรกรไทย

 

ระบบปฏิบัติการนี้ มีส่วนประกอบเป็นเซ็นเซอร์ 2 จุด ที่ติดตั้งบนตัวโคนม จุดแรกที่บริเวณหู และจุดที่สองบริเวณโคนหาง เพื่อตรวจจับพฤติกรรมของโคนม ทำให้สามารถคาดการณ์รอบของการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำ โดยอาศัยเทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกสบาย ระบบนี้ยังเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลเฉพาะของโคนมแต่ละตัว จัดการเซ็นเซอร์ รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรเมื่อโคนมมีอาการติดสัดและพร้อมสำหรับการผสมเทียม
  The Amazing Hearing Devices or AHDs

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ The Amazing Hearing Devices or AHDs เครื่องช่วยฟังที่มุ่งเป้าไปที่การออกแบบให้สามารถเข้าถึงง่าย และ ผลงาน Aeolus หมอนแบบปรับตามความต้องการโดยอาศัยแอปพลิเคชันในการปรับขนาด เพื่อทำให้การนอนแบบมีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้
Aeolus  

ที่ผ่านมา James Dyson Award ได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ โดยมูลนิธิมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมดำเนินงานด้วยเงินสนับสนุนจาก Dyson 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,818 วันที่ 15 - 17 กันยายน พ.ศ. 2565