“เบรนแดน เฟรสเซอร์ ”คว้าออสการ์จากภาพยนตร์ “The Whale”

13 มี.ค. 2566 | 08:17 น.

“Brendan Fraser” คว้าออสการ์ตัวแรกในชีวิตในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ “The Whale”ในงานอคาเดมี่ อวอร์ด ครั้งที่ 95

ทราบผลอย่างเป็นทางการแล้วว่า ปีนี้ผู้ที่คว้า รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์2023ในการประกาศผลรางวัลอคาเดมี่ อวอร์ด ครั้งที่ 95 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทย (13 มี.ค.) ณ ดอลบี เธียร์เตอร์ นครลอสแอนเจลิส เป็นใคร นั้น คือ เบรนแดน เฟรเซอร์ (Brendan Fraser) ที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง The Whale

เบรนแดน เฟรสเซอร์

สำหรับ“เบรนแดน เฟรสเซอร์” ผู้คว้ารางวัล นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ 2023  หลายคนคงคุ้นหน้าขวัญใจวัยรุ่นยุค 90s เจ้าของบทบาทที่สร้างชื่อสุดโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่อง The Mummy   ก่อนจะห่างหายไปจากวงการบันเทิงเป็นเวลานานเนื่องมาจากเหตุการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศ  ก่อนจะกลับมาเจิดจรัสในวงการภาพยนต์อีกครั้งด้วยการคว้ารางวัลออสการ์ ครั้งที่ 95 เป็นครั้งแรก ในสาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ไปครอบครองจากผลงานเรื่อง ‘The Whale’

เบรนเดน เฟรสเซอร์ มีชื่อเต็มว่า เบรนแดน เจมส์ เฟรสเซอร์ นักแสดงชาวแคนาดา-อเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2511 อายุ 54 ปี และจบการศึกษาจากวิทยาลัยคอร์นิช แห่งซีแอตเทิลในปี 2533 และเริ่มทำงานที่ฮอลลีวูดหลังจากนั้น

“เบรนแดน เฟรสเซอร์ ”คว้าออสการ์จากภาพยนตร์ “The Whale”

โดยผลงานแรกเริ่มของ เบรนแดน เฟรสเซอร์ คือเรื่อง Dogfight ในปี 1991 และรับบทสมทบเรื่อยมา ซึ่งบทของเขามีคาแรกเตอร์ตลกแฝงไปในผลงาน จนผู้คนเริ่มจดจำเขาได้ และได้โอกาสรับบทหลักในภาพยนตร์เรื่อง George Of The Jungle ในปี 1997 และที่เรื่องที่สร้างชื่อดังเป็นพลุแตก และประสบความสำเร็จอย่างมากคือ The Mummy ในปี 1999   ก่อนจะหายหน้าหายจากจากเหตุการณ์สะเทือนใจการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่ในวงการฮอลลีวูด และถูกวงการฮอลลีวูดเมินใส่ทำให้กราฟชีวิตดิ่งลงเหวจนป่วยเป็นภาวะซึมเศร้า

ก่อนจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งในฐานะนักแสดงนำชายในเรื่อง The Whale ภาพยนตร์ดราม่าสะท้อนชีวิต แนวครอบครัว ซึ่ง เบรนแดน เฟรสเซอร์ ได้วาดลวดลาย โชว์ฝีมือนักแสดงของเขาที่สะสมมานาน จนกินใจผู้ชมในงานเป็นอย่างมาก และลุกขึ้นยืนปรบมือให้กับการแสดง รวมถึงการกลับมารับงานแสดงของ เบรนแดน เฟรสเซอร์ อีกครั้ง เป็นเวลาร่วมนานกว่า 6 นาที ในงานพรีเมียร์ภาพยนตร์ ที่ภาพยนตร์นานาชาติเวนิสอีกด้วย

ทั้งนี้ เบรนแดน เฟรสเซอร์ ได้รับรางวัลมากมายในปี 2566 นี้ เช่นรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจาก the 29th Screen Actors Guild Award  รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม Oscar ครั้งที่ 95

มิเชล โหย่ว (Michelle Yeoh)

นอกจากนี้ มิเชล โหย่ว (Michelle Yeoh) สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักแสดงหญิงเอเชียคนแรกที่คว้ารางวัล นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) และยังเป็นนักแสดงหญิงเชื้อสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเซีย-จีน) คนแรกที่คว้ารางวัลออสการ์

ส่วนรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ คี ฮุย ควาน (Ke Huy Quan) จากภาพยนตร์เรื่อง Everything Everywhere All at Once เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนามคนแรกที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ และยังเป็นนักแสดงเอเชียคนที่ 2 ที่ชนะในสาขา Best Supporting Actor ต่อจาก ฮัง โงร์ (Haing S. Ngor) นักแสดงชาวกัมพูชา  และนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ยังตกเป็นของ เจมี ลี เคอร์ติส (Jamie Lee Curtis) จากภาพยนตร์เรื่อง Everything Everywhere All at Once เช่นกัน

นอกจากนี้ Everything Everywhere All at Once ยังคว้ารางวัลใหญ่อื่นๆ ได้อีก ดังนี้

  •  รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ Everything Everywhere All at Once
  •  รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ได้แก่ แดเนียล ควอน กับ แดเนียล ไชเนิร์ต จาก Everything Everywhere All at Once

ส่วนรางวัลอื่นๆ มีดังนี้

  •  รางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม  ได้แก่ Guillermo del Toro’s Pinocchio 
  •  รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม  ได้แก่ Navalny
  • รางวัลการถ่ายภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ All Quiet on the Western Front 
  •  รางวัลออกแบบเสียงยอดเยี่ยม ได้แก่ The Batman
  • รางวัลการแต่งหน้า-ออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม ได้แก่ The Whale 
  •  รางวัลภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ ‘An Irish Goodbye’
  • รางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ได้แก่ ‘All Quiet on the Western Front’ (เยอรมนี)
  •  รางวัลการออกแบบโปรดักชั่นยอดเยี่ยม ได้แก่ All Quiet on the Western Front
  •  รางวัลเพลงบรรเลงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ All Quiet on the Western Front โดย โฟลเคอร์ เบอร์เทิลมันน์
  •  รางวัลเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ได้แก่ Avatar: The Way of Water
  • รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้แก่ Black Panther: Wakanda Forever 
  • รางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ได้แก่ Everything Everywhere All at Once
  • รางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ได้แก่ Women Talking
  •  รางวัลดนตรีประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม ได้แก่ All Quiet on the Western Front

รูปจาก:เพจหนูน้อยบนยอดเขาอันหนาวเหน็บ