ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล

16 ต.ค. 2564 | 02:45 น.

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงทั่วโลก และเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งให้เกิด Digital Transformation รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการเร่งรัดแผนการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเช่นเดียวกัน

โดยมีการจัดการความท้าทายสำคัญในเรื่อง บุคลากร การจัดการวัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างการบริหาร เพื่อนำไปสู่การดำเนินการปรับตัวสู่ระบบดิจิทัลอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นวิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ "Work and Well-being during Covid-19 : CP Group" จัดโดย Human Capital Management Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์เรื่อง Future of Work และการนำองค์กรก้าวสู่ยุคดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถขององค์กร และการเติบโตที่ยั่งยืน หลังสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19  แก่ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารด้าน HR ขององค์กรชั้นนำสมาชิกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล
 

นางสาวพิมลรัตน์ ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เครือซีพี ได้ให้ความสำคัญและได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรดิจิทัลมาตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อวางรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และวิกฤตโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ซีพีเน้นการ transform ก้าวเป็นองค์กรดิจิทัลรวดเร็วยิ่งขึ้น โดย "บุคลากร" ยังเป็นหัวใจสำคัญต่อการเติบโตที่ยั่งยืนขององค์กร ดังนั้น หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล หรือ HR จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะก้าวทันและพร้อมรับมือในการทำงานในโลกธุรกิจวิถีใหม่ (Future of Work) ร่วมขับเคลื่อนองค์กรเติบโต

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ช่วยเร่งให้หลายองค์กรปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลมากขึ้น เครือซีพีเตรียมพร้อม Transform สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานในยุคใหม่ ซีพีจะมีโครงสร้างองค์กรที่ Lean และ Agile ให้มีการทำงานคล่องตัวแบบสตาร์ทอัพ (Startup) ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน มุ่งเน้นการสื่อสารในทีมมากขึ้น ทำให้การทำงานรวดเร็ว ใช้โมเดลการทำงานรูปแบบใหม่ Hybrid & Remote Work ที่ผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศ และการทำงานทางไกล โดยขับเคลื่อนองค์กรด้วย Big Data และเทคโนโลยีดิจิทัล (HR Analytics & Technology)

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล

การปรับโครงสร้างการทำงานของซีพี เริ่มจากนำแผนความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ  (Business Continuity Plan) มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดรูปแบบการทำงาน และกลุ่มพนักงาน กลุ่มไหนต้องมาทำงานมีความจำเป็นต่อการผลิต หรือกลุ่ม On Site ที่ต้องทำงานที่หน้างาน กลุ่มไหนที่สามารถสลับการทำงานที่สำนักงานและทำงานจากบ้าน หรือกลุ่ม ที่สามารถทำงานจากข้างนอกได้ตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ การสื่อสาร ขณะเดียวกัน องค์กรต้องมีวางโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลที่มีความพร้อมช่วยอำนวยความสะดวกให้ทำงาน และติดตามผลได้รวดเร็ว ที่สำคัญเองพนักงานเป็นตัวจักรสำคัญที่จะต้องมีพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยี และมีทักษะในการใช้งานที่คล่องแคล่ว (Digital Literacy) ดังนั้น การประเมินความพร้อมองค์กรและบุคลากรจึงมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลได้ ซึ่งที่ผ่านมา การทำงานแบบ Hybrid & Remote Work ได้แสดงผลลัพธ์ในแง่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานของซีพี จึงทำให้เครือซีพีมีความมั่นใจและมุ่งมั่นที่ปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมากขึ้น 

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล

ขณะเดียวกัน ซีพียังให้ความสำคัญกับบุคลากรสูงสุด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ได้ประกาศนโยบายไม่มีการปลดพนักงาน ด้วยเหตุจากโควิด-19 ขณะที่ทุกหน่วยงานเร่งยกระดับมาตรการความปลอดภัยเพื่อให้พนักงานทำงานด้วยความมั่นใจในความปลอดภัย และมั่นคง พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพนักงานที่ติดเชื้อ การช่วยเหลืออาหารให้สำหรับพนักงานที่ต้องกักตัว 14 วัน รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือแก่พนักงานบางกลุ่มที่สมาชิกในครอบครัวต้องออกจากงาน การให้ทุนการศึกษา และเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรพนักงาน ตลอดจน ดูแลชุมชน ด้วยการทำมาตรการ Bubble and Seal และ สร้างโรงพยาบาลสนามเพื่อให้ดูแลพนักงานและชุมชนปลอดภัย ตลอดจน การซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มเพื่อให้พนักงานทั้งคนไทยและชาวต่างชาติได้ฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง ซึ่งขณะนี้ ร้อยละ 95 ของพนักงานของซีพีเอฟ 70,000 คนได้รับวัคซีนเรียบร้อยแล้ว

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล

“พิมลรัตน์” กล่าวเพิ่มว่า ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลนั้น บทบาทของ HR กับองค์กรจะมีมากกว่าการเป็นพันธมิตรธุรกิจ จึงทำให้ HR มีบทบาทสำคัญในการทำงานล่วงหน้าให้กับองค์กร สามารถทำการวิเคราะห์องค์กรในทุกหน่วยงานให้มีความพร้อม สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนเพื่อให้องค์กร Transform ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ HR ยังต้องเป็นสไตลิสต์ (Stylist) ช่วยออกแบบสร้างประสบการณ์การทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน รวมทั้งทำหน้าที่เป็นผู้สร้าง (Builder) ช่วยสร้างทักษะความสามารถในอนาคตของพนักงานและวางรากฐานวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นแบบ Lifelong Learning เพื่อให้พนักงานเป็นกำลังสำคัญในการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร 

และสุดท้าย HR จะเป็น Contributor สร้างความผูกพันในองค์กรของพนักงาน ตลอดจนช่วยเหลือสังคม เพื่อให้บริษัทมีการเติบโตอย่างยั่งยืน กล่าวโดยสรุป HR จะเข้ามาช่วยเตรียมความพร้อมบุคลากรรองรับการทำงานในยุคหลังโควิด-19  ช่วยสร้างประสบการณ์การทำงานของอนาคต รวมถึงการดูแลบุคลากรขององค์กรทั้งในเรื่องการเติบโตในหน้าที่การงาน สร้างสมดุลของสุขภาพกาย ใจ และการเงิน เพื่อสิ่งสำคัญที่สุดให้พนักงานทุกคน ทุกระดับสามารถปรับตัวทำงานในยุคนิวนอร์มอลได้อย่างมีความสุข และมั่นคง ตลอดจนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนผลักดันองค์กรก้าวไปข้างหน้าเติบโตอย่างยั่งยืน

ซีพี-ซีพีเอฟ ชู Transform องค์กร สู่ยุคดิจิทัล