สมาคมนักข่าวฯแนะสื่อพึงระวัง 10 ประการ ในการทำข่าวเลือกตั้ง

02 มี.ค. 2562 | 21:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สมาคมนักข่าวฯแนะสื่อพึงระวัง 10 ประการ ในการทำข่าวเลือกตั้ง
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA) ได้ทำอินโฟกราฟฟิกข้อพึงระวังของสื่อมวลชน  10 ประการ ในระหว่างการเลือกตั้ง 

1. สื่อมวลชนทุกประเภท  อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง  ตัวอย่างที่พึงระวัง อาทิ ไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหาเสียงทางอ้อมให้กับพรรคการเมือง  ตั้งแต่ 18.00 น. ก่อนวันเลือกตั้ง จนสิ้นสุดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้ง


สื่อมวลชนทำโพลล์  หรือรายงานผลโพลล์ของสำนักโพลล์ต่าง ๆ ได้ โดยต้องระวังว่าต้องไม่ใช่โพลล์ที่ทำโดยเจตนาไม่บริสุทธิ์  โดยหวังผลชี้นำต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องไม่นำเสนอผลโพลล์ระหว่าง 7 วันสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงสิ้นสุดการเลือกตั้ง


ระมัดระวังในการบันทึกภาพบริเวณหน่วยเลือกตั้ง  จนอาจทำให้การลงคะแนนของผู้มีสิทธิ์ไม่เป็นความลับ สืบเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม  ทำให้ทุกคะแนนเสียงอาจมีผลต่อพรรคการเมืองได้ทุกพรรค  การอำนวยความสะดวกของพรรคการเมืองในการทำข่าวของสื่อมวลชนในระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง  อาจเข้าข่ายการให้ผลประโยชน์ที่อาจคำนวณเป็นตัวเงินแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้
 

2. สื่อมวลชนทุกประเภท  อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท  กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3.  สื่อวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ ห้ามขายพื้นที่โฆษณาทางการเมืองในระหว่างมี พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง 4.  สื่อประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 3  รับเงินค่าโฆษณาการหาเสียงได้ภายใต้เงื่อนไขไม่เกินค่าใช้จ่ายในการหาเสียง 5.  กฎหมายกำหนดให้สื่อวิทยุกระจายเสียง  และวิทยุโทรทัศน์  ต้องให้ความร่วมมือกับ กกต. ในการจัดสรรเวลาออกอากาศให้กับพรรคการเมือง
 

6.  การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนทุกประเภท  ในการรายงานข่าวเลือกตั้ง  สามารถทำได้ตามสิทธิเสรีภาพ  หลักวิชาชีพ  หลังจรรยาบรรณ  จริยธรรมวิชาชีพ  โดยการยึดหลักความเป็นกลาง  ความเสมอภาพของผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น  อาจมีส่วนช่วยให้ศาลใช้ดุลยพินิจโดยยกหลักการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน  หากเกิดกรณีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วม 7.  การจัดเวทีอภิปรายของผู้สมัครหรือผู้แทนพรรคการเมืองเพื่อนำเสนอในพื้นที่สื่อ  ให้คำนึงถึงการกระจายโอกาสให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ  แต่ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนทุกพรรคในแต่ละเวที  อาจกระจายเวทีเป็นประเด็นตามนโยบาย  หรือขนาดของพรรค
 

8.  ห้ามสื่อมวลชน พิธีกร  ศิลปิน ใช้ความสามารถของอาชีพเพื่อช่วยหาเสียงแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง  เว้นแต่จะเป็นตัวผู้สมัครเอง 9.  ห้ามเผยแพร่ถ้อยคำหาเสียงที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย  หรือปลุกระดม 10.  ห้ามรับเงิน  ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์  เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มุ่งรายงานข่าวด้านดีแก่พรรค หรือผู้สมัคร หรือมุ่งรายงานข่าวแง่ร้ายแก่คู่แข่ง